สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 9
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 38
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,529,944
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
6 กุมภาพันธ์ 2568
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
      
10  11  12  13  14  15 
16  17  18  19  20  21  22 
23  24  25  26  27  28   
             
 
ข้อเท้าพลิกและข้อเท้าแพลง
[28 กันยายน 2553 10:40 น.]จำนวนผู้เข้าชม 11713 คน
    
     ข้อเท้าพลิก  เป็นการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่งของเท้าและข้อเท้า  มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นข้อเท้าแพลง  แต่หลังจากได้รับการรักษาแล้วยังมีอาการเจ็บต่อเนื่องอีกเป็นเวลานาน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการวินิจฉัยโรคที่ไม่ถูกต้อง , การบริหารที่ไม่เหมาะสมหรืออาการฉีกขาดรุนแรง  (ขั้นที่ 3) 

      การบาดเจ็บที่มักวินิจฉัยผิดเป็นข้อเท้าแพลง
1. ข้อเท้าแพลงแบบสูง
2. กระดูกแตกภายในเท้าหรือข้อเท้า
3. ผิวกระดูกอ่อนข้อเท้าบาดเจ็บ
     การตรวจร่างกายอย่างละเอียดสามารถบอกได้ดีหากมีอาการบาดเจ็บไม่ตรงตำแหน่งเส้นเอ็นดังกล่าวให้ระวังว่าอาจมิใช่ข้อเท้าแพลงธรรมดา
     ข้อเท้าแพลง  มี 3 ขั้น
ขั้นที่ 1  การบาดเจ็บภายในเส้นเอ็นไม่มีการฉีกขาดให้เห็น
ขั้นที่ 2  มีการฉีกขาดบางส่วนของเส้นเอ็น
ขั้นที่ 3  มีการฉีกขาดแบบสมบูรณ์

     การรักษาเบื้องต้น
     ทำได้โดยการประคบความเย็น  ยกเท้าสูง  และการทำให้ข้อไม่เคลื่อนไหว  โดยอาจพิจารณาใส่เฝือกระยะสั้นๆ หรือใช้อุปกรณ์ประคองข้อเท้าในช่วงแรก  ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ  ในรายที่เป็นนักกีฬาที่ใช้ข้อเท้ามากอาจต้องพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด

     หลังจากข้อเท้าและเส้นเอ็นยุบบวมลง  และอาการเจ็บปวดลดลง (ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังบาดเจ็บควรบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า  ดังนี้
1.  การยืดกล้ามเนื้อข้อเท้า
 1.1  การยืดเอ็นร้อยหวาย ทำได้ 3 วิธี
     - ยืนมือดันผนัง  ก้าวขาที่ต้องการยืดไปด้านหลังส้นเท้าติดพื้น  ย่อเข่าหน้าจนรู้สึกตึงขาหลัง  ทำค้างไว้ประมาณ1/2 นาที ทำซ้ำ4-5 ครั้ง
     - นั่งกับพื้น  ใช้ผ้าขนหนูดึงเท้าเข้าหาตัว  ในท่าเข่าเหยียดทำค้างไว้ ประมาณ 1/2 นาที ทำซ้ำ 4-5 ครั้ง
     - การยืดเอ็นร้อยหวายโดยการยืนที่ขอบบันได  ทำค้างไว้ประมาณ 1/2 นาที ทำซ้ำ 4-5 ครั้ง
 1.2  การยืดกล้ามเนื้อรอบข้อเท้าโดยการกระดกเกร็ง  ข้อเท้าทุกด้าน
2.  การบริหารความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า
 2.1  ถ่วงถุงทรายที่หลังเท้า นั่งห้อยขาข้างเตียง  กระดกข้อเท้าขึ้นลง  เซ็ทละ 10-20 ครั้ง ทำซ้ำ 2-3 เซ็ท
 2.2  สายยางคล้องข้างเท้า  ด้านนอกกับเสาหรือขาโต๊ะส้นเท้าเป็นจุดหมุน  บิดเท้าออกด้านนอก  บริหารเช่นเดิม  โดยคล้องสายยางทั้งด้านในและหลังเท้าทำเซ็ทละ 10-20 ครั้งในแต่ละท่า  ทำซ้ำ 2-3 เซ็ทต่อวัน อาจใช้การบริหารเช่นเดิมโดยใช้เท้าดันกับฝาผนังก็ได้
     การบริหารที่เหมาะสมจะทำให้รู้สึกปวดตึงด้านข้างขาในช่วง 2-3 วันแรก หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะแข็งแรงขึ้นตามลำดับ
3.  การบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กรอบข้อเท้า , การทรงตัวและการประสานงานของเส้นประสาท
  เมื่อข้อเท้าแข็งแรงมากขึ้น (3-4 สัปดาห์) ให้ฝึกยืนบนพื้นที่มีความไม่มั่นคง เช่น กระดานกระดก (wobble board) หรืออาจดัดแปลงโดยการยืนทรงตัวบนพื้นราบหรือหมอนแข็งๆ นานประมาณ 2-3 นาทีต่อครั้ง  ทำซ้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน

ข้อควรระวัง
 1. ควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้ามีส้น  เนื่องจากจะทำให้เกิดการแพลงซ้ำได้ง่าย
 2. เลือกรองเท้าที่มีความกว้างของเส้น  จะช่วยทำให้ข้อเท้ามั่นคงมากขึ้น
 3. การประคบเย็นบ่อยๆ ในช่วง 1 เดือนแรก จะทำให้อาการดีขึ้นมาก
 4. การกลับไปเล่นกีฬาก่อนที่กล้ามเนื้อรอบข้อเท้าแข็งแรงจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บซ้ำ  อีกทั้งยังทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บอื่น ซึ่งอาจจำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัดร่วมด้วย

ที่มา : ข้อเท้าพลิกและข้อเท้าแพลง โดย อ.นพ.บวรฤทธิ์  จักรไพวงศ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
สาระความรู้ทั่วไปสำหรับเจ้าของน้องตูบ
- อาหารแสลง ที่ควรเลี่ยงเมื่อป่วย [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
- พืชขาดธาตุอาหารอะไร ?..ใส่ใจสักนิด... [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
- ปวดท้อง...ลางบอกโรคร้ายของคุณ [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
- การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำและลดความเสี่ยง จากโรคมะเร็ง [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
- ซอสปรุงรส [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
- รู้จักไหม?...“ต้นผึ้ง” มีหนึ่งเดียวที่ราชบุรี [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
- เลือดจระเข้ [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
- การทำน้ำด่าง (อัลคาไลน์) สำหรับดื่มอย่างง่าย [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
- กิน ‘สมอ’ ดีเสมอ [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
- ปัสสาวะหลวงพ่อ [28 กันยายน 2553 10:40 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY