|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
6
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
145
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,476,836
|
|
|
|
|
27 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ออกกำลังเพิ่มพลังชีวิต
[14 มกราคม 2554 10:16 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5386 คน |
|
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า การออกกำลังส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจได้อย่างอัศจรรย์ เช่น
- ทำให้อายุยืนยาว กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง โรคหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิต โรคอ้วน อัลไซเมอร์ กระดูกพรุน โรคเครียด โรคซึมเศร้า
- ทำให้กระดูกและข้อต่อมีความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อแข็งแรง
- กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และระบบหายใจ
- เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต จึงทำให้ดูอ่อนกว่าวัย
- ขจัดสารพิษที่คั่งค้างอยู่ในร่างกายให้ออกมาทางเหงื่อ
- ช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) และลดไขมันชนิดเลว (LDL)
- ป้องกันอาการท้องผูก ควบคุมน้ำหนัก และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
ให้ใจเต้นตูมตามยามออกกำลัง
การออกกำลังกายมีหลายรูปแบบ แต่รูปแบบการออกกำลังกายที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ร่างกายมากที่สุดก็คือ การออกกำลังแบบแอโรบิก เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก เทนนิส ฯลฯ หลักง่าย ๆ ในการออกกำลังแบบแอโรบิกเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด คือ
- ควรเป็นการออกกำลังที่หนักและนานพอ ให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับแต่ละคน โดยการเอา 220 ลบด้วยอายุของตัวเอง เพื่อให้ได้ระดับอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ส่วนอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 85% ของอัตรการเต้นของหัวใจสูงสุด เช่น ถ้าเราอายุ 40 ปี ก็จะได้สูตรคำนวณดังนี้ (220 - 40 = 180 อัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม คือ 153 ครั้งต่อนาที)
- ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 20 นาที
ทำงานเพลินแถมเบิร์นแคลอรี
เราสามารถออกกำลังไปพร้อม ๆ กับการทำกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ ได้ไม่ยาก หากเราจะใส่ใจและให้โอกาสร่างกายได้ยืดเหยียดบ้าง เช่น
- ขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์ การเดินขึ้นบันไดเพียง 1 นาทีช่วยเผาผลาญพลังงานมากกว่าการยืนอยู่เฉย ๆ ได้ถึง 9 เท่า
- การลุกขึ้นเดิน เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถใช้พลังงานไปเกือบ 4 กิโลแคลอรีต่อนาที แต่การนั่งเฉย ๆ ใช้พลังงานเพียง 1 กิโลแคลอรีเท่านั้น
- เขย่งปลายเท้าขณะยืน ผลพลอยได้จากการกระชับเรียวขา คือการที่ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้นถึงนาทีละ 10 กิโลแคลอรี
- เหยียดขาตึงบริเวณต้นขา ได้ทั้งต้นขากระชับ แถมยังช่วยเผาผลาญพลังงานได้มากถึง 10 กิโลแคลอรีอีกด้วย
ที่มา : หนังสือ "สุขภาพดี ราศีจับ" โดย MK |
|
|
|