|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
832
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,470,108
|
|
|
|
|
21 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ทางแห่งความมั่นคงในจิตใจ
[17 กันยายน 2553 10:37 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5450 คน |
|
ในชีวิตทุกวันนี้ ผู้ที่ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ ย่อมเป็นผู้ที่ปฏิบัติไม่ชอบด้วยหลักธรรมอยู่แล้ว
ผู้ที่ปฏิบัติการใด ๆ เพื่อการรักษาและสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ย่อมเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ส่วนตนของคนประเภทนี้เป็นธรรมดา และจิตใจของผู้ที่ปฏิบัติตนไม่ชอบด้วยหลักธรรมย่อมคิดร้ายและทำร้ายต่อผู้ที่รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมได้เสมอ
โดยทั่ว ๆ ไป บุคคลประเภทนี้เป็นผู้ที่ขี้ขลาด ไม่กล้าเผชิญกับความจริง จึงมักใช้วิธีลอบคิดร้ายกล่าวร้าย และทำร้ายลับหลัง หรือซ่อนตัวเองอยู่ในที่มืดเพื่อการทำร้ายได้ฝ่ายเดียวเสมอ
ดังนั้น ผู้ที่พยายามรักษาและสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม จึงควรเตรียมใจไว้ให้พร้อมที่จะรับการคิดร้าย และทำร้ายจากบุคคลดังกล่าว
แล้วเกราะป้องกันอธรรมที่ดีที่สุดก็คือ "การฝึกจิตใจให้ยึดถือและปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริงเป็นหลักสำคัญ" ตราบใดที่ผู้ปฏิบัติธรรมมีการฝึกจิตใจให้อยู่ในระดับที่มีความมั่นคง และแลเห็นธรรมแห่งชีวิตชัดเจนแจ่มใส ตราบนั้นอธรรมย่อมไม่อาจเข้าสู่จิตใจและบังเกิดผลร้ายได้
ใครก็ตามที่ได้เพียรพยายามสร้างสมคุณความดีไว้แล้ว มีผู้อื่นเอาคุณความดีนั้นไปหาหรือไปเป็นผลประโยชน์ส่วนตน ไม่ว่าจะนำไปอ้างเป็นของตนโดยตรง หรือหลอกลวงเอาไปใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาหาผลประโยชน์ก็ตาม เรื่องเช่นนี้ได้พบได้เห็นมาแล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งจากบุคคลย่อย ๆ และจากกิจการใหญ่ ๆ
ผู้ที่ถูกกระทำเช่นนี้ มักจะได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ และคิดว่าตนเองถูกขโมยผลงานบ้าง ถูกผู้อื่นหลอกใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาบ้าง ทำให้คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจผิด เป็นการเสื่อมเสียต่อเกียรติบ้าง ยิ่งคิดมากยิ่งบั่นทอนจิตใจตนเองให้หม่นหมอง บั่นทอนความมีสติและความมั่นคงในจิตใจของตนเอง นั่นคือภาพสะท้อนซึ่งแสดงถึงการที่เราลุ่มหลงและยึดมั่นถือมั่นในวัตถุนิยมที่เกี่ยวกับความดี
ทั้งที่จริง ๆ แล้วความดีอันแท้จริงในใจของเราเองนั่นแหละที่ยังไม่ถึงขั้นสะอาดบริสุทธิ์
"ความดีที่สะอาดบริสุทธิ์จึงอยู่ที่ตัวและใจของเราเอง ไม่มีผู้ใดอื่นจะสามารถเอาไปไหนได้เลย"
ถ้าจิตใจเราไม่หวั่นไหว เกาะเกี่ยว หรือลุ่มหลงมัวเมาอยู่เพียงคำชมคำสรรเสริญ เราก็จะมีสติที่จะได้โอกาสดี เรียนรู้ถึงความดีความชั่วของคนผู้ฉวยโอกาสเหล่านั้น ซึ่งปกติสิ่งชั่วเหล่านี้จะถูกปกปิดไว้ในส่วนลึกของจิตใจคน หากการแสดงออกทำให้เราเกิดอารมณ์และมีการตอบโต้ด้วยวิธีใดก็ตาม ก็จะดึงเราลงไปร่วมพัวพันกับสิ่งชั่วนั้นด้วย ผู้ที่บริสุทธิ์และไม่เกิดอารมณ์ส่วนตัวจึงเป็นผู้ที่ปลอดโปร่งและปลอดภัยเสมอ
การที่อาจมีผู้อื่นเข้าใจผิด คิดว่าเราใช้คุณความดีในอดีตมาเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ ซึ่งเรามิได้เป็นเช่นนั้น แต่ขอให้เข้าใจว่า การถูกกล่าวหาก็ดี การเข้าใจผิดของคนบางคนที่คิดว่าจะเป็นผลเสียต่อเราก็ดี มันเป็นอดีตที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เราต้องยอมรับอดีตที่ได้เป็นไปแล้ว เพราะกาลเวลาไม่มีการย้อนหลังให้กลับไปเริ่มต้นใหม่ได้
หนทางที่ดีที่สุดเพื่อประโยชน์แห่งชีวิตเรา คือ การฝึกใจให้ได้เข้าใจ และยอมรับว่านั่นคือการไม่ละเอียดอ่อน ไม่รู้เท่าทันต่อการใช้ชีวิตของเราเอง และต้องรับสภาพด้วยจิตใจที่มั่นคง ไม่อ่อนแอ ไม่เอาใจผูกพันเจ็บแค้นต่อใคร ๆ เพราะนั่นเป็นการทำลายพลังใจ และโอกาสก้าวหน้าในอนาคตของตนเอง
ที่สำคัญ จงเพียรทำแต่ความดีต่อไปในอนาคต และถืออดีตเป็นบทเรียนชีวิตต่อไป ฐานของพลังแห่งความดีซึ่งมีอยู่เดิมแล้วย่อมจะสามารถลบรอยด่างซึ่งผู้อื่นก่อไว้ได้เสมอ
ผู้มีธรรมอยู่ในใจย่อมเป็นผู้ที่มีสติ มีความสุขุมรอบคอบ และเข้าใจชีวิตด้วยเหตุผล เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลทั้งในมุมที่สุจริตและไม่สุจริต ไม่เอาจิตใจไปเกาะเกี่ยวหรือยึดถือต่อการคิดร้าย กล่าวร้ายหรือทำร้ายของคนจำพวกอธรรมทั้งหลาย
บุคคลผู้มีคุณธรรมจึงสามารถรักษาความปลอดโปร่งในใจได้อย่างเต็มที่ และมองเห็นทางที่จะมุ่งสร้างงานให้บังเกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคตได้ชัดเจนพอสมควร
ที่มา : จากหนังสือ "ธรรมะ ธรรมชาติ" โดย ศ.ระพี สาคริก (Volume 1 - จงมองทุกสิ่งในด้านดี) |
|
|
|