|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
5
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
799
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,470,075
|
|
|
|
|
21 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เคลียร์เรื่องโลน-เริม
[5 สิงหาคม 2553 11:49 น.]จำนวนผู้เข้าชม 15446 คน |
|
เชื่อไหมว่า "โลน" และ "เริม" มีความเหมือนกันและต่างกันในสองโรคนี้ เป็นอย่างไร ติดตามครับ...
ที่ว่าเหมือน คือ ทั้งสองโรคนี้เกิดบริเวณ "อวัยวะเพศ หรือตำแหน่งใกล้เคียงกัน" และต่างก็เป็น "โรคที่ติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์" แต่ถ้า "เริม" เกิดในตำแหน่งอื่น อาจไม่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็ได้
แต่ที่ต่าง คือ "ตัวโลน" เกิดจากปรสิตภายนอกตัวเล็กๆที่ดูดเลือดจากผิวหนัง สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ตัวจะเล็กอ้วนกลมกว่าเหา มีกล้ามดูคล้ายก้ามปู จึงมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า "crab louse" มักจะอาศัยบริเวณขนที่อวัยวะเพศ แต่อาจจะพบได้ที่อื่น เช่น บริเวณขนตา ขนคิ้ว เป็นต้น
ส่วน "เริม" เกิดจากเชื้อไวรัสตัวเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าที่ชื่อ "herpes" แต่สามารถเห็นผลของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคบริเวณผิวหนังได้
รู้อย่างไรว่าเป็น "โลน" หรือ "เริม"
โรคโลน จะมีอาการคัน โดยตัวโลนมักจะสร้างความรำคาญมากกว่าก่อโรคร้ายแรง ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นเจ้าตัวโลนไต่ช้าๆด้วยตาเปล่า
โรคเริม จะมีลักษณะที่สำคัญ คือ มีกลุ่มตุ่มน้ำใสขนาดเล็กๆหลายุ่มรวมกัน อาจแตกออกเป็นแผลตื้นๆ เจ็บ แสบ หรือกลายเป็นตุ่มหนอง "เริม" พบบ่อยที่บริเวณริมฝีปาก และ อวัยวะเพศ หรืออาจพบได้ที่ก้นกบ หรือแผ่นหลังส่วนล่าง นิ้วมือ หรือบริเวณศรีษะทารกแรกเกิด ซึ่งคลอดออกจากช่องคลอดของมารดาที่เป็นเริมอยู่ที่อวัยวะเพศ
รักษาอย่างไร
โรคโลน วิธีง่ายที่สุดในการกำจัดโลน โดยการโกนขนที่บริเวณนั้นออกให้หมด และทำความสะอาดด้วยยากำจัดโลน หรือ เหา นอกจากนี้ ยังควรระวังเรื่องการแพร่กระจายไปยังบุคคลใกล้เคียงด้วย
โรคเริม เป็นโรคที่ไม่หายขาด ผู้ป่วยอาจเป็นๆหายๆหลายครั้ง "การรักษาเป็นไปแบบประคับประคอง(รักษาไม่หายขาด)" แต่ในกรณีที่รุนแรงหรือเป็นมาก อาจใช้ยาต้านไวรัสเริม ซึ่งควรพบแพทย์ โดยเฉพาะในรายที่เป็นโรคเริมซ้ำๆบ่อยครั้ง
วิธีแก้ไขถ้าเป็นบ่อย
ควรมาพบแพทย์ ถ้ามีโลนเป็นซ้ำบ่อยมาก ควรต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการมีคู่นอนหลายคน ควรต้องพิจารณาถึงการรักษาคู่นอนร่วมไปด้วยตั้งแต่แรก เพื่อไม่ให้ติดต่อกลับซ้ำกันไปๆมาๆ
ส่วนเริม ถ้าเป็นบ่อยมากๆแนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อรับยากดอาการไม่ให้กำเริบอีก และต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การพักผ่อนน้อย นอนดึก ความเครียด ลฯล
ทำอย่างไรไม่ให้เป็น โลน-เริม
1.ดูแลสุขอนามัย โดยระวังการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคทั้งสองนี้ โดยเฉพาะสำหรับโรคเริมผิวหนังที่มีรอยแกะ เกา ขีด ข่วน สามารถติดต่อจากตุ่มน้ำของผู้ป่วยได้ง่ายกว่าผิวหนังปกติ
2.ระวังการมีเพศสัมพันธ์ โดยหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคโลน ทั้งนี้ โรคโลนสามารถติดต่อได้แม้ใส่ถุงยางอนามัย ฉะนั้น จึงยังไม่ปลอดภัยหากมีเพศสัมพันธ์
3.หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ ร่วมกับผู้ที่ป่วยเป็นทั้งโรคโลนและเริม โดยเฉพาะสิ่งของที่ต้องมีการสัมผัสกับ ผิวหนัง เช่น ผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน หรือสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ
ถ้าเข้าข่ายทั้งสองโรคนี้ ผู้ป่วยอาจเป็นๆหายๆ การวินิจฉัยแต่แรกเริ่มควบคู่ไปกับการที่ผู้ป่วยดูแลสุขอนามัยของตนเอง และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็จะหายวันหายคืน...
บทความโดย : อ.นพ. สุมนัส บุณยะรัตเวช ภ.ตจวิทยา
Manger Online
|
|
[ +zoom ]
|
โรคเริมที่บริเวณดวงตาอาจทำให้ตาบอดได้ ยิ่งถ้าเป็นบริเวณอวัยวะเพศตอนใกล้คลอดอาจจะทำให้ติดต่อไปสู่ทารกหรืออาจจะทำให้ทารกตาบอดได้... |
|
[ +zoom ]
|
โรคเริมบริเวณริมฝีปากอาจจะติดจากการใช้ภาชนะร่วมกับผู้ที่กำลังเป็นเริมที่ริมฝีปากหรือในปากได้...ดังนั้นไม่ควรใช้ช้อน แก้วน้ำ หลอด ร่วมกับผู้อื่น |
|
[ +zoom ]
|
โรคเริมที่ริมฝีปากที่อาจจะติดต่อจากการจูบปากกับผู้ที่กำลังเป็นโรคเริมที่ริมฝีปากได้... |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|