|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
778
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,470,054
|
|
|
|
|
21 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชีวิตมีค่า...ไยฆ่าชีวิต (2)
[28 มกราคม 2554 11:29 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6989 คน |
|
โดยธรรมชาติ คนหนีปัญหาจะพบแต่ปัญหาไม่สิ้นสุด ปัญหาเปรียบเสมือนเงา เมื่อเราเดินหนีเงา เงาก็จะใหญ่ขึ้น แต่ถ้าเดินเข้าหาเงา เงาก็จะเล็กลง การเดินเข้าหาเงาคือการกล้าเผชิญความจริงในชีวิต ความจริงคือตัวปัญญามิใช่ตัวปัญหา เราต้องกล้าเผชิญ ต้องกล้าหาญเดินเข้าไปให้ประชิดความจริง ให้กำลังใจในชีวิตเสมอ
ปัญหากับปัญญาเป็นของคู่กัน อยู่ด้วยกันเหมือนเหรียญคนละด้าน เราต้องสร้างกำลังใจเพื่อให้เกิดปัญญาเข้าแก้ปัญหาให้ได้ กำลังใจเกิดได้หลายทาง ทั้งจากความนิ่งสงบ ทั้งจากนักปราชญ์ราชบัณฑิต จากนักคิดผู้มีประสบการณ์และจากการทำงานอย่างจริงใจที่ไม่ขลาดไม่กลัวต่อความจริง
การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องความขลาดเขลา เป็นเรื่องของการไร้สติ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น อย่าปล่อยตัวเองให้อยู่ตามลำพัง แหล่งพึ่งพิงมีมาก เราต้องรีบแสวงหา ถามตัวเองให้ได้ว่าเราจะหาความสงบได้จากที่ไหน เราจะหาความคิดได้จากใคร โลกนี้มิใช่เราเพียงคนเดียว บอกตัวเองให้รู้ว่าโลกนี้ยังน่าอยู่ ทางเดินของชีวิตยังมีอีกมาก อย่าคิดว่าชีวิตของเรามืดบอดแล้ว หาทางแก้ไม่ได้แล้ว
จิตใจที่ว้าวุ่นเหมือนกับน้ำขุ่นในแก้วใส แม้แก้วจะใสแต่ก็มองไม่เห็นอะไร ยิ่งถ้าถูกเขย่าบ่อย ๆ ก็ยิ่งหาความนิ่งสงบไม่ได้ ขุ่นอยู่ตลอดเวลา การแก้ปัญหาคือการแก้อารมณ์ ต้องดึงอารมณ์ออกมาดูให้ได้เสียก่อนว่า ตัวไหนเป็นปัญหาเรียงลำดับหนึ่ง สอง สามให้ได้ มิฉะนั้นจะมองไม่เห็นความจริงใด ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้ใจสงบ เหมือนให้แก้วน้ำนิ่ง เพื่อให้อารมณ์ตกตะกอน
การแก้ปัญหาชีวิต จึงต้องอดทน อดกลั้น อย่าเห็นตนเป็นคนโชคร้าย ต้องยิ่มให้กับอุปสรรคปัญหาให้ได้ โดยไม่คิดว่าเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว คนอื่นเยอะแยะก็ไม่ต่างจากเรามากนัก บางรายอาจจะเลวร้ายยิ่งกว่าเราเสียอีก เพียงแต่เราไม่ได้ไปรับรู้เรื่องราวของเขาเท่านั้น ขอให้เรามีกำลังใจอย่าด่วนตัดสินใจทำอะไรเสียหายข้ามภพข้ามชาติ เพราะนั่นจะเป็นตราบาปที่ไม่สามารถจะแก้ไขเยียวยาได้อีกต่อไป
เป็นเรื่องที่น่าคิด ความคิดจะฆ่าตัวตายนี้ มักจะเกิดเป็นความคิดที่ทุรนทุราย ทนอยู่ไม่ได้ ขาดความอดทน ขาดความอดกลั้น หาทางออกไม่ได้ เป็นอารมณ์ชั่วขณะ เราต้องหัดเปลี่ยนอารมณ์ อย่าจดจ่อกับอารมณ์ร้ายเพียงอย่างเดียว ต้องดึงใจออกจากอารมณ์นั้นให้ได้ แม้มีทรพย์สินสมบัติบริวารยศศักดิ์เงินทองมากมายก็ตาม สิ่งเหล่านั้นก็ช่วยอะไรไม่ได้
บางคนหูตาแขนขาดี สมองดีเยี่ยม แต่กลับมองไม่เห็นความได้เปรียบของตัวเอง พยายามนำจุดด้อยเพียงเล็กน้อยขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อทำลายตนเอง การไม่พยายามมองหาจุดเด่นมาแก้จุดด้อย ไม่พยายามหาข้อดีของตนเองมาแทนข้อเสีย ไม่รู้จักมองดีในตนเอง เป็นจุดเริ่มต้นให้คนน้อยเนื้อต่ำใจ เสียใจ เหงาใจ ไปทางไหนพูดคุยเรื่องอะไรก็ดูเหมือนตนถูกทอดทิ้งตลอดเวลาแล้วก็ทำลายชีวิตตน
ความจริง คนผู้นั้นมีส่วนที่ได้เปรียบคนอื่นในสังคมอีกมากมายแต่เขาไม่คิด แต่นำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนบางคนที่ดีกว่า เด่นกว่า สูงกว่า หรือมีอะไร ๆ มากกว่าตัวเองแล้วก็รู้สึกขมขื่นและขื่นขมกับชะตาชีวิตของตน สุดท้ายก็บอกตนว่ามีปมด้อย แล้วก็พยายามจะเอาชนะเขาด้วยวิธีการต่าง ๆ การคิดเช่นนี้จะทำให้เราเป็นคนอมทุกข์อยู่ตลอดชีวิต การสร้างสุขให้ชีวิต ต้องเริ่มต้นที่วิธีคิด คิดเป็นก็เป็นสุข คิดผิดก็เป็นทุกข์ ความสุขหรือความทุกข์จึงอยู่ที่วิธีกำหนดความคิดของเราเอง
น่าเสียดายที่คนเราเมื่อมีปัญหากับชีวิตกลับหาทางออกเพียงทางเดียว ทั้ง ๆ ที่มีทางออกเยอะแยะมากมายแต่เขากลับปิดประตูลงกลอนตัวเอง เขามีทางเดินมากมายแต่เขากลับหว่านเศษแก้วทิ้งขวากหนามขวางทางเดินของตัวเอง เขามีปัญญามากกว่าคนอื่นอีกเยอะแยะ มีโอกาสที่ดีกว่าในการสร้างชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับคนอีกเป็นล้าน ๆ คนในโลก แต่เขาก็ไม่เคยคิด
คนที่โชคร้ายคือคนที่ไม่เคยเห็นความโชคดีของตัวเอง คนที่ไม่เคยคิดว่าตนเองโชคดี มีบุญเขาจะทำลายตนเองได้ง่าย เพราะความรู้สึกว่าตนโชคร้ายนั้นคือมะเร็งที่เริ่มเพาะเชื้อกัดกินใจ แทนที่จะเป็นมะเร็งทางกายแต่เขากลับเป็นมะเร็งทางใจ ซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่ามะเร็งทางกายหลายพันเท่า เมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ในชีวิต สิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะต้องคิดก่อนอื่นก็คือตัวชีวิตและคุณค่าของชีวิต
ที่มา : หนังสือ "ชีวิตมีค่า...ไยฆ่าชีวิต" โดย ปิยโสภณ |
|
|
|