|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
5
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
613
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,453,156
|
|
|
|
|
6 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แก่นตะวัน สุดยอดพืชมหัศจรรย์สารพัดประโยชน์
[29 ตุลาคม 2555 16:12 น.]จำนวนผู้เข้าชม 13038 คน |
|
แก่นตะวัน สุดยอดพืชมหัศจรรย์สารพัดประโยชน์
“แก่นตะวัน” กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก เนื่องจากได้ชื่อว่าเป็นพืชสารพัดประโยชน์ เราไปดูกันซิว่า “แก่นตะวัน” เป็นพืชประเภทไหน และความมหัศจรรย์ของ “แก่นตะวัน” มีอะไรบ้าง
สำหรับ “แก่นตะวัน” นั้น เรียกได้หลายชื่อทั้ง “ทานตะวันหัว” และ “แห้วบัวตอง” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า เยรูซาเล็ม อาร์ติโช้ก (Jerusalem artichoke) บางทีก็เรียกว่า ซันโช้ก (sunchoke) ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์คือ Helianthus tuberosus L. เป็นพืชดอกในตระกูลทานตะวัน ซึ่งมีต้นกำเนิดในตอนใต้ของประเทศแคนาดา และตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น แต่มีความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ จึงสามารถปลูกได้ดีในเขตร้อน และเขตกึ่งหนาวอย่างทวีปยุโรป ทำให้ต้น “แก่นตะวัน” เป็นที่รู้จักในหลายๆภูมิภาค
โดยลักษณะต้นของ “แก่นตะวัน” จะสูงประมาณ 1.5 ถึง 2 เมตร มีขนตามกิ่งและใบ ส่วนดอกของ “แก่นตะวัน” มีสีเหลืองสดใสคล้ายกับดอกบัวตอง และทานตะวัน แต่ขนาดจะเล็กกว่ามาก นอกจากนี้ “แก่นตะวัน” ยังมีหัวใต้ดินคล้ายมันฝรั่งไว้สำหรับเก็บสะสมอาหาร ซึ่งที่หัวของแก่นตะวันนี่เอง ที่จัดว่ามีสรรพคุณดีเยี่ยม
นั่นก็เพราะที่ส่วนหัวของ “แก่นตะวัน” จะมีสารอินนูลิน (Inulin) ที่เต็มไปด้วยน้ำตาลฟรักโตสโมเลกุลยาว จึงเป็นพืชพรีไบโอติกที่มีเส้นใยสูงมาก หากรับประทานเข้าไป สารดังกล่าวจะไปช่วยดักจับยึดไขมันในเส้นเลือด ไม่ว่าจะเป็นคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ หรือ LDL ที่เรารับประทานเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปทิ้งออกทางอุจจาระ จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี
และถ้าใครที่ไม่ค่อยแข็งแรงเพราะมีภูมิคุ้มกันต่ำ “แก่นตะวัน” ก็ถือเป็นสมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้ดีขึ้น เพราะอินนูลินจะไปช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โคลิฟอร์ม (Coliforms) และ อี.โคไล (E.Coli) ในขณะเดียวกัน “แก่นตะวัน” ก็จะไปเพิ่มการทำงานของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคือ บิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) และแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) ให้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ใครที่อยากลดความอ้วน “แก่นตะวัน” ก็เป็นหนึ่งในตัวช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดี โดยก่อนหน้านี้มีผู้ทดลองวิจัยให้หนูทานอาหารผสมอินนูลินนาน 3 สัปดาห์ และพบว่า น้ำหนักตัวของหนูลดลงจากเดิมถึง 30% เลยทีเดียว ซึ่งหากคนรับประทานแก่นตะวันซึ่งมีอินนูลินสูงเข้าไป ก็จะช่วยเรื่องการลดน้ำหนักตัวได้เช่นกัน เพราะร่างกายเราไม่สามารถย่อยสารเส้นใยอินนูลินได้ ทำให้สารดังกล่าวตกค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารหลายชั่วโมง จึงทำให้ผู้รับประทาน “แก่นตะวัน” เข้าไป ไม่รู้สึกหิว และทานอาหารได้น้อยลงนั่นเอง
ส่วนผู้ที่ไม่อยากเป็นโรคเบาหวาน การรับประทาน “แก่นตะวัน” ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้ เพราะ “แก่นตะวัน” มีแคลอรีต่ำ และไม่ไปเพิ่มน้ำตาลในเลือด โดยมีงานวิจัยระบุว่า คนที่ทานอินนูลินจะมีโอกาสเป็นเบาหวานน้อยกว่าคนที่ทานน้ำตาลถึง 40% เลยทีเดียว
สำหรับสรรพคุณอื่นๆของ “แก่นตะวัน” ก็มีอย่างเช่น
* ขับปัสสาวะ สร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย
* ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง
* แก้อาการท้องเสีย
* ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้
* ลดกลิ่นปากจากเชื้อแบคทีเรีย
* ป้องกันพิษของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
* ป้องกันอาการภูมิแพ้ และการแพ้อาหาร โดยเฉพาะในเด็ก
* ช่วยเจริญอาหารกระตุ้นการหลั่งของน้ำดี กระตุ้นการดูดซึมแร่ธาตุหลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียม และธาตุเหล็ก ฯลฯ
* ลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
* ลดความเสี่ยงการเป็นโรความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเลือด ช่วยป้องกันโรคอ้วน
“ในบรรดาพืชอาหารช่วยลดความอ้วนที่คนไทยรู้จักกัน ไม่ว่าจะเป็นหัวบุก เม็ดแมงลัก หญ้าหมาน้อย เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว คุณสมบัติสู้แก่นตะวันไม่ได้เลย”
ดร.ครรชิต จุดประสงค์ นักวิชาการประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สรุปผลการวิจัยถึงคุณประโยชน์ของ “แก่นตะวัน” พืชตัวใหม่ที่คนไทยเพิ่งรู้จักมา 4-5 ปีนี่เอง
พืชชนิดนี้คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ไม่คุ้นชื่อ เพราะไม่ใช่พืชประจำถิ่นของประเทศไทย ด้วย “แก่นตะวัน” เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตหนาวของอเมริกาเหนือ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Jerusalem artichoke หรือ Sunchoke และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus tuberosus
เป็นพืชล้มลุกสูงประมาณ 1.5-2.0 เมตร มีขนคล้ายหนามกระจายทั่วลำต้น ใบคล้ายต้นสาบ มีดอกสีเหลืองคล้ายดอกบัวตอง…มีหัวเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินคล้ายขิง ข่า รสชาติหวานมันคล้ายมันแกวแต่มีความกรุบกรอบเหมือนฝรั่ง
คุณประโยชน์มีรอบด้าน ทำได้ทั้งอาหารสัตว์ อาหารลดความอ้วนควบคุมไขมันสำหรับคน รวมทั้งเป็นพืชพลังงานทดแทน ที่สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้
“เมื่อ 15 ปีที่แล้ว รศ.ดร.สนั่น จอกลอย อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เป็นผู้ริเริ่มนำ เข้ามาทดลองปลูกในเมืองไทย เพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรไทย”
นำเข้ามาทดลองปลูกหลายสายพันธุ์ มีทั้งจากอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และได้พัฒนาสายพันธุ์ให้สามารถปลูกได้ในสภาพอากาศแบบเมืองไทยจนเป็นผลสำเร็จ
ด้วยเป็นพืชที่มีต้นตระกูลใกล้ชิดกับทานตะวัน และทั้งที่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว นำมาปลูกทดลองที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังมีความแข็งแกร่ง สามารถปรับตัวเจริญเติบได้ดี จึงได้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “แก่นตะวัน”
นอกจากจะสามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ขุดเหง้าหัวขึ้นมาขายทำเงินได้แล้ว ยังมีดอกที่สวยงาม สามารถสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยว แบบเดียวกับทุ่งทานตะวัน ทุ่งดอกบัวตองได้อีกต่างหาก
แต่เนื่องจากเป็นพืชชนิดใหม่ ที่ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะกับสภาพอากาศในบ้านเรา
คุณสมบัติในด้านโภชนาการ ช่วยลดความอ้วน จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่…ทางสถาบันวิจัยโภชนการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร.ครรชิต จุดประสงค์ จึงเข้ามารับหน้าที่ศึกษาวิจัยต่อ
ผลปรากฏว่า “แก่นตะวัน” ผ่านการปรับปรุงสายพันธุ์เป็นไทย ยังคงมีสรรพคุณช่วยลดความอ้วนได้เหมือนเดิม และยังเหนือกว่าพืชหลายชนิดที่คนไทยเคยรู้จัก
“แม้แก่นตะวันจะเป็นพืชที่มีหัวอุดมไปด้วยแป้ง คาร์โบไฮเดรต เหมือนพืชมีหัวทั่วไป แต่แป้งในหัวแก่นตะวันเป็นแป้งที่ไม่ธรรมดา
ไม่เหมือนแป้งในหัวมันอย่างอื่น ที่กินไปแล้วร่างกายจะย่อยสลายดูดซึมเข้าไปสะสมเป็นไขมันทำให้อ้วน
เพราะแป้งในหัวแก่นตะวันมีอินนูลินและฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ ร่างกายย่อยสลายดูดซึมไม่ได้ มันทำให้แป้งของแก่นตะวันกลายเป็นใยอาหารที่เข้าไปช่วยทำความสะอาด เก็บกวาดของเสียในระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี กินเข้าไปแล้วรู้สึกอิ่มและขับถ่ายได้ดี”
เพื่อให้เข้าใจถึงระบบการทำงานของแป้งใยอาหารของแก่นตะวันลดความอ้วนได้ อย่างไร ดร.ครรชิต อธิบายว่า สาเหตุอ้วนมาจากกินอาหารประเภทแป้งน้ำตาลเข้าไปสะสมในร่างกายเยอะมาก
โดยเฉพาะบริโภคสารความหวาน “กลูโคส” จากแป้ง “ฟรุคโตส”จากผลไม้ “ซูโครส”ที่ได้จากน้ำตาลทราย…สารความหวานจากแหล่งเหล่านี้ มีโมเลกุลสั้น ร่างกายสามารถย่อยสลายดูดซึมเข้าไปสะสมในร่างกายได้ แต่ถ้าเจอสารความหวานที่เป็นโมเลกุลสั้นๆ แต่จับตัวเรียงแถวเป็นสายยาวตั้งแต่ 3-10 ตัว ที่มีชื่อเรียกว่า “ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์…ร่างกายจะย่อยสลายไม่ได้
และถ้ายิ่งเป็นสารความหวานที่มีโมเลกุลสั้นเข้าแถวเรียงตัวกันเป็นสายยาว 10-60 ตัว มีชื่อเฉพาะเรียกว่า “อินนูลิน”
ร่างกายของคนเรายิ่งจะดูดซึมได้ยากเข้าไปใหญ่ และยังจะเป็นใยอาหารชั้นดีที่ช่วยกวาดล้าง สารพิษ สิ่งแปลกปลอม สารก่อมะเร็งที่เรากินเข้าไปและตกค้างในระบบทางเดินอาหาร ให้ถูกขับถ่ายออกไปได้เป็นอย่างดี มีผลช่วยบรรเทาอาการท้องผูก และลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ ถ้าคุณสมบัติมีแค่นี้ เป็นแค่ใยอาหาร ดร.ครรชิต บอกว่า แก่นตะวันแทบจะไม่มีอะไรดีเด่น น่าสนใจสักเท่าไร เพราะจะไม่ต่างอะไรกับหัวบุก เม็ดแมงลัก และหญ้าหมาน้อย ที่คนไทยรู้จักกัน…แต่แก่นตะวันมีคุณสมบัติมากกว่านั้น และเป็นอะไรที่พืชลดความอ้วนอย่างอื่นไม่มี
“เพราะหลังจากถูกกัดเคี้ยวกลืนให้เข้าไปอยู่ในกระเพาะ และไปย่อยสลายให้ร่างกายดูดซึมในลำไส้เล็กจนกลายเป็นใยอาหารแล้วถูกบีบให้ ไหลขับเคลื่อนไปสู่ลำไส้ใหญ่ เตรียมขับถ่ายเป็นอุจจาระ มาถึงขั้นนี้ ถ้าเป็นพืชใยอาหารลดความอ้วนอย่างอื่น หน้าที่และประโยชน์ของมันจะหมดและจบลงเพียงแค่นี้ แต่แก่นตะวันนั้น มาถึงลำไส้ใหญ่มันยังมีฤทธิ์ มีประสิทธิภาพทำงานให้กับร่างกายได้อีก”
เนื่องจากปกติลำไส้ของคนเราจะมีภาวะเป็นด่าง มีค่า pH 7-8 เป็นภาวะที่แบคทีเรียไม่ดี แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเจริญเติบโตได้ดี แต่พอกากใยอาหารของแก่นตะวันตกมาถึงลำไส้ใหญ่ สิ่งมหัศจรรย์ก็ได้เกิดขึ้น…ทำให้ภาวะลำไส้ใหญ่ที่เป็นด่างจะกลายเป็นกรด อย่างอ่อน มีค่า pH อยู่ที่ 3–5
ดร.ครรชิต อธิบายว่า ภาวะอย่างนี้มีผลดีต่อร่างกาย การเป็นกรดอย่างอ่อนจะช่วยทำลยแบคทีเรียก่อให้เกิดโรคล้มหายตายจากไปแล้ว ยังจะทำให้จุลินทรีย์ที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แลคโตบาซิลลัส (Lactabacillus) ไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacterium) เจริญเติบโตได้ดี
นอกจากจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้นแล้ว สิ่งที่พิเศษสุดๆ แก่นตะวันยังช่วยให้ลำไส้ใหญ่สามารถดูดซึมแร่ธาตุสำคัญจำพวก แคลเซียมและเหล็ก จากกากอาหารได้อีกด้วย ดูดซึมได้ถึง 2 ครั้ง ทั้งในลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ จากที่ปกติดูดซึมได้เฉพาะที่ลำไส้เล็กเท่านั้นเอง
นี่แหละความมหัศจรรย์ของแก่นตะวัน…ที่พืชลดความอ้วนชนิดอื่นไม่มี
และเหนืออื่นใด…ยังเป็นพืชปลูกง่ายให้หัวเร็ว ปลูก 3-4 เดือน ดอกบานแล้วโรย ถอนต้นขุดราก ล้างเหง้าให้สะอาด หักกัดกินดิบๆ สดๆ…ไม่ต้องปอกผิวออก ก็ยังกินได้ กินไม่หมด เก็บใส่ตู้เย็น จะเก็บไว้กินดิบๆ เอาไว้ทำกับข้าว ต้มผัดแกงทอด หรือเอาไว้ทำพันธุ์ปลูกต่อก็ยังได้ ในขณะที่หัวบุก เม็ดแมงลัก หญ้าหมาน้อย…ทำอย่างนี้ไม่ได้ต้องยุ่งยากทำให้สุกก่อนถึงจะโซ้ยลดอ้วนได้ แก่นตะวัน…ปลูกเอง ขุดเอง กินเองได้ ลดอ้วนแบบพอเพียงไม่ต้องพึ่งใคร.
เห็นสรรพคุณของ “แก่นตะวัน” มากมายขนาดนี้แล้ว ก็คงอยากจะลองรับประทานกันบ้างแล้วใช่ไหมล่ะ โดยเราสามารถทาน “แก่นตะวัน” ได้ทั้งแบบสด ๆ เหมือนกับผักสลัดทั่ว ๆ ไป รสชาติจะออกคล้าย ๆ แห้วและมันแกว หรือจะนำไปปรุงสุกเป็นอาหารหลากหลายเมนูก็ย่อมได้ หรือหากใครจะลองนำหัวแก่นตะวันไปตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้งแล้วนำไปอบ ป่นเป็นผงเล็ก ๆ ไปผสมกับแป้งทำขนม คุ้กกี้ ก็จะได้ขนมรสอร่อย แถมยังมีกลิ่นหอม และมีปริมาณอินนูลินจำนวนมากซึ่งดีต่อสุขภาพด้วย
และนอกจาก “แก่นตะวัน” จะเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารสูงแล้วแล้ว ยังเป็นพืชที่มีประโยชน์ในด้านพลังงานทางเลือกอีก โดยหากนำหัวสดแก่นตะวัน 1 ตัน ไปหมักด้วยเชื้อยีสต์ จะได้แอลกอฮอล์ไปกลั่นเป็นเอทานอลที่บริสุทธิ์ 99.5% ได้ถึง 100 ลิตร ซึ่งมากกว่าอ้อย 1 ตัน ที่จะให้ปริมาณเอทานอลเพียง 75 ลิตร ดังนั้นแล้ว หากมีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการหมัก และกรรมวิธีต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เชื่อได้เลยว่า “แก่นตะวัน” จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งในไม่ช้า แหม…ประโยชน์ครบเซ็ตอย่างนี้ ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมคนทั่วโลกถึงยกให้ “แก่นตะวัน” เป็นสมุนไพรมหัศจรรย์จริง และนอกจากนี้ ผลผลิตหัวสด 1 ตัน สามารถผลิต เอทานอลได้ 80-100 ลิตร จัดเป็นพืชพลังงานทดแทน
การใช้ประโยชน์
เป็นอาหาร นิยมใช้ส่วนหัวเป็นอาหาร ประเภทผัก หัวสดมีรสชาติ คล้ายแห้ว นำมาประกอบอาหารคาว หวาน ได้หลายชนิด ในหัวเป็นแหล่งสะสมของอินนูลิน (inulin) ซึ่งจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาล ฟลุ๊กโตสที่ต่อกันเป็นโมเลกุลยาว ในหัวหากมีการเปลี่ยนอินนูลินให้เป็นน้ำตาลที่อยู่ในรูปฟลุ๊กโตส ซึ่งละลายน้ำได้ดี และมีความหวานกว่าน้ำตาลซูโครส 1.5 เท่า และอินนูลิน เป็นอาหารเยื่อใยไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก อาหารจึงอยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีความรู้สึกหิว จึงกินอาหารได้น้อยลง
ต้นและหัว มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับเป็นอาหารสัตว์ โดยเมื่อนำมาเสริมอาหารสัตว์จะมีผลต่อการเพิ่มการเจริญเติบโต ลดจุลินทรีย์ที่เป็นโทษในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลดการใช้สารปฏิชีวนะ มูลสัตว์มีกลิ่นเหม็นน้อยลง...
--------------------------------------------------
ติดต่อขอรายละเอีดเพิ่มเติมได้ที่่
ติดต่อขอซื้อได้ที่ สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ โทร. 056-925-584
คุณประภาส ช่างเหล็ก (หัวหน้าสถานีวิจัยเพชรบูรณ์ หัวหน้าโครงการวิจัยพืชแก่นตะวัน) โทร. 081-9300306 Email : rdgppc@ku.ac.th
|
|
|
|