|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
723
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,469,999
|
|
|
|
|
21 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
กินแบบไหนถึงหายร้อน
[8 เมษายน 2554 09:32 น.]จำนวนผู้เข้าชม 4952 คน |
|
เข้าเดือนเมษา หน้าสงกรานต์ทีไร ใครๆ ก็ต้องบ่นว่าร้อนเสียเหลือเกิน ถึงแม้ว่าเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมายังได้ใส่เสื้อกันหนาวกันอยู่ แต่พอความหนาวเย็นหายไป ความร้อนก็เข้ามาแทนที่ทันที
และเมื่อถึงหน้าร้อนแบบนี้ เราก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการกินให้เข้ากับฤดูกาลด้วยเช่นกัน “108 เคล็ดกิน” มีวิธีกินที่จะทำให้คลายความร้อนในร่างกายลงไปได้บ้าง ซึ่งจะมีวิธีไหนบ้างนั้น ก็ลองไปดูกันดีกว่า
ลดการกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไขมัน และแป้ง เนื่องจากอาหารประเภทนี้ต้องใช้พลังงานในการย่อยค่อนข้างสูง ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนัก ซึ่งจะเกิดความร้อนขึ้นภายในร่างกาย นอกจากนั้นก็ยังเป็นอาหารกลุ่มที่ให้พลังงานมาก ซึ่งถ้ากินมากเกินไปก็จะทำให้ได้รับพลังงานเกินความจำเป็น ดังนั้น ควรเปลี่ยนไปกินอาหารพวกผักและผลไม้มากขึ้น
ดื่มน้ำสะอาดเพิ่มขึ้น ในฤดูร้อนจะทำให้เราเสียเหงื่อได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจะต้องดื่มน้ำเข้าไปชดเชยเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ โดยเฉพาะคนที่จะต้องอยู่กลางอากาศร้อนจัด แดดแรง หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้ง ควรดื่มน้ำให้ได้ 4-6 แก้วต่อชั่วโมง ส่วนน้ำที่ใช้ดื่มนั้นควรเป็นน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้อง ควรหลีกเลี่ยงน้ำหวาน เพราะจะทำให้รู้สึกกระหายน้ำเพิ่มมากขึ้น และไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้ป่วยได้ง่าย เนื่องจากร่างกายปรับอุณภูมิไม่ทัน และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัวมากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย อีกทั้งในอากาศร้อน แอลกอฮอล์จะซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วกว่าปกติ ทำให้เมาได้ง่าย และอาจช็อกหมดสติได้
กินอาหารที่สด สะอาด และปรุงสุก เนื่องจากในหน้าร้อนเชื้อโรคจะเจริญเติบโตได้ดี ทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย ซึ่งเมื่อกินเข้าไปอาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ จะเห็นได้จากที่กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศเตือนให้ระวังอันตรายจากโรคในหน้าร้อน เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด เป็นต้น ซึ่งสามารถป้องกันได้จากการดูแลความสะอาดของอาหาร และน้ำดื่ม รวมถึงรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล
กินอาหารรสขมเย็น อาหารที่มีสรรพคุณทางยาในรสขมเย็น จะช่วยขับร้อน แห้กระหาย ถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน ซึ่งอาหารในประเภทนี้ก็มีหลายชนิด เช่น มะระ ฟักเขียว ปวยเล้ง ผักกาดขาว แตงกวา ผักบุ้ง แตงโม สาลี่ เป็นต้น
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ |
|
|
|