|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
9
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
34
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,484,960
|
|
|
|
|
3 มกราคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สายตาผิดปกติ
[20 ตุลาคม 2553 15:12 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6615 คน |
|
สายตาผิดปกติ (Refractive Error)
สาเหตุ : ตาปกติมองเห็นชัดเจน ภาพที่มองเห็นจะโฟกัสเป็นจุดเล็กตรงตำแหน่งจุดรับภาพ ส่วนคนที่สายตาผิดปกติ ภาพที่มองเห็นจะไม่โฟกัสเป็นจุดเล็กที่จุดรับภาพ โดยถ้าโฟกัสหน้าจุดรับภาพเรียก สายตาสั้น (Myopia) ถ้าโฟกัสหลังจุดรับภาพเรียก สายตายาว (Hyperopia)
ถ้าโฟกัสไม่เป็นวงกลมเล็ก เรียกสายตาเอียง (Astigmatism) ปกติเด็กแรกเกิดลูกตามีขนาดเล็กจึงเป็นสายตายาว แต่เด็กมีความสามารถในการมองเพ่งดีมากจึงไม่มีปัญหาการมองเห็น ต่อมาอายุมากขึ้น ลูกตาขยายโตขึ้นสายตายาวจึงลดลงและมีแนวโน้มสายตาสั้น โดยเฉพาะ ถ้าเด็กมีการใช้สายตาไม่ถูกวิธีหรือกรรมพันธุ์มีสายตาสั้น
สายตาสั้น (Myopia) คือ ภาวะมองไกลไม่ชัดเจน แต่มองใกล้ชัด แบ่ง 2 กลุ่ม คือ สายตาสั้นไม่มาก ซึ่งพบในคนทั่วไป ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ สายตาสั้นมาก มากกว่า 6.00 ไดออฟเตอร์อาจเกิดจากลูกตามีขนาดยาวขึ้น ปัญหาอาจพบการเสื่อมจอรับภาพ หรือจอตาฉีกขาด เนื่องจากจอตาบางจากการยืดยาวของลูกตา
สายตายาว (Hyperopia) คือ ภาวะมองไกลและใกล้ไม่ชัดเจน
สายตาเอียง (Astigmatism) คือ ภาวะที่มองภาพแกนหนึ่งชัดแต่ภาพอีกแกนที่ตั้งฉากไม่ชัดเจน
สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) คือ ภาวะที่ตาไม่สามารถมองภาพระยะใกล้ให้ชัดได้ สาเหตุเนื่องจากกล้ามเนื้อตาในการเพ่งมองใกล้ หรือเลนส์ตายืดหยุ่นลดลง จนไม่สามารถโฟกัสภาพที่ระยะใกล้ให้ชัดเจนได้
การป้องกัน : การใช้สายตาให้ถูกวิธีได้แก่ แสงสว่างเพียงพอ ระยะการมองเหมาะสมและพักสายตาเป็นระยะ ปัจจุบันยังไม่มียาหยอดตาใดที่ป้องกันหรือชะลอสายตาผิดปกติได้
การรักษา : แว่นสายตาเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้มองเห็นดีขึ้นและเป็นวิธีปลอดภัยที่สุด การใส่แว่นให้เหมาะสมกับสายตา โดยต้องวัดสายตา ส่วนการใส่แว่นตลอด หรือการใส่บางเวลา ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสายตา แต่แนะนำให้ใส่เพื่อให้การมองเห็นชัดเจน ไม่ต้องเพ่ง
คอนแทคเลนส์เป็นทางเลือกในการแก้ไขสายตา ข้อดีไม่ต้องใส่แว่นสายตาให้รำคาญทัศนวิสัยการมองเห็นดีขึ้นโดยเฉพาะ กรณีสายตาผิดปกติสองข้างต่างกันมาก จนไม่สามารถใส่แว่นได้ ข้อเสีย ต้องดูแลความสะอาด และอาจพบตาแห้ง หรือแพ้สิ่งสะสมในคอนแทคเลนส์
การผ่าตัดเลเซอร์แก้ไขสายตาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะการรักษาส่วนใหญ่มักถาวร สายตาควรต้องคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีโรคทางตาที่เป็นข้อห้าม มีความประสงค์และยอมรับความเสี่ยงที่อาจพบได้ ถึงแม้จะน้อยก็ตาม
การปฏิบัติตัว : บุคคลที่มีสายตาเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ( >1.00 D / ปี) มีอาการปวดตา หรือมีอาการตามัวมองไม่ชัดแม้ได้รับการแก้ไข โดยแว่นตาควรได้รับการตรวจวัดสายตาซ้ำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา และควรตรวจตาอย่างละเอียด โดยจักษุแพทย์ตรวจสุขภาพตา เพื่อตรวจหาโรคตาที่พบร่วมกับสายตาผิดปกติบ่อย เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอตาฉีกขาด หลุดลอก จอตาเสื่อมเร็ว
ที่มา : ศูนย์รักษาตา ท็อปเจริญจักษุ |
|
|
|