|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
26
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,360
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,529,862
|
|
|
|
|
5 กุมภาพันธ์ 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขึ้นได้ ลงได้
[25 กรกฎาคม 2553 17:36 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6704 คน |
|
คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่มีค่ามากและเป็นเครื่องแยกแยะนักบริหารระดับยอดกับยอดที่สุดออกจากกันนั่นก็คือ ความมั่นคงทางใจในยามได้รับเคราะห์กรรม
นักบริหารบางคน มีทัศนคติต่องานดีมาก แต่พอตกต่ำ ทัศนคติแปรเปลี่ยนเป็นเลวมาก
เคยมีความมุ่งมั่นสูง พอเจอปัญหา ใจก็ฝ่อ หน้าหดเหลือสองนิ้วก็มี
เคยพูดจาฉะฉาน พูดกับใครก็สามารถสื่อความเข้าใจได้โดยง่ายกลายเป็นคนพูดไม่รู้เรื่อง
นักบริหารหลายคนที่ประสบความสำเร็จสูงมาก เมื่อไปพบแรงกดดันที่ไม่อาจทนทานได้ คุณสมบัติที่ดีต่างๆก็เปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม
ขึ้นและลง เป็นวัฏจักรของนักบริหารทุกๆคน
ความประพฤติของคนเวลาขึ้นนั้น ไม่ยากเท่าไหร่ ได้เลื่อนยศ ได้ตำแหน่งใหม่ เดี๋ยวก็มีคนมายินดี มาเลี้ยงฉลองให้ อะไรๆก็ดูดีหมดครับ แต่ตอนลง นี่สิครับ...สำคัญยิ่งกว่า
คนที่ประสบเคราะห์กรรมในการบริหาร แล้วจะต้องตกต่ำลงมาเปลี่ยนแปรเป็นคนประพฤติตัวไม่เหมาะสม คนชนิดนี้...ยากจะกลับมามีบทบาทอีกได้ครับ
มีผู้รู้ท่านหนึ่งแนะนำว่า "คนที่ประสบเคราะห์กรรมทางด้านบริหารแล้วมีสติระลึกรู้ว่าสาเหตุมาจากอะไร ทำตัวให้สม่ำเสมอ ไม่โวยวาย แล้วต่อสู้ใหม่ โอกาสที่จะกลับเข้ามาอีกมีแน่"
มีภาษิตฝรั่งบทหนึ่ง ผมแปลออกมาเป็นไทยได้ความว่า "คุณจะประพฤติอย่างไรในยามตกต่ำ มีความสำคัญมากกว่า คุณจะประพฤติอย่างไรในยามที่คุณเจริญรุ่งเรือง"...
บทความจาก: หนังสือ ฝ่าคลื่น ฝืนลม
โดย อ.ประสาร มฤคพิทักษ์
....เราควรจริงใจกับทุกคน...แต่เราไม่ควรไว้ใจและเชื่อใจใครง่ายๆ แม้คนคุ้นเคยก็ไม่ควรไว้วางใจ...
|
|
|
|