|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
18
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,076
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,490,908
|
|
|
|
|
7 มกราคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ตำลึง
[7 กันยายน 2554 16:25 น.]จำนวนผู้เข้าชม 8417 คน |
|
ตำลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocconia grandis (L.) Voigt
ชื่อสามัญ : Ivy Gourd, Scarlet Fruited Gourd
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ชื่ออื่น ๆ : ตำลึง (ภาคกลาง), ผักแคบ (ภาคเหนือ), ตำนิน (ภาคอีสาน)
ตำลึงมีเขตกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของแอฟริกา เอเชีย และตอนเหนือของออสเตรเลีย เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี เมื่อต้นแก่ เถาจะใหญ่และมีเนื้อไม้ ใบหยักเว้าเป็นแฉก 5 เหลี่ยม อาจหยักตื้นหรือลึก มีมือเกาะออกจากโคนก้านใบ ผลิดอกตามซอกใบใกล้ปลายยอด เป็นดอกแยกเพศต่างต้นกัน สีขาว มี 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ในดอกเพศเมียมีรังไข่รูปรีถึงรูปกระสวยอยู่ใต้ชั้นกลีบเลี้ยง เมื่อติดผล รังไข่จะขยายเป็นรูปรี ผลสีเขียวมีลายขาว เมื่อสุกสีแดง มีเนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ดรูปรีจำนวนมาก
วิธีบริโภค
คงไม่มีใครปฏิเสธถึงความอร่อยของตำลึงไปได้ เมื่อเด็ดยอดอ่อน ๆ มาทำแกงจืด แกงเลียง หรือใส่ในไข่เจียว บ้างก็ใส่ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าแทนคะน้าได้ ให้เบต้าแคโรทีนสูง ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาบอดในเด็กและโรคตาฟาง บางท้องถิ่นจะนำผลดิบมาต้มกินกับน้ำพริกหรือใส่ในแกงส้ม บ้างก็นำมาดองหรือเชื่อมแช่อิ่มเป็นของหวาน ส่วนผลสุกมีรสหวาน กินเป็นผลไม้ได้เช่นกัน
ประโยชน์อื่น ๆ
ยอดตำลึงมีสารที่ช่วยย่อยแป้ง จึงช่วยบรรเทาอาการท้องอืดได้ยามที่มื้อนั้นกินแป้งมากไป หรือนำใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ใส่น้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำทาบริเวณที่เกิดอาการอยู่เรื่อย ๆ จะช่วยบรรเทาอาการคัน อักเสบ หรือปวดแสบปวดร้อนเนื่องจากแมลงกัดต่อยได้ ส่วนใบของต้นเพศผู้ใช้ผสมเป็นยาเขียว ช่วยลดไข้ ถอนพิษ ขับเสมหะ ผลดิบก็ให้วิตามินเอสูง ส่วนเมล็ดตำกับน้ำมันมะพร้าวใช้ทาแก้หิด มีการวิจัยพบว่า ในราก เถา และใบมีสารที่มีคุณสมบัติคล้ายยาทอลบูทาไมด์ (talbutamide) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวาน การกินตำลึงจึงช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ส่วนหนึ่ง
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 1" โดย อุไร จิรมงคลการ |
|
|
|