|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
48
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,484,974
|
|
|
|
|
3 มกราคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
"มะเร็งรังไข่" ภัยร้ายย่องเงียบ
[13 ตุลาคม 2553 15:11 น.]จำนวนผู้เข้าชม 7156 คน |
|
การเป็นผู้หญิงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อันตรายรอบด้าน มิหนำซ้ำโรคภัยยังแอบซุ่มโจมตีไม่ให้ซุ่มให้เสียง โดยเฉพาะมะเร็งในสตรี ไหนจะมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งรังไข่ เนื้อร้ายก้อนสุดท้ายนี้อาจพบเจอไม่บ่อย รั้งท้ายมะเร็งของผู้หญิง แต่กลับกลายเป็นว่า พอตรวจเจอปุ๊บกลับเจอในระยะสุดท้าย บางรายเกินเยียวยา ได้แต่ทำใจ
"มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 5 ของมะเร็งที่พบในสตรี สาเหตุหลักมากจากกรรมพันธุ์"
รศ.นพ.สุวิทย์ บุณยะเวชชีวิน ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายแพทย์ประจำโรงพยาบาลบีเอ็นเอช ให้ข้อมูลว่า
"รังไข่นอกจากสร้างไข่แล้ว ยังผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่า Estrogen และ Profesterone รังไข่ มีหน้าที่ผลิตไข่เพื่อผสมพันธุ์กับอสุจิของผู้ชาย และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
การตกไข่ หมายถึง การเกิดแผลที่รังไข่ (ดังนั้น จึงควรกินขมิ้นชันวันละ 3 - 5 แคปซูลทุกวัน) และโดยปกติจะมีการกระตุ้นให้เกิดแผลทุกเดือน เซลล์จากแผลพวกนั้นอาจจะมีการแบ่งตัวกลายเป็นมะเร็งได้
กรรมพันธุ์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเป็นมะเร็งรังไข่ แม้แต่การโดยแป้งบริเวณน้องหนูยังเป็นอีกสาเหตุเช่นกัน
"เราพบประวัติผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่ ญาติพี่น้อง พ่อแม่ ครอบครัวของผู้ป่วยเป็นมะเร็ง ดังนั้น สาเหตุหลักคาดว่า มาจากกรรมพันธุ์ ส่วนสาเหตุอื่นเราไม่ทราบอย่างแน่ชัด บางคนสันนิษฐานว่า การโรยแป้งบริเวณอวัยวะเพศทำให้แป้งเข้าสู่ช่องคลอดแล้วซึมเข้าไปกระตุ้นรังไข่
นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น การที่เราให้ฮอร์โมนไปกระตุ้นให้ไข่ตก เช่น การกระตุ้นการมีบุตรนั่นเอง"
คุณหมอส่ายหน้าเมื่อถามถึงการป้องกัน
"สาเหตุการเกิดของมะเร็งรังไข่นั้น ไม่ทราบสาเหตุอย่างชัดเจนซึ่งต่างจากมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นการป้องกันจึงทำได้ยากมาก"
วิธีที่ดีที่สุด คือ การไปตรวจภายในสม่ำเสมอ ปีละครั้ง หากเจอจะได้รีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณหมอบอก
"หากพบวาสเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะแรกจะใช้วิธีผ่าตัด หากเป็นระยะท้าย ๆ มะเร็งลุกลามแล้ว เราจำเป็นต้องใช้เคมีบำบัด ร่วมด้วยการฉายแสง"
"ปัจจุบันมะเร็งรังไข่พบว่าผู้หญิงเป็นกันมาก และเปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นสูงมาก เนื่องจากคนไข้จะมารักษาอาการในระยะสุดท้ายนั่นเอง" คุณหมอให้สังเกตสัญญาณอันตรายมะเร็งมาเยี่ยมเยือนรังไข่
"หากพบว่าเกิดอาการแน่นท้อง อึดอัดท้อง บางรายสงสัยว่ามีก๊าซในท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย มีอาการเบื่ออาหาร รู้สึกแน่นท้องหลังจากรับประทานอาหาร น้ำหนักขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ และเลือดออกทางช่องคลอด
หากผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร สุขภาพทรุดโทรม น้ำหนักตัวลด อาการเหล่านี้ถือเป็นอาการของมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้ายแล้ว นอกจากนี้ ยังมีอาการหายใจไม่สะดวกร่วมด้วย เพราะมะเร็งได้กระจายไปทั่วตัว
ในบางรายมะเร็งมีการโตเร็วมา เนื้อร้ายก้อนนั้นก็อาจจะแตกในท้องส่งผลให้เกิดการตกเลือดในท้อง และเสียชีวิตในที่สุด"
คุณหมอเชื้อเชิญคุณผู้หญิงมาตรวจภายในทุกปีเพื่อป้องกันมะเร็งรังไข่
"วิธีการป้องกัน และตรวจสอบคือ ต้องเข้ามาตรวจภายในเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ จะมีการตรวจเช็คด้วยวิธีเอน เช่น การอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ทางหน้าท้องช่วย หรือเจาะเลือดโดยการใช้สารเคมมีบางชนิดจะช่วยบอกได้ว่าเป็นมะเร็งรังไข่หรือไม่"
อุปสรรคการตรวจมะเร็งรังไข่ คือ จะหาเนื้อร้าย "เจอ หรือ ไม่" เพราะอยู่ในช่องท้องตรวจลำบาก
"การตรวจมะเร็งปากมดลูกตรวจง่ายมาก เพราะคลำ และเห็นได้ง่าย โอกาสพบสูงกว่ามะเร็งรังไข่ ขณะที่การตรวจมะเร็งรังไข่ต้องตรวจในช่องท้อง การตรวจจะยากกว่ามะเร็งปากมดลูก กว่าจะตรวจอัลตราซาวด์ คัดกรอง เราจะไม่มีการคัดกรองเท่ากับมะเร็งปากมดลูก"
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ชะล่าใจรอให้เกิดอาการจึงมาตรวจ ซึ่งมันช้าไปเสียแล้ว
"รังไข่อยู่ในท้องหากเอาเซลล์มาตรวจค่อนข้างลำบาก เราจะได้เห็นแค่เวลาอัลตราซาวด์ ซึ่งการตรวจนั้นจะค่อนข้างดูยาก ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นมะเร็ง อีกอย่างจะเอาผู้หญิงมาคัดกรองทุกคนคงจะลำบาก พอมีอาการรุนแรงเลือดออกถึงได้มาตรวจ ซึ่งก็ช้าไปเสียแล้วไม่ทันการณ์"
***เกร็ดฯ ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่***
- จากผลการวิจัยการรับประทานยาคุมกำเนิดโดยเฉพาะผู้ที่รับประทายยาคุมมาเป็นเวลานานช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง
- การทำหมันหลังคลอดหรือการตัดมดลูกจะลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่
- การตั้งครรภ์ในขณะที่อายุน้อยกว่า 30 ปี และเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองเป็นเวลานานลดความเสี่ยงเช่นกัน
- การรับประทานอาหารมันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ จากการศึกษาของสมาคมโรคหัวใจ พบว่า คนอ้วนจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่มากกว่าคนผอมร้อยละ 50
- การผ่าตัดเอารังไข่ออกเพื่อป้องกันมะเร็งนั้น จะกระทำในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งรังไข่ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
|
|
|
|