|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
54
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,484,980
|
|
|
|
|
3 มกราคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความสุข
[13 ตุลาคม 2553 11:46 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5941 คน |
|
"คนเราทุกคนจำเป็นต้องมีการเรียนรู้อยู่ทุกขณะ ปริญญาใดๆก็ตาม มิได้แสดงว่าเราได้เรียนจบแล้วหรือพอแล้ว การจบชีวิตเท่านั้น คือ การจบการเรียนโดยแท้"
ไม่มีใครคนใด ชีวิตใด จะฝืนธรรมชาติไปได้เลย ผู้ใดหรือสิ่งใดที่พยายามฝืนธรรมชาติ ผู้นั้นหรือสิ่งนั้นย่อมก้าวไปสู่การสูญเสียในที่สุด
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติตนยึดมั่นในหลักแห่งธรรมชาติอย่างมั่นคง ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ เพียงใดก็ตาม ย่อมพบกับความสำเร็จเป็นขั้นตอนในที่สุดเช่นเดียวกัน
หลักธรรมหรือหลักธรรมชาติของชีวิตทุกชีวิตในโลกนี้ ข้อหนึ่งคือ ความจริงของชีวิตในสังคมไม่มีคนใดหรือกลุ่มชนใดจะอยู่ในโลกแต่ลำพังคนเดียวหรือกลุ่มเดียวได้ เราจึงจำเป็นต้องยึดหลักการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อความสมบูรณ์แห่งชีวิตของทุกคนที่เกิดมาและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน
ดังนั้น หลักสำคัญข้อหนึ่งในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ร่วมกันด้วยความสงบสุขก็คือ การสร้างคุณสมบัติในจิตใจของเราเองว่า ตัวเรามิได้ดีหรือมีคุณค่าเหนือผู้อื่นแต่ประการใดเลย การเรียกร้องหรือกระทำการใด ๆ เพื่อเอาผลดีเข้าตนเอง เป็นสิ่งซึ่งผู้เรียกตนเองว่ามนุษย์พึงควรละเว้นเสีย เพื่อความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงของแต่ละคน หรือที่เรียกว่า "มนุษยธรรม"
แต่ละคนมีความเป็น "เรา" ได้ทุกคน ถ้าหากแต่ละคนมองจากตนเองออกไปยังผู้อื่น และแต่ละคนก็มีความเป็น "เขา" ได้ทุกคนเช่นกัน ถ้าหากแต่ละคนถูกมองจากผู้อื่นมาสู่ตนเองประการหนึ่ง หรือยอมตนเองให้เป็นผู้มองตนเองได้โดยแท้
ผู้ที่ได้ชำระจิตใจให้ปราศจากอคติ ความเห็นแก่ตัวได้แล้ว จึงปราศจากการมองเห็นรอยแตกแยกระหว่างความเป็น "เขา" กับความเป็น "เรา" การยอมรับการอยู่ร่วมกันนั้นสรุปได้คือ การยอมรับแนวความคิดและคติธรรมแห่งการ "ไม่มีเราไม่มีเขา" และเมื่อนั้นสังคมจะเข้าถึงบรรยากาศแห่งความสงบสุขและจริงใจต่อกัน
ผู้ที่อยู่ด้วยปัญญาอันฉลาด คือ ผู้ที่อยู่ด้วยการเรียนรู้จากคนหรืออยู่ด้วยความเป็นศิษย์ของพฤติกรรมของผู้อื่น
ถ้าเห็นและเข้าใจลึกซึ้งว่า"การเรียนรู้เรื่องคน" และ "จากคน" เป็นสิ่งสำคัญแล้ว คนทุกคนเป็นครูของเราทั้งสิ้น
การทำตนเป็นศิษย์จากพฤติกรรมของผู้อื่นทุกรูปทุกนามและทุกสภาวะของคน ย่อมส่งเสริมให้เราได้รู้จักคน ศึกษาคนได้อย่างกว้างขวาง การรู้จักคนและเข้าใจคนโดยไม่เอามาใส่ใจว่าคนนั้นมีพฤติกรรมเป็นอย่างไรไม่เพียงแต่ช่วยให้เราอยู่ร่วมกันกับคนได้ด้วยดี และเจริญด้วยสติปัญญาเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ได้มองเห็นลู่ทางในการดำเนินชีวิตอันเหมาะสม อุทิศตนสร้างสรรค์สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ในทางที่ดีงามแก่สังคมของคนด้วย
"โดยธรรมชาติแท้จริงแล้ว ไม่มีอำนาจใด ๆ จะยั่งยืนถาวร นอกจากอำนาจธรรมชาติ หรืออำนาจธรรมะ อันเป็นอำนาจแห่งความจริงของชีวิตของทุกชีวิต"
ที่มา : จากหนังสือ "ธรรมะ ธรรมชาติ" โดย ศ.ระพี สาคริก |
|
|
|