|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
128
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,476,819
|
|
|
|
|
27 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ต้านอนุมูลอิสระ...เคล็ดลับชะลอวัย
[8 ธันวาคม 2553 15:45 น.]จำนวนผู้เข้าชม 4796 คน |
|
แม้ความแก่ชราเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดและแปรผันตามวันเวลาที่เพิ่มขึ้น แต่หากรู้จักวิธียับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นต้นตอความเสื่อมของร่างกายได้ ก็อาจช่วยชะลอความชราได้เช่นกัน
อนุมูลอิสระ...สหายของความเสื่อม
อนุมูลอิสระ (Free Radical) ตัวการร้ายทำลายผิว เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเจนในการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย กลายเป็นสนิมไปเกาะเซลล์ต่าง ๆ และกัดกร่อนเซลล์ให้เสื่อมสภาพเร็ว เปรียบได้กับคราบควันพิษจากการเผาเชื้อเพลิงของโรงงาน หากเกิดเพียงเล็กน้อย ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือน ด้วยอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผิวหมองคล้ำ แต่ถ้าเมื่อใดที่ร่างกายต้องเผชิญกับปัจจัยอื่นรุมเร้า ก็จะมีปริมาณอนุมูลอิสระมากขึ้นเฉียบพลันจนเกินกว่าจะรับมือไหว และหากยิ่งทิ้งไว้เนิ่นนานอวัยวะต่าง ๆ จะเกิดความเสื่อม หรือแสดงออกทางผิวหนังที่เหี่ยวย่น ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไขยากเสียแล้ว
ไม่อยากแก่...ต้องทำอย่างไร
เพื่อไม่ให้ร่างกายต้องแบกรับปริมาณสารอนุมูลอิสระเกินขนาดจนเป็นสาเหตุแห่งความแก่ชรา คุณควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระ ดังนี้
- กิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น ออกกำลังกายหักโหมจนเกิดอาการเหนื่อยหอบอย่างการวิ่งมาราธอน ยกน้ำหนัก
- กินอาหารที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานมาก เช่น ของทอด อาหารกลุ่มไขมันชนิดอิ่มตัว และไขมันทรานส์ คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนที่ให้แคลอรี่สูง หรือกินสิ่งที่มีอนุมูลอิสระสูง เช่น ของปิ้งย่าง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงมลภาวะและสารเคมี นอกจากมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่เราหายใจเข้าไปแล้ว สารเคมีที่ปลอมปนอยู่ในอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลง ผงชูรส สีสังเคราะห์ ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ส่วนแสงแดดที่เราต้องเจอทุกวันก็ส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระบริเวณผิวหนังด้วยเช่นกัน
- เครียด สมองถือเป็นอวัยวะที่ผลิตอนุมูลอิสระสูง เนื่องจากทำงานหนักและมีการเผาผลาญพลังงานมาก เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งสารเคมีบริเวณสมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระเพิ่มมากยิ่งขึ้น มีงานวิจัยของ ดร. ริชาร์ด เดวิดสัน จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งเก็บข้อมูลจากพระลามะ ทิเบต พบว่า การนั่งสมาธิแบบพุทธมหายานช่วยลดความเครียดและเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้แก่ร่างกายได้ เพราะการนั่งสมาธิจะช่วยให้หายใจช้าลง ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นน้อยลง และร่างกายหลั่ง โกร๊ธฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
- พักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนหลับช่วยให้อวัยวะส่วนใหญ่ได้หยุดพัก และช่วยให้อวัยวะที่ต้องทำงานตลอดเวลา เช่น หัวใจ ปอด และสมองใช้พลังงานน้อยลง เป็นการลดการเกิดอนุมูลอิสระได้ทางหนึ่ง ดังนั้น หากพักผ่อนน้อยร่างกายจึงต้องผลิตพลังงานและทำให้เกิดอนุมูลอิสระมากตามไปด้วย
กินเติมสารมหัศจรรย์ต้านแก่
แม้คุณจะพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมก่ออนุมูลอิสระสักเท่าไหร่ แต่เมื่ออายุมากขึ้นประสิทธิภาพในการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกายก็จะลดลง จึงจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมเพื่อลดการเกิดและสะสมสารต้านอนุมูลอิสระไว้เสียตั้งแต่วันนี้
1. แคโรทีนอยด์ เป็นเม็ดสีชนิดละลายในไขมัน ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้เมื่อผ่านการปรุงสุก พบในผักสีส้ม เหลือง แดง เขียวเข้ม เช่น เอพริคอต ฟักทอง แคนตาลูป แครอท พีช บล็อกโคลี่
2. ฟลาโวนอยด์ เป็นเม็ดสีชนิดละลายน้ำ มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระดีกว่าวิตามินซี และอีถึง 50 เท่า พบมากใน ดาร์กช็อกโกแลต องุ่นแดง และชาเขียว
3. แอนโทไซยานิน ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ พบในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
4. โคเอนไซม์คิวเทน ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวี พบได้ในเซลมอน ปลาทู ปลาทูน่า
5. วิตามินซี เป็นวิตามินชนิดละลายน้ำที่เสริมการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ได้แก่ ไขมันชนิดอิ่มตัวและไขมันทรานส์ พบมากในฝรั่ง สตรอว์เบอรรี่ ส้ม เชอร์รี่ เสาวรส
ทับทิม ซึ่งควรรับประทานแบบผลสด เพราะวิตามินซีจะถูกทำลายเมื่อถูกความร้อนและแสงแดด
6. วิตามินอี เป็นวิตามินชนิดละลายในไขมัน ช่วยต้านอนุมูลอิสระในอวัยวะที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ เช่น สมอง ตับ พบมากในน้ำมันพืช โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ถั่วลิสง วอลนัท อัลมอนด์
7. แร่ซีลีเนียม และสังกะสี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญที่เสริมการทำงานของวิตามินอี ช่วยฟื้นฟูความเสื่อมของเซลล์ พบมากในเนื้อแดง อาหารทะเล และถั่วเปลือกแข็ง
นอกจากจะเลือกรับประทานอาหารที่มาด้วยสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อชะลอความเสื่อมโดยรวมแล้ว เรายังสามารถเติมสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อช่วยลดเลือนริ้วรอยได้ โดยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีวิตามินอี วิตามินซี โคเอนไซม์คิวเทน ซึ่งแม้จะช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องทำความเข้าใจในหลักการและวิธีการใช้ที่ถูกต้องด้วย
8. วิตามินหรือสารบำรุงดังกล่าวอาจสูญสลายเมื่อได้รับความร้อน จึงควรเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไว้ในตู้เย็น เพื่อคงคุณค่าของสารบำรุงไว้
9. ไม่ควรทาผลิตภัณฑ์พร้อมกันหลายชนิด เพราะนอกจากผลิตภัณฑ์จะซึมลงสู่ผิวได้ในปริมาณจำกัดแล้ว ส่วนประกอบของครีมที่แตกต่างกันจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของวิตามินหรือสารต้านอนุมูลอิสระในครีมเสื่อมสภาพหรือสูญสลายไป
10. อาจเลือกใช้ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น สตรอว์เบอร์รี่บดผสมกับโยเกิร์ตรสธรรมชาติพอกหน้า เพื่อเพิ่มวิตามินซีให้แก่ผิวโดยตรง
รีบเติมสารต้านอนุมูลอิสระให้แก่ร่างกายเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ความสวยยั่งยืนจากภายใน ส่งผลให้ผิวพรรณที่แลดูอ่อนวัยอยู่คู่กับเราไปนาน ๆ
ที่มา : คอลัมน์ "Beauty & Health" จากนิตยสาร Health & Cuisine (ธันวาคม 2553) |
|
|
|