หน่อกะลา ถือเป็น ผักพื้นบ้าน ของ เกาะเกร็ด

"หน่อกะลา" ถือเป็นผักพื้นบ้านของเกาะเกร็ด และเป็นพืชตระกูลเดียวกับข่า มีลักษณะเหมือนต้นข่าทั้งใบและลำต้น แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ชาวมอญบนเกาะเกร็ดใช้ หน่อกะลา มาประกอบอาหารเป็นเวลานานแล้ว โดยจะนำ ต้นหน่อกะลา มาปอกเปลือกออกเหลือแต่เนื้อใน จะนำมากินสดๆ หรือจะต้มจิ้มน้ำพริกก็ได้ นำไปทำเป็นแกงส้มก็อร่อย รวมไปถึง ทอดมันหน่อกะลา ก็เป็นของกินขึ้นชื่อที่ใครกินแล้วก็บอกว่าอร่อยเป็นเสียงเดียวกัน
ต้นหน่อกะลาว่าจัดอยู่ในพืชวงศ์ขิง Zingiberaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Alpinia nigra Burrt มีชื่ออื่น เช่น ข่าน้ำ กะลา เร่ว เร่วน้อย เป็นต้น หน่อกะลามีลักษณะคล้ายๆ พืชวงศ์ขิงโดยทั่วไปที่มีเหง้าที่เป็นลำต้นอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นบนดินเป็นต้นเทียม ต้นโตสูงประมาณ 3 เมตร ลักษณะเป็นกอแน่น ชอบอยู่ในพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง มีแสงแดดส่อง เหง้าหน่อกะลาสามารถใช้พอกแผลแก้ผื่นคันตามผิวหนัง เพราะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยายืนยันได้ว่าเป็นภูมิปัญญาไทยที่ถูกต้องว่าสามารถ ยับยั้งเชื้อราบนผิวหนังได้หลายชนิด ต้นหน่อกะลานั้นยังมีสรรพคุณทางยา โดยจะช่วยแก้อาการท้องอืด แน่นเฟ้อ จุกเสียด และช่วยไล่ลมในร่างกายได้อีกด้วย
ไปทำงานที่เกาะเกร็ดจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มีทอดมันหน่อกะลา บริเวณท่าเทียบเรือตรงวัดปรมัยยิกาวาส เดินตรงไปอีกนิดเดียวก็เห็นร้าน " ทอดมันหน่อกะลา " อยู่ตรงหัวมุมกับกระทะใบใหญ่ กำลังขายทอดมัน ถูกปั้นโยนลงกระทะทอดอยู่ตลอดเวลา

ฟังดูจากชื่อน่าสนใจ และเป็นรายการอาหารที่น่าสงสัยว่าหน่อกะลาคืออะไร หรือมีลักษณะอย่างไร ฟังเผินๆ อาจเดาไม่ถูกว่าลักษณะของต้นไม้ชนิดนี้เป็นวงศ์เดียวกับต้นมะพร้าวหรือเปล่า
กะลาขึ้นดาษดื่นตามท้องร่องสวน ทำให้คนบนเกาะเกร็ดคิดว่าเป็นวัชพืช เพราะเจริญเติบโตแตกหน่อขยายพันธุ์รวดเร็วและง่าย เกาะเกร็ดจะถูกน้ำท่วมกี่ครั้งกี่หน แต่หน่อกะลากลับเจริญเติบโตได้ดี นี่อาจเป็นที่มาของชื่อข่าน้ำ
หน่อกะลานำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง จะกินสดก็ได้ หรือลวกต้มจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงส้ม ห่อหมก แกงคั่วหอย ผัดเผ็ดปลา และอื่นๆ รวมถึงใช้แทนข่าจริงๆ ทำต้มยำ หรือต้มข่าไก่ และใช้แทนถั่วฝักยาวทำทอดมัน
หน่อกะลาใช้นำมาประกอบอาหารหลายอย่าง ถือเป็นอาหารพื้นเมืองของจังหวัดนนทบุรี ทำทอดมัน สามารถใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก อาจกินสดหรือลวก ใช้ใส่ในแกงส้ม ห่อหมกหน่อกะลา แกงคั่วหอยหน่อกะลา ผัดเผ็ดปลากับหน่อกะลาและอื่นๆ แต่ที่มาของชื่อพื้นเมืองอีกอย่างของหน่อกะลาคือข่าน้ำ เพราะสามารถ ใช้แทนข่าจริงๆ เพื่อใช้ในการทำต้มยำ หรือต้มข่าไก่
หน่อกะลาขึ้นดาษดื่นจนมองคล้ายวัชพืช เพราะว่า เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ง่าย เกาะเกร็ดจะถูกน้ำท่วมอยู่กี่ครั้งกี่หน แต่หน่อกะลากลับเจริญเติบโตได้ดี นี่อาจเป็นที่มาของชื่ออีกชื่อหนึ่งของหน่อกะลาคือข่าน้ำ สามารถแพร่พันธุ์ขยายไปทั่วเกาะ

ชาวเกาะเกร็ดเดิมที่เป็นเชื้อชาติ มอญปรุงอาหารกินจากหน่อกะลากันมานานแล้ว จริงๆ ผู้เขียนได้ยินชื่อหน่อกะลาจากโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน คือโรงเรียนพิชญศึกษา จังหวัดนนทบุรี ที่เด็กนักเรียนสนใจพืชชนิดนี้ที่ขึ้นอยู่ในจังหวัดของตนเอง ได้ทำการศึกษาอย่างละเอียด และส่งตัวอย่างใบหน่อกะลามาที่ อพ.สธ. เพื่อทำ DNA Fingerprint โดยหน่วยปฏิบัติการชีวโมเลกุลพืช
ไม่น่าแปลกใจถ้า เห็นต้นหน่อกะลาว่าจัดอยู่ในพืชวงศ์ขิง Zingiberaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Alpinia nigra Burrt มีชื่ออื่น เช่น ข่าน้ำ กะลา เร่ว เร่วน้อย เป็นต้น หน่อกะลามีลักษณะคล้ายๆ พืชวงศ์ขิงโดยทั่วไปที่มีเหง้าที่เป็นลำต้นอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นบนดินเป็นต้นเทียม ต้นโตสูงประมาณ 3 เมตร ลักษณะเป็นกอแน่น ชอบอยู่ในพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง มีแสงแดดส่อง เหง้าหน่อกะลาสามารถใช้พอกแผลแก้ผื่นคันตามผิวหนัง เพราะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยายืนยันได้ว่าเป็นภูมิปัญญาไทยที่ถูกต้องว่าสามารถ ยับยั้งเชื้อราบนผิวหนังได้หลายชนิด

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหน่อกะลาเป็นพืชน้ำที่ขึ้นอยู่ทั่วไปบนเกาะเกร็ดที่เดียวในประเทศไทย และปัจจุบันเป็นพืชพื้นบ้านที่มีชื่อเสียง นำมาบริโภคและขายกันเป็นจำนวนมากโดยไม่มีการปลูกทดแทน ประกอบกับพื้นที่มีคนเข้าไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เกิดมลภาวะ น้ำเสีย เป็นสาเหตุให้ต้นกะลาลดจำนวนลงรวดเร็วอย่างน่าเป็นห่วง หากไม่ส่งเสริมให้ปลูกทดแทน ในไม่ช้าพืชชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด...
ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
|