สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 4
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 1,512
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,198,756
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
19 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             
 
การแพ้วัคซีน
[13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]จำนวนผู้เข้าชม 7794 คน
 
          ปกติแล้วสัตวแพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนประจำทุกๆปี ( ยกเว้นในลูกสุนัขที่เพิ่งเริ่มทำวัคซีนเป็นครั้งแรกต้องมีการกระตุ้นวัคซีน หลายครั้ง ) ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลสัตว์เลี้ยงของท่านประจำทุกปี เว้นในรายที่ท่านเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่สนใจเท่านั้น การฉีดวัคซีนประจำปี เป็นการกระตุ้นภูมิต้านทานของสัตว์ ซึ่งย่อมต้องเกิดอาการอักเสบ สัตว์บางตัวจึงแสดงอาการซึม หรือมีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และข้อต่อบางแห่ง หรือมีไข้อยู่ 1-2 วัน ภายหลังการฉีดวัคซีน ซึ่งถือว่าเป็นปกติ และบางตัวก็ไม่แสดงอาการให้เห็น สัตว์จะกินอาหารละเล่นได้ตามปกติ แต่ในบางรายจะเกิดอาการอักเสบที่รุนแรงกว่านั้น ซึ่งอาการจะเห็นได้อย่างชัดเจน
 

อาการแพ้วัคซีน
          อาการแพ้ที่แสดงออกมักไม่เหมือนกันเลยทีเดียวในแต่ละตัว ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของสัตว์ที่มีต่อโปรตีนที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวัคซีนเสมอไป อาจเป็นละอองเกสร , ฝุ่น , อาหาร หรือยาก็ได้
 
อาการแพ้ทุกชนิดมักมีอาการลมพิษ , หน้าบวม , คลื้นไส้ ในรายที่รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต ไม่จำเป็นว่าสัตว์ต้องแสดงอาการทุกอย่างที่กล่าวมาให้เห็น อาจเกิดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
 

ทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการแพ้
          ถ้าสัตว์แพ้เล็กน้อยก็คงไม่มีปัญหา ในรายที่แพ้รุนแรงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เดินโซเซ ท่านเจ้าของควรรีบนำส่งสัตวแพทย์เป็นการด่วน ก่อนที่อาการจะทรุดลงไปกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้สัตว์ถึงแก่ชีวิตได้
          อาการอาเจียนเป็นอาการที่แสดงว่าสัตว์อยู่ในภาวะที่อันตรายมากซึ่งบางครั้ง ท่านเจ้าของอาจนึกว่าเป็นอาการเมารถธรรมดาแต่ถ้าเกิดอาการเช่นนี้ให้รีบนำ ส่งสัตวแพทย์ แล้วเล่าอาการให้หมอฟังโดยด่วน
 

ในกรณีที่สัตว์แพ้วัคซีน ครั้งต่อไปควรจะทำอย่างไร
          มีหลายขั้นตอนที่จะทำได้ หลังจากทราบว่าสัตว์ของท่านแพ้วัคซีน เช่น
          1. หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเลสโตไปโรซิส
วัคซีนเลสโตไปโรซิส มักรวมอยู่ในวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข เป็นส่วนของวัคซีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้มากที่สุด เจ้าของควรบอกสัตวแพทย์ว่าไม่ต้องการให้สุนัขฉีดวัคซีนชนิดนี้
          2. หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนรวมหลายๆโรคพร้อมกัน
โดยขอให้สัตว์แพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแต่ละชนิดแยกกัน โดยอาจฉีดห่าง 1-2 สัปดาห์ เพื่อลดการกระตุ้นภูมิต้านทานลง เพื่อไม่ให้อาการแพ้รุนแรง และการแยกชนิดวัคซีน จะสามารถทำให้ทราบว่าสัตว์แพ้วัคซีนชนิดใด
          3. หลีกเลียงการฉีดวัคซีนเอง หรือ บุคคลที่ไม่ใช่สัตวแพทย์ฉีด
          4. แจ้งข้อมูลการแพ้วัคซีนของสัตว์เลี้ยงของท่านต่อสัตวแพทย์ทุกครั้ง
ท่านเจ้าของควรจดจำชนิดวัคซีนที่สัตว์เลี้ยงแพ้ และแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบทุกครั้งที่ไปฉีดวัคซีน 
          5. อาจต้องมีการฉีดยาแก้แพ้ก่อนการฉีดวัคซีนในรายที่แพ้ทุกครั้ง
การฉีดยาแก้แพ้ก่อนการฉีดวัควัคซีนเพื่อเป็นการป้องกันอาการแพ้ก่อนที่จะ เกิด และภายหลังการฉีดวัคซีน
ท่านเจ้าของควรสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงต่ออีก 1 – 2 วันหลังการฉีดวัคซีน
 
           การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสัตว์เลี้ยงของเจ้าของ การแพ้วัคซีนแม้จะเกิดขึ้นได้น้อย แต่บางครั้งก็เป็นอันตรายถึงชีวิต ขึ้นอยู่กับว่าสัตว์เลี้ยง แพ้มากหรือน้อย แต่ไม่ใช่หมายความว่าท่านเจ้าของกลัวการแพ้วัคซีน จนไม่พาสัตว์เลี้ยงไปฉีด
 
 

________________________________
 
น.สพ.พัฒนา รัตนชินกร  ผ.อ. โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น.พี.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น.พี. หรือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0-2956-5276-7
 
 
สาระความรู้ทั่วไปสำหรับเจ้าของน้องตูบ
- อาหารแสลง ที่ควรเลี่ยงเมื่อป่วย [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
- พืชขาดธาตุอาหารอะไร ?..ใส่ใจสักนิด... [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
- ปวดท้อง...ลางบอกโรคร้ายของคุณ [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
- การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำและลดความเสี่ยง จากโรคมะเร็ง [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
- ซอสปรุงรส [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
- รู้จักไหม?...“ต้นผึ้ง” มีหนึ่งเดียวที่ราชบุรี [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
- เลือดจระเข้ [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
- การทำน้ำด่าง (อัลคาไลน์) สำหรับดื่มอย่างง่าย [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
- กิน ‘สมอ’ ดีเสมอ [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
- ปัสสาวะหลวงพ่อ [13 กรกฎาคม 2553 17:25 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY