|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
3
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
31
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,476,722
|
|
|
|
|
27 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขมิ้นชัน
[31 สิงหาคม 2554 13:59 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6476 คน |
|
ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อสามัญ : Turmeric
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น ๆ : ขมิ้นชัน (ภาคกลาง, ภาคใต้), ขมิ้น (ภาคกลาง), ขมิ้นแกง - ขมิ้นหัว (ภาคเหนือ), ขี้มิ้น (ภาคใต้)
ขมิ้นชันมีการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชสกุลเดียวกับขมิ้นขาว และมีการเจริญเติบโตเช่นเดียวกัน แต่เนื้อในหัวมีสีส้ม ต้นสูง 50 - 70 ซม. ใบรูปรีแกมรูปใบหอกเรียวแหลม เห็นเส้นใบเด่นชัด ก้านใบเป็นร่อง ช่อดอกออกจากเหง้า ใบประดับมีสีขาว ปลายใบประดับมีสีชมพูเรื่อ ดอกย่อยมีสีเหลืองอ่อนบานได้นานหลายสัปดาห์ จนติดผลจึงเหี่ยวแห้งไป
วิธีบริโภค
เหง้าสดและแห้งมีกลิ่นหอม ใช้ใส่ในแกงต่าง ๆ ข้าวยำ หรือขนมหวาน ให้สีเหลืองดูน่ากิน เช่น ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง บางท้องถิ่นนิยมนำใบอ่อนมาซอยกินกับน้ำพริก ช่วยให้เจริญอาหาร ส่วนช่อดอกลวกจิ้มน้ำพริกหรือกินสดก็ได้
ประโยชน์อื่น ๆ
เหง้าแก่ฝนเป็นผงใช้ทาเพื่อบำรุงผิว ซึ่งพบว่ามีน้ำมันหอมระเหยและสารสีส้ม (Curcumin) ที่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ รักษานิ่วในถุงน้ำดี โรคกระเพาะอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ และแก้อักเสบ ทั้งยังป้องกันอัลไซเมอร์ได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตเป็นขมิ้นชันแคปซูลเล้ว
นอกจากนี้ยังใช้ย้อมผ้าให้สีเหลือง ถ้าผสมกับมะนาวให้สีแดง ผสมกับส้มป่อยให้สีเขียว ขมิ้นมีความเป็นกรดอ่อน ๆ เมื่อผสมกับปูนขาวจะเปลี่ยนเป็นสีแดงของปูนแดงที่กินกับหมาก
วิธีปลูก
ขมิ้นชันเจริญและขยายพันธุ์เช่นเดียวกับขมิ้นขาว ในฤดูหนาวจะพักตัวใบจะเหี่ยวแห้งไป ให้งดให้น้ำ และเหมาะกับการขุดมาทำยา โดยเลือกเหง้าที่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 1" โดย อุไร จิรมงคลการ |
|
|
|