|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
6
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
767
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,470,043
|
|
|
|
|
21 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ใช้กระเป๋าน้ำร้อนลดปวดถูกวิธี
[4 เมษายน 2554 15:21 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6107 คน |
|
หากผู้อ่านมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นตามร่างกาย นอกจากจะพึ่งพายาแก้ปวดหรือยารักษาเฉพาะโรคแล้ว อุปกรณ์ปฐมพยาบาล อย่าง กระเป๋าน้ำร้อน ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้ทุเลาลงได้โดยหลาย ๆ ครอบครัวมักมีกระเป๋าน้ำร้อนติดบ้านไว้ใช้ยามจำเป็น ดังนั้น มุมสุขภาพ-สามัญประจำบ้าน มีวิธีใช้กระเป๋าน้ำร้อนอย่างถูกต้องมาแนะนำ
สำหรับการใช้กระเป๋าน้ำร้อนชนิดดั้งเดิมที่ต้องเติมน้ำร้อนก่อนใช้นั้น ให้เติมน้ำในปริมาณ ¾ ของกระเป๋า จากนั้นไล่อากาศออกให้หมดแล้วปิดฝาให้สนิท ก่อนใช้ควรตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่าฝาของกระเป๋าถูกปิดแน่นแล้ว โดยการคว่ำกระเป๋า พร้อมสังเกตว่ามีน้ำไหลซึมออกมาหรือไม่ เมื่อเติมน้ำร้อนลงไปแล้วให้สัมผัสผิวนอกของกระเป๋าว่าอุ่นร้อนพอทนได้หรือไม่ โดยอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่ควรเกิน 45 องศาเซลเซียส ก่อนวางลงบนตำแหน่งที่ปวด ผู้อ่านจำเป็นต้องหุ้มพันกระเป๋าน้ำร้อนด้วยผ้าที่หนา-บางพอสมควร โดยไม่ควรประคบกระเป๋าน้ำร้อนกับผิวหนังโดยตรง เพราะอาจเป็นอันตรายกับเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ๆ ระยะเวลาในการกระเป๋าน้ำร้อนแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 20-30 นาที หลังใช้งานต้องเทน้ำออกจากกระเป๋าแล้วล้างทำความสะอาด จากนั้นนำไปตากโดยคว่ำปากกระเป๋าลง เมื่อแห้งสนิท ควรทำให้กระเป๋าพองลมก่อนปิดฝาและเก็บเข้าที่
การใช้กระเป๋าน้ำร้อนสามารถประคบได้ทั่วทั้งร่างกาย มักใช้เมื่อรู้สึกปวดท้อง ส่วนผู้ที่เกิดอาการปวดเนื่องจากอุบัติเหตุ มีรอย ฟก ช้ำ บวม ไม่ควรประคบร้อนทันที แต่ควรประคบเย็นก่อน เพื่อให้หลอดเลือดหดตัว และอาการบวมลดลง แล้วจึงใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบตาม เพื่อขยายหลอดเลือดและลดความเจ็บปวด
หากจำเป็นต้องประคบร้อนบรรเทาอาการปวด แต่ไม่สามารถหากระเป๋าน้ำร้อนมาใช้ปฐมพยาบาลได้ ผู้อ่านสามารถนำผ้าสะอาดชุบน้ำร้อนแล้วมัดขมวดเป็นลูกกลมคล้ายลูกประคบมาใช้ทดแทนกระเป๋าน้ำร้อนได้
ที่มา : Forword Mail |
|
|
|