|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
10
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
807
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,470,992
|
|
|
|
|
22 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรคของเหงือกและฟันในสุนัข Periodontitis in Dogs
[13 กรกฎาคม 2553 17:54 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5993 คน |
|
โรค ปริทนต์ (Periodontitis)
เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวฟัน, เนื้อเยื่อของเหงือก, เอ็นที่ยึดเหงือกและฟัน, โพรงรากฟัน, และ เนื้อเยื้อคล้ายกระดูกที่คลุมรากฟันเพื่อช่วยยึดเกาะรากฟัน เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในสุนัข สาเหตุเกิดจากแบคทีเรียที่สร้างพลากค์ (Plaque) เคลือบฟัน
|
|
โรคปริทนต์เป็นสาเหตุในการสูญเสียฟัน ในคนเรียกโรคนี้ว่าฆาตกรเงียบที่ทำลายโครงสร้างพื้นฐานของฟัน
โรคปริทนต์ยังเป็นโรคที่อาจก่อให้เกิดโรคปอดบวมเนื่องจากการสำลักในคน โดยเชื้อแบคทีเรียจะเข้าทางกระแสเลือดเมื่อเราเคี้ยวอาหารหรือแปรงฟัน แต่ปริมาณเชื้อจะเข้าไปน้อยมากและยังไม่ทราบว่าไปก่อให้เกิดโรคอะไรใน ร่างกายบ้าง และโรคปริทนต์ยังสามารถทำให้เกิดอาการกรามหักได้
|
โรคปริทนต์พบได้ในสุนัขทุกวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปและ พบมากถึง 80 – 90% ของสุนัข มีโรคหลาย ๆ โรคที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคปริทนต์ เช่น เหงือกอักเสบ (Gingivitis) เป็นการอักเสบของเหงือก และเป็นสาเหตุเริ่มต้นของโรคปริทนต์ได้ แต่โรคเหงือกอักเสบการอักเสบจะไม่มากและลึกเท่าโรคปริทนต์ ฝีที่รากฟัน (Periapical abscess) เป็นฝีที่อยู่รอบ ๆ โคนรากฟัน ทำให้ฟันแตกและเจ็บปวดกรามหัก อาจเป็นสาเหตุเนื่องมาจากโรคปริทนต์ ฟันอักเสบ (Endodontic)
|
อาการ
ปากเหม็น, มีเลือดออกที่เหงือก, ฟันร่วง ,มีแผลในปาก ,ฟันโยก ,เหงือกรุ่น ,เบื่ออาหาร
|
การวินิจฉัย
ตรวจร่างกายและซักประวัติ โดยเฉพาะช่องปาก โดยเฉพาะตอนวางยาสลบ ฉายภาพรังสีช่องปาก เพื่อดูความสมบูรณ์ของฟันและรากฟัน ดูขอบเหงือกว่ามีการร่นหรือไม่และดูการอักเสบของรากฟันและโพรงรากฟันอาจต้อง วางยาในรายที่ต้องการทำประวัติของฟันอย่างละเอียด โดยใช้โพรบ (Probe) ตรวจดูขอบเขตของเหงือก และ ตรวจว่ามีโพรงที่เหงือกหรือไม่
ตรวจค่าเคมีในเลือด (Biochemical profile) ,ตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) ,ตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) ,เพาะเชื้อแบคทีเรีย (Anaerobic culture) โดยเพาะหาเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน ในรายที่เป็นเรื้อรังเพื่อหายาปฏิชีวนะที่เหมาะสม |
การรักษา
ถอนฟันที่โยกหรือฟันที่เสียส่วนที่ยึดเกาะรากฟันกับกระดูกไปแล้ว 75% อาจให้ ยาปฏิชีวนะก่อนการถอนฟัน 1 ชั่วโมง
โดยเฉพาะยาที่มีผลกับเชื้อแบคทีเรียประเภทแกรมลบที่พบมากในช่องปาก จากนั้นจึงทำการวางยาสัตว์พ่นยาฆ่าเชื้อที่ช่องปากก่อนการถอนฟันโดยใช้ 0.12% Chlorhexidine เพื่อป้องกันเชื้อที่ฟุ้งมากับอากาศขูดหินปูนด้วยเครื่องขูดหินปูน ควรขูดให้ลึกลงไปใต้เหงือกเล็กน้อย โพรงกระดูกที่รากฟันอยู่อาจต้องมีการเย็บปิด ซึ่งต้องกำจัดเชื้อโรคให้หมดก่อนเย็บปิด เพราะเชื้ออาจจะดื้อยาได้ให้ยาอย่างน้อยสองสัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อ |
|
|
|
|
|