เมื่อก่อนหอยจอบ หรือหอยซองพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์: มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ Pinna bicolor Gmelin, 1791:Atrina pectinata
Linnaeus,1758 และ Atrina vexillum Born,1778
ชื่อสามัญ: Bicoloured pinna shell, Comb pen shell
ลักษณะทั่วไป เป็นหอยที่มีขนาดใหญ่ เปลือกด้านนอกมีสีดำ เปลือกด้านในมีสีขาวเป็นมุก ส่วนด้าน
หน้าจะกว้าง ส่วนด้านหลังจะกว้างกว่าด้านท้ายซึ่งจะเรียวแหลม
ขนาด ขนาดใหญ่สุดมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
การกินอาหาร กรองอาหารขนาดเล็ก ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ ซากพืช
และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย
แหล่งที่อยู่อาศัย ชอบอาศัยอยู่ตามเกาะแก่งที่มีพื้นทะเลเป็นทรายและมีน้ำทะเลใส
การแพร่กระจาย พบตามเกาะต่างๆ ทั่วไปในอ่าวไทย ได้แก่ เกาะเต่า เกาะคราม เกาะตาหม้อ
เกาะจาน และพบทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย แถวเกาะสีชัง จ.ชลบุรีก็เคยมีมากในสมัยก่อน
ประโยชน์ ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด เป็นหอยที่ค่อนข้างหายาก นิยมนำกล้ามเนื้อมาบริโภค
ส่วนของเปลือกนำไปทำเป็นเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ
การเลี้ยง ยังไม่มีการเพาะเลี้ยงส่วนใหญ่ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งทะเลจะเก็บจากแหล่งธรรมชาติ
และนิยมนำมาบริโภค เป็นหอยที่น่าสนใจที่น่าจะนำไปทำการศึกษาในด้านการเพาะเลี้ยง
บริเวณหน้าหาด วงศ์อมาตย์ จะเยอะมากครับตอนนั้นชอบลงไปเล่นน้ำ และบริเวณหน้าหาดจะมีหินกลางน้ำห่างจากฝั่งออกไปประมาณ 30-40 เมตรเห็นจะได้ครับ ถ้าน้ำลงจะเดินไปถึง
ในช่วงที่เดินไปก็ไปเหยียบเอาหอยจอบหน่ะสิครับ มันคมมากครับ มันจะโผล่ขึ้นมาจากทรายประมาณ2-3 นิ้วครับ เลยดึงมันขึ้นมาดู โห...มันฝังลงในทรายอีกเป็นคืบ หอยจอบ ก็คล้ายๆหอยแมลภู่ครับแต่ตัวโตมากและจะออกลักษณะยาว บางตัวยาวจากผ่ามือถึงข้อศอกเลยหล่ะครับ พอแกะออกมาต้องเอาเนื้อทิ้งครับ กินเฉพาะที่เป็นเอ็นขาวๆ บางตัวเอ็นโตเท่าหัวนิ้วโป้งมือเลยครับ เลยเอาไปถามญาติภรรยาดูว่ามันคือหอยอะไร? (เด็กอีสานไม่รู้ครับช่วงนั้น) ญาติแฟนบอกหอยจอบมันกินได้นะ...เอ็นมันผัดกระเพรา ผัดฉ่าอร่อยเท่านั้นแหละครับในใจนึกทันทีว่าได้กับแก้มเหล้าอีกแล้วเรา...555 อย่ากระนั้นเลยว่างๆดำหาหอยจอบดีกว่า เพราะวันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันก๊งสุรากับญาติภรรยาอยู่แล้ว
ว่าแล้วผมเลยจัดแจงหาหน้ากากดำน้ำหาหลัว(คนชลบุรีเรียกหลัวแต่ผมเรียกเข่งครับ) และห่วงยางลอยน้ำเพื่อเอาไว้วางหลัวเอาเชือกผูกเอวยาวสัก 3-4 เมตรแล้วอีกด้านหนึ่งนำไปผูกไว้กับห่วงยางพอลงถึงน้ำได้ก็ว่ายลอยตัวมองลงไปในน้ำที่ใสแจ๋ว เห็นหอยจอบโผล่ขึ้นมา สักนิ้ว สองนิ้วก็ดำลงไปโยก... โยก... โยก แล้วก็โยก...จนได้ตัวหลุดขึ้นมาจากพื้นทรายแล้วค่อยโผล่ขึ้นมาโยนหอยไว้ในหลัวครับ ทำอย่างนี้เรื่อยแหละครับจนหิวข้าวนั้นแหละถึงจะขึ้น...ฝั่งไปหาข้าวกิน ทีนี้พอได้หอยจอบมากพอแล้ว ก็นำไปแซะเอาเฉพาะ เอ็นหอยจอบครับ ส่วนเนื้อที่เหมือนเนื้อหอยแมลงภู่ ผมไม่เคยนำมากินสักที บางคนบอกกินไม่ได้ บางคนบอกกินได้ ในช่วงฤดูฝนในบางแหล่ง เมื่อรับประทานหอยกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการเมาหรือท้องเสียได้ เนื่องจากหอยกรองกินแพลงก์ตอนที่มีพิษเข้าไปครับ เลยตัดปัญหาไม่กินเลยครับ...
ดำตั้งนานแกะเอาเอ็นได้นิดเดียวเองครับ ถ้าดำได้ 30 ตัวก็ได้เอ็นหอย 30 ต่อน...เอ้ย...เอ็น ไม่ใช่ต่อน...แฮะ...แฮะ (ภาษาบ้านเกิดแค็ดแร็ดออกมาเลย...) ทีนี้ก็ได้กับแก้มเพิ่มแล้วหล่ะครับ...เอ็นหอยจอบลวกจิ้ม มือก็เหมือนกับโดนมีดบาด เพราะโดนเปลือกหอยและเพรียงที่ติดบนตัวหอยบาดเอาแต่ก็แซบมากครับ...เดี๋ยวนี้ไม่มีหอยจอบให้ดำแล้วครับ
|