|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
9
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
842
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,470,118
|
|
|
|
|
21 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้ใหญ่ที่แท้
[21 กันยายน 2553 14:38 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5727 คน |
|
"ผู้ที่อายุสูงนั้น มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้ที่เป็นผู้ใหญ่นั้น มีอยู่ไม่มากนัก"
ประโยคดังกล่าวนี้ ฉันยกมาจากการปาฐกถาธรรมของพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพของประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่ออธิบายความหมายของคำว่า "ผู้ใหญ่" ให้ลึกซึ้ง ยิ่งกว่าเพียงการหมายถึง "ผู้ที่สูงอายุ" เท่านั้น
จากหลักธรรมที่ว่า จงสงบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมนั้น ฟังดูแล้วเสมือนปฏิบัติได้ง่าย แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนัก ถ้าหากจิตใจขาดพื้นฐานที่สะอาดและสงบ
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติของความเป็นผู้ใหญ่ได้นั้น ควรจะได้ปฏิบัติตนอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรม 3 ประการดังกล่าว คือ คิดในลักษณะที่ดีงาม กล่าวในสิ่งที่ดีงาม และปฏิบัติในแนวทางที่ดีงาม
"คนเรา...จะคิดในลักษณะที่ดีงามได้ ใจต้องสะอาดและมีความสงบ ไม่มีความเห็นแก่ตัว หรือหวังแต่จะกอบโกยผลประโยชน์ เพื่อตัวเอง นี่เอง...ใจจึงจะมีความสงบ เกิดความมีสติขึ้นในใจ ควบคุมจิตใจตนเองไม่ให้ฟุ้งซ่าน"
ใครที่มีจิตใจขาดความสงบอยู่ในส่วนลึก ย่อมมีวันที่จะแสดงออกให้เห็นได้ด้วยการกล่าวหรือการกระทำ ในมุมกลับ ถ้าหากใจเราสะอาดและสงบ เมื่อถูกกล่าวหรือถูกกระทำในทางที่ไม่ดีไม่งาม ผู้ที่ใจสะอาดและสงบก็ย่อมสงบใจได้ ไม่โต้ตอบหรือต่อเรื่องราวให้ยืดยาวออกไป ส่วนผู้ที่จิตใจไม่สงบมักจะขาดความอดทน เนื่องจากจิตใจไม่บรสุทธิ์ แล้วยิ่งรู้สึกร้อนตัวร้อนใจต่อเรื่องราวออกไปเท่าใด ก็ยิ่งขาดสติ และแสดงสิ่งที่อยู่ในส่วนลึกออกมาเรื่อย ๆ
ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า การคิดในลักษณะที่ดีงาม เป็นหัวใจของการกล่าวหรือการปฏิบัติที่ดีงาม
สำหรับผู้ที่มีความเป็นผู้ใหญ่ที่แท้ จึงย่อมต้องเย็นด้วยความคิด เย็นด้วยการพูด และเย็นด้วยการปฏิบัติ เพื่อเป็นที่พักพิงทางจิตใจให้แก่ผู้น้อยที่อาศัยร่มเงา เพื่อการยึดถือเป็นหลักในการมุ่งไปสู่การกระทำคุณความดีได้
ที่สำคัญ ถ้าผู้ใหญ่สามารถเป็นหลักที่ดีให้แก่ผู้น้อยได้ ความเป็นผู้ใหญ่ที่ดีย่อมแผ่กระจายไปสู่สังคมนั้น ๆ และจะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปของสังคม
ที่มา : จากหนังสือธรรมะ ธรรมชาติ โดย ศ.ระพี สาคริก |
|
|
|