สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 6
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 376
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,205,743
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
26 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             
 
ตะลิงปลิง...ผลไม้สุดเปรี้ยว...นี่ก็อีกต้นที่ปลูกหน้าบ้าน
[1 มีนาคม 2556 16:41 น.]จำนวนผู้เข้าชม 10385 คน
ตะลิงปลิง...ผลไม้สุดเปรี้ยว...นี่ก็อีกต้นที่ปลูกหน้าบ้าน



ผล : สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้ แก้เสมหะเหนียว ฟอกโลหิต ยาบำรุงแก้ปวดมดลูก แก้ไอ บรรเทาโรคริดสีดวงทวาร แก้ลักปิดลักเปิด ชาวเกาะชวากินผลร่วมกับพริกไทยเพื่อขับเหงื่อในผู้มีอาการซึมเศร้า
งานวิจัยปัจจุบันน้ำต้มใบลดน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ในหนูเบาหวานงานวิจัยที่ประเทศสิงคโปร์ทำการทดสอบคุณสมบัติ ในการลดน้ำตาลและลดไขมันของสารสกัดเอทานอลของ ใบตะลิงปลิง ขั้นแรกพบว่าเมื่อได้รับสารสกัดเอทานอล 125 มก./กก. วันละ 2 เวลา 14 วัน เปรียบเทียบกับยาเมตฟอร์มิน (metformin) 500 มก./กก. เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า หนูที่ได้สารสกัดเอทานอลของใบตะลิงปลิงมีน้ำตาลในเลือดลดลงครึ่งหนึ่ง มีไตรกลีเซอไรด์ลดลงร้อยละ 130 มีปริมาณไขมันที่ดี (เอชดีแอลคอเลสเตอรอล) เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 และลดระดับไลพิดเพอร์ออกซิเดชั่นของไต ผลดังกล่าวมีทิศทางเดียวกันกับหนูที่ได้รับเมตฟอร์มิน เห็นชัดว่าสารสกัดดังกล่าวมีผล ลด anti-atherogenic index และสัดส่วนเอชดีแอลคอเลสเตอรอลทั้งหมดในสัตว์ทดลองเมื่อนำสารสกัดเอทานอลของใบตะลิงปลิงข้างต้น ไปแยกต่อเป็นสารสกัดน้ำ บิวทานอล และเอทิลอะซีเทต โดยทดสอบเป็นเวลานานในหนูเบาหวานที่เหนี่ยวนำด้วยสเตร็ปโทโซโทซิน ที่ได้รับอาหารไขมันสูง พบว่า หนูที่ได้รับสารสกัดน้ำและบิวทานอล (125 มก./กก. วันละ 2 ครั้งนาน 14 วัน) จากใบตะลิงปลิงมีปริมาณกลูโคสและไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำกว่าในหนูกลุ่มควบคุม หนูที่ได้รับสารสกัดน้ำมีไกลโคเจนในตับสูงกว่าหนูกลุ่มควบคุม หนูที่ได้รับสารสกัดน้ำและบิวทานอลไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับของคอเลสเตอรอลและเอชดีแอลคอเลสเตอรอลแต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด (fasting blood glucose) ในหนูทดลองพบว่า ในวันที่ 7 และ 14 หนูที่ได้รับสารสกัดน้ำและบิวทานอล มีค่าน้ำตาลในเลือดลดลง โดยหนูทั้ง 2 กลุ่มมีปริมาณอินซูลินสูงขึ้นในวันที่ 14 อย่างมีนัยสำคัญ สรุปว่าสารสกัดน้ำของสารสกัดเอทานอลของใบตะลิงปลิงมีผลในการลดปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือดสัตว์ทดลองได้ดีสารสกัดเอทานอลใบตะลิงปลิงแก้คันสารสกัดเอทานอลของใบตะลิงปลิงลดอาการผื่นแดงของผิวหนังในสัตว์ทดลอง การศึกษาที่ประเทศฟิลิปปินส์ใช้สารสกัดเอทานอล 10% ของใบตะลิงปลิงผสมในสูตรขี้ผึ้ง การทดสอบภาวะแพ้ที่ผิวหนัง ในหนู ที่มีผื่นแดงเทียบกับยาทาแก้แพ้ พบว่าขี้ผึ้งตะลิงปลิงลดอาการบวมแดงได้ใน 7ชั่วโมง กลุ่มทายาอาการหายไปใน 14 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับอะไรอาการผื่นแดงหายไปใน 23 ชั่วโมงน้ำคั้นผลตะลิงปลิงมีฤทธิ์คุมกำเนิดงานวิจัยที่ฟิลิปปินส์เกิดขึ้นหลังจากมีข่าวว่ามีการ ใช้น้ำคั้นผลตะลิงปลิงเพื่อคุมกำเนิดสุกร เมื่อให้น้ำคั้นจากผล 200 กรัม (ได้ 15 มิลลิลิตร) กับหนูอายุ 8 เดือนทุกวัน 10 วันก่อนผสมพันธุ์ 10 วันระหว่างผสมพันธุ์และหลังผสมพันธุ์ พบว่าร้อยละ 60 ของหนูที่ได้รับสารจากผลตะลิงปลิงไม่ติดลูก พบสเตอรอยด์ไกลโคไซด์และกรดออกซาลิกในน้ำคั้นที่ใช้ เชื่อว่าสารทั้งสองมีส่วนในการออกฤทธิ์คุมกำเนิดดังกล่าวน่าสนใจกับสรรพคุณแปลกๆของตะลิงปลิง ช่วงนี้มีการชวนเชิญดื่มน้ำคั้นผลตะลิงปลิง ถ้าดื่มแค่ครั้งคราวคงไม่แสดงฤทธิ์คุมกำเนิดหรอกนะคะ...

 
มะปริง....ต้นคล้าย มะยม ผลคล้าย ๆ มะยมผสมมะเฟือง ออกผลแทบไม่ขาดทุกฤดู ดกมากๆ เด็กๆ ชอบเก็บไปทานกะเพื่อนที่โรงเรียนทุกเช้า (บางวันบอกว่าคุณครูชอบ) เพื่อนบ้านวันไหนทำงานเข้ากะดึก ก็มาขอไปทานกันแก้ง่วง แม่บ้านก็ขอไปทำน้ำพริก หรือแทนของเปรี้ยวใส่ต้มไก่ ต้มปลา อร่อยมาก ๆ มีสูตรน้ำพริกมะปริงมาฝากละกันน้อ
น้ำพริกตะลิงปลิง
เครื่องปรุง
ตะลิงปลิง 15 - 20 ผล
พริกขี้หนูสด 7 - 10 เม็ด
กระเทียม 3 กลีบ
เกลือป่น 1 ช้อนชา 
กะปิ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้ง 1 - 2 ช้อนโต๊ะ 
น้ำตาล 1 - 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. นำกุ้งแห้งล้างให้สะอาด แช่น้ำพอนิ่ม นำขึ้นให้สะเด็ดน้ำพักไว้
2. ตะลิงปลิงล้างให้สะอาด ซอยตามความยาวผล แล้วปาดอย่าให้ติดเมล็ด แช่น้ำเกลือ
10 - 15 นาที สรงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ
3. กระเทียมปอกเปลือก ล้างให้สะอาด หั่นหยาบ ๆ พริกขี้หนูล้างให้สะอาด เด็ดก้านออก
4. กะปิปิ้งไฟกลางพอสุก
5. กุ้งแห้งตำให้ละเอียด ใส่กะปิ น้ำตาล กระเทียม พริกขี้หนู ตำต่อให้ละเอียด ใช้
ช้อนคนให้เข้ากัน ตักตะลิงปลิงซอยลงคลุกให้เข้ากัน ชิมดูรส ตักเสิร์ฟรับประทาน
ทันที จะได้น้ำพริกที่กรอบอร่อย

 
หมายเหตุ หั่นพริกสด และหอมซอยโรยหน้าอีกครั้ง
 
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ ดอก ผล
 
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
 
ใบ : สรรพคุณใช้พอกแก้คัน ใช้ภายใน โดยนำมาต้มดื่มรักษาอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ รักษาซิฟิลิส แก้ไขข้ออักเสบ 
 
ดอก : สรรพคุณแก้ไอ
 
ผล : สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมานและลดไข้



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:

 


[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
พืชผักสวนครัวและผลไม้ไทย
- ลำพู [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
- มะเดื่อฝรั่ง(Fig) [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
- หน่อกะลา ถือเป็น ผักพื้นบ้าน ของ เกาะเกร็ด [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
- ต้นอ้อดิบ(ต้นคูน) [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
- ทุเรียนน้ำ...ทุเรียนเทศ...ทุเรียนแขก [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
- ดอกดาวเรืองกินได้ทั้งดอกและยอด [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
- ตะลิงปลิง...ผลไม้สุดเปรี้ยว...นี่ก็อีกต้นที่ปลูกหน้าบ้าน [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
- สัปปะรด พันธุ์เพชรบุรีที่กินได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
- ผักหนาม [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
- ต้นสาคู [1 มีนาคม 2556 16:41 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY