|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
772
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,470,048
|
|
|
|
|
21 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชีวิตมีค่า...ไยฆ่าชีวิต (1)
[26 มกราคม 2554 10:33 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6732 คน |
|
ชีวิตมีเกิดและมีตายเป็นธรรมดา เกิดกับตายจึงเป็นของคู่กันเสมอ ไม่มียกเว้น วิธีจัดการกับชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน เพราะความคิดที่ต่างมุม บางคนมักจัดการกับความทุกข์ของชีวิตด้วยวิธีง่าย ๆ คือ เอาความตายมาเป็นหลักเพราะมองเห็นว่า เมื่อชีวิตเป็นทุกข์ก็ควรเอาความตายมาละลายชีวิต บางคนคิดว่าเมื่อละลายชีวิตได้ความทุกข์น่าจะหมดไป จึงตัดสินใจตายดีกว่า
เพราะมองเห็นว่าชีวิตตนไร้คุณค่า ไม่มีความหมายอะไรอยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์กับใคร ไม่มีเราก็คงจะไม่ต้องเป็นภาระของใคร บางคนจึงตัดสินใจว่าตายดีกว่า เพราะต้องการประชดชีวิต ประชดคนรักที่ไม่รักตน ไม่ยอมตามงอนง้อ ไม่สนองความรู้สึกของใจเราในหลาย ๆ เรื่อง คิดว่าความตายอาจจะทำให้เขาเห็นใจบ้าง บางคนจึงประชดรักด้วยวิธีตายดีกว่า
เพราะคิดว่า ความทุกข์หรือปัญหาทั้งหลายนั้นเกิดจากตน ถ้าไม่มีตนก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ กับใคร คิดว่าตนคือต้นเหตุแห่งปัญหา เมื่อตนไม่มีปัญหาก็หมด เมื่อมองชีวิตเป็นอัตตาตัวตน วิธีทำลายอัตตาตัวตนของคนบางพวกจึงมุ่งทำลายชีวิตตนให้หมดไป ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงมองทิฐิมานะความเห็นผิด ความยึดมั่นถือมั่น ไม่ปล่อยวาง คือการสร้างอัตตาให้ใหญ่ขึ้นด้วยอำนาจโลภะ โทสะ โมหะ กิเลส ทั้ง 3 ตัวนี้เองเป็นตัวตนที่แท้จริงของชีวิต เพราะทำให้ชีวิตมืดบอด หาทางออกไม่พบ แต่คนพวกหนึ่งกลับมองเห็นตัวตนทางสรีระเป็นตัวตนที่ก่อทุกข์ จึงหาทางกำจัดทุกข์ด้วยการปลดชีวิตของตนเสีย ด้วยมั่นใจว่าตายดีกว่า
เพราะคิดว่าความตายง่ายนิดเดียว กลัวทำไมกับชีวิตหลังการตาย แปลว่าแม้เบื้องหลังก็ไม่ต้องไปสนใจว่าใครจะเป็นอย่างไร เราตายได้ก็ถือว่าตนเองหมดห่วง ส่วนคนข้างหลังจะคิดอย่างไร มีปัญหาอะไรตามมาก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของคนอื่นไป ส่วนเราถือว่าหมดภาระต่อชีวิตแล้วจึงตัดสินใจตายดีกว่า
เพราะคิดว่าชีวิตข้างหน้าหลังการตาย ตนเองไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับใครต่อไป คิดแต่เพียงว่าเราคนเดียวเท่านั้นที่มาเกิด เราคนเดียวเท่านั้นที่ตายไป คนอื่นไม่เกี่ยวข้องกับเรา พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนพ้องเป็นเพียงส่วนประกอบ จึงยินดีเผชิญสุขทุกข์ตามลำพังทั้งชีวิตก่อนตายและชีวิตหลังตาย เพราะคนประเภทนี้ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งธรรมชาติ ไม่เชื่อว่าชีวิตมีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่เชื่อเรื่องภพชาติ คิดแต่เพียงว่าตายคือจบ ทุกอย่างจบลงตรงคำว่าตาย จึงคิดว่าตายดีกว่า
เมื่อคิดว่าโลกหน้าไม่มี ชาติหน้าไม่มี ตายแล้วก็ดับสูญ ไม่เห็นจะต้องไปเผชิญสุขทุกข์อะไรอีกเช่นนี้จึงทำให้ตัดสินใจผิด เมื่อชีวิตทุกข์มากเข้า ปลิดชีวิตเสียก็สิ้นเรื่องเพราะเขาคิดว่าการปลิดชีวิตตัวเองเป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนตรงไหน ก็ชีวิตของเราแท้ ๆ จะผิดตรงไหน เรารับผิดชอบชีวิตเรา เรามีสิทธิทื่จะทำอะไรก็ได้ เพราะสังขารร่างกายทั้งหลายเป็นสมบัติของเราคนเดียว แต่คนเหล่านี้หาคิดไม่ว่านั่นเป็นเพียงเหตุผลที่พยายามจะอธิบายเข้าข้างตนเองเท่านั้น มิใช่เหตุผลที่แท้ ที่อยู่ในจิตใจของเขาจริง ๆ เขาจึงคิดว่าตายดีกว่า
แต่ในความเป็นจริงชีวิตเราไม่ใช่ของเราคนเดียว แม้ร่างกายเราก็ยังมิใช่สมบัติของเราทีเดียวนัก หากแต่เป็นสิ่งผสมผสานขึ้นมาระหว่างคน 2 คน คือพ่อกับแม่ ผู้ซึ่งให้กำเนิดทั้งที่เกิดจากความรัก ความทะนุถนอม ความห่วงใยจากดวงใจของพ่อกับแม่จริง ๆ หรือบางกรณีอาจมีบ้างที่ไม่ได้เกิดเพราะความรัก แต่เป็นความบังเอิญ เป็นความจำยอมเป็นเหตุเกินวิสัย เช่น ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดดังที่มีให้เห็นมามากมายในสังคม กลายเป็นชีวิตที่ไม่ได้ถูกลิขิตด้วยความรัก เด็กที่เกิดมาจึงแล้งรัก เป็นชีวิตที่แห้งผากกับคำว่าความรัก ความอบอุ่น แต่ก็พึงให้รำลึกเสมอว่าแม้เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกสร้างชีวิตได้
อย่างไรก็ตามตัวชีวิตของเราถือว่าเป็นสัมพันธ์อย่างแนบสนิทระหว่างกรรมเก่าและกรรมใหม่ จากใจดวงหนึ่งสู่เลือดอีกก้อนหนึ่ง เป็นความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมในอดีตและปัจจุบัน ทุกอย่างล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคนรอบข้าง และสิ่งรอบกายทั้งสิ้น เขาอาจจะลืมนึกไปว่าเขาเกิดมาคนเดียวก็จริง แต่มิได้มีชีวิตอยู่คนเดียว คนที่เฝ้าแต่คิดว่าในโลกนี้มีเพียงแต่ตนคนเดียวเชื่อว่าได้เริ่มทำร้ายตนเอง จนกระทั่งก้าวเดืนเข้าหาการทำลายชีวิต
บางคนอาจคิดมากไปว่า ถึงเขามีชีวิตอยู่ก็ไม่เห็นจะมีใครใส่ใจดูแล ไม่เห็นมีใครมองเห็นคุณค่า มีแต่ทำให้เกิดความชอกช้ำน้ำใจ ก่อแต่เรื่องขัดเคืองจิตใจตลอดเวลา คนเช่นนี้มองเห็นชีวิตด้านเดียว เห็นชีวิตเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายไม่รื่นรมย์เหมือนคนอื่น จึงต้องการหนีชีวิตด้วยความตาย แล้วก็คิดหาวิธีต่าง ๆ เพื่อจากไป เพราะมั่นใจว่าตายดีกว่าอยู่
เวลานี้ ความรู้สึกของคนในสังคมเรื่องตายดีกว่ามีชีวิตอยู่เริ่มมีมากขึ้นในปัจจุบัน การตัดสินใจตายจะง่ายกว่าการตัดสินใจอยู่ มีปัญหานิดหน่อยก็ฆ่าตัวตาย สอบไล่ได้คะแนนไม่ดีก็ทำลายชีวิต พ่อแม่ดุก็ทำลายชีวิต ผิดหวังจากคนรักก็ทำลายชีวิต บางคนทำลายทั้งตนเองและคนอื่น กลายเป็นคนทนอะไรไม่ได้ จะหาทางตายท่าเดียว
น่าคิดที่คนทุกวันนี้ มองไม่เห็นว่าอะไรสำคัญหรือไม่สำคัญจนกระทั่งกล้าท้าทายกับชีวิตในทางผิด ๆ เอาความตายมาแลกกับชีวิต ความกล้ากับการไม่กลัวตายเป็นคนละอย่าง และการไม่กลัวตายก็ไม่ได้หมายความว่าให้ทำลายชีวิตหนีปัญหา
ความกล้าเผชิญชีวิตเป็นสิ่งที่ดี แต่หมายถึงการเผชิญฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิต มิใช่หนีชีวิต การปลิดชีวิตทิ้งมิใช่เป็นความกล้าหาญ หากแต่เป็นความขลาดเขลาเบาปัญญา เบาสติมากกว่านักรบกล้ากลางสมรภูมินั้น คือผู้ยืนหยัดต่อสู้ข้าศึกศัตรูจนตนสิ้นชีวิต มิใช่หนีข้าศึกศัตรูด้วยการปลิดชีพตัวเองก่อนที่ศัตรูจะมาถึง
ความกล้าต้องมี แต่ต้องกล้าต่อสู้ สู้กับความรู้สึกของใจด้วยการสร้างกำลังใจไม่กลัวอุปสรรคปัญหา มองปัญหาเป็นพลังชีวิต เสมือนคลื่นทะเลที่ส่งเรือให้ถึงฝั่ง ไม่มองปัญหาเป็นสิ่งเลวร้ายที่จะต้องหลบซ่อนนอนเศร้าอยู่เดียวดาย
ที่มา : หนังสือ "ชีวิตมีค่า...ไยฆ่าชีวิต" โดย ปิยโสภณ |
|
|
|