|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
10
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,396
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,491,228
|
|
|
|
|
7 มกราคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดาหลา
[20 กันยายน 2554 15:01 น.]จำนวนผู้เข้าชม 8019 คน |
|
ดาหลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior (Jack) R.M. Sm.
ชื่อสามัญ : Torch Ginger
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น ๆ : ดาหลา, กาหลา (ภาคกลาง), กะลา, จินตะหรา (ภาคใต้)
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วทุกภาคตามป่าดิบชื้น เป็นพืชวงศ์เดียวกับขิง ข่า นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก มีลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อยใต้ดิน เจริญเป็นกอสูงกว่า 2 เมตร ใบรูปขอบขนานเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ปลายใบเรียวแหลม ใต้ใบสีม่วงแดง ยาวกว่า 50 ซม. ช่อดอกออกจากเหง้าใต้ดินชูตั้งขึ้นสูง กลีบรองดอกมีทั้งสีแดงอมชมพูและสีขาว ดอกบานได้นานกว่าหนึ่งเดือน จนติดผลดอกดกในช่วงฤดูฝน
วิธีบริโภค
หน่ออ่อนนำมาปอกเปลือกนอกออก ส่วนลำต้นเหนือดินปอกเปลือกนอกออกให้เหลือแต่แกนกลางแล้วนำมาลวกหรือกินสด รสเผ็ดซ่า ส่วนดอกตูมนิยมกินกลีบรองดอกสีชมพูหรือขาว มีรสเปรี้ยว ชาวใต้นิยมซอยทั้งหน่อ แกนกลางและดอกใส่ข้าวยำ หรือกินกับน้ำพริก บ้างก็นำกลีบรองดอกใส่ในแกงเผ็ด แกงกะทิ แกงคั่ว หรือทำเป็นเครื่องดื่มแก้กระหาย
ประโยชน์อื่น ๆ
ดอกดาหลามีสรรพคุณทางยา แก้โรคผิวหนัง ลมพิษ และมีฤทธิ์ในการขับลม
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 2" โดย อุไร จิรมงคลการ
|
|
|
|