|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
13
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,476,704
|
|
|
|
|
27 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ต้นกุ่ม
[30 สิงหาคม 2554 13:53 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6811 คน |
|
ต้นกุ่ม
กุ่ม : ต้นไม้อย่างหนึ่ง ดอกและใบกินได้ เปลือกใช้ทำยาได้
กุ่มน้ำ : ต้นกุ่มอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่ตามริมน้ำ ใบยาว ๆ ดอกกินได้
กุ่มบก : ต้นกุ่มอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่บนบก ตามป่าดอน ใบกลม ๆ ลูกสุกกินได้
กล่าวในทางพฤกษศาสตร์แล้ว ต้นกุ่มของชาวไทยเป็นต้นไม้หลายชนิดอยู่ในสกุลเดียวกันคือ สกุล (Genus) Crateva ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 5 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กุ่มน้ำ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3 ชนิด และกุ่มบกมีอยู่ประมาณ 2 ชนิด ทั้งกุ่มน้ำและกุ่มบกมีลักษณะหลายอย่างคล้ายคลึงกัน ถือเอาลักษณะนิสัยชอบอยู่ริมน้ำหรือที่ดอนเป็นตัวแบ่ง โดยมีตัวแทนกุ่มน้ำและกุ่มบกที่รู้จักกันดีเป็นหลัก คือ
กุ่มน้ำ ถือเอาต้นไม้ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Crateva nuvrvala Ham. เป็นต้นไม้ขนาดกลางสูง 5 - 10 เมตร มีกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นใบรวม มี 3 ใบย่อย บนก้านใบเดียวกัน ใบย่อยแต่ละใบกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 15 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ใต้ท้องใบสีขาวนวล ออกใบอ่อนพร้อมออกดอกในฤดูร้อน ดอกสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวล เกสรสีม่วง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มักออกดอกพร้อมกันทั้งต้น ดอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ สีเทา เปลือกเรียบแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเมล็ดมาก ชอบขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลองที่ราบลุ่ม
กุ่มบก มักหมายถึงต้นไม้ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Crateva erythrocarpa Gagnep. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 3 - 5 เมตร มีใบย่อย 3 ใบ เช่นเดียวกับกุ่มน้ำ แต่ใบย่อยรูปร่างค่อนข้างกลมมน คือส่วนกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร และยาว 5 - 8 เซนติเมตร ปลายใบไม่เรียวแหลมเหมือนกุ่มน้ำ ขนาดดอกและผลใกล้เคียงกุ่มน้ำ แต่ผลค่อนข้างกลม และเมื่อผลสุก รสหวาน นกชอบกิน (คนก็กินได้) ชอบขึ้นตามที่ดอน และในป่าผลัดใบ
ทั้งกุ่มน้ำและกุ่มบกถือว่าเป็นผักพื้นบ้านเก่าแก่ที่ชาวไทยคุ้นเคยมาแต่โบราณกาล เช่นในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ กล่าวถึงศัพท์เกี่ยวกับการใช้กุ่มเป็นผักของคนไทยสมัยปี 2416 เอาไว้ตอนหนึ่งว่า
กุ่มดอง : ใบกุ่มอ่อน ๆ เก็บเอามาแช่น้ำใส่เกลือบ้าง ใส่น้ำซาวข้าวบ้าง กินเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ จะเห็นว่าส่วนของกุ่มที่นิยมนำมากินเป็นผักคือ ยอดอ่อน และนิยมนำมาดองเสียก่อน ความจริงส่วนยอดอ่อนและช่อดอกสามารถนำมาเป็นผักได้ โดยผ่านการดองอย่างเดียวกัน ไม่นิยมนำมากินดิบ หรือประกอบอาหารด้วยวิธีการอื่น (เช่น ต้ม แกง ลวก เผา ฯลฯ) แต่ในบรรดาผักดองสำหรับจิ้มน้ำพริกด้วยกันแล้ว กุ่มดองนับว่าเป็นผักดองยอดนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย ซึ่งปัจจุบันหากินได้ยากพอสมควร เพราะมีเฉพาะบางท้องถิ่น และในฤดูที่กุ่มมีดอก (พร้อมกับยอดอ่อน) เท่านั้น ในกรุงเทพฯ เคยเห็นมีขายที่ตลาดท่าช้าง รวมทั้งผักดองอื่น ๆ ที่หายาก (เช่นผักหนาม) ตามฤดูกาล
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของกุ่ม
นอกจากใช้เป็นผักแล้ว ชาวไทยรู้จักนำกุ่มมาทำยาสมุนไพรใช้รักษาโรคได้หลายโรคด้วยกัน ทั้งกุ่มน้ำและกุ่มบก เช่น
กุ่มทั้งห้า (ต้น ใบ ดอก ผล ราก) : รสเผ็ดร้อน แก้ลมขึ้นเบื้องสูง ขับเหงื่อ แก้สะอึก บำรุงธาตุ ทำลายน้ำหนองอันเป็นก้อน
รากกุ่มน้ำ : แช่น้ำเป็นยาธาตุ
รากกุ่มบก : แก้มานกระษัยอันเกิดแต่กองลม
เปลือกกุ่มน้ำ : ต้มเป็นยาดัดลมในลำไส้ แก้กองลม แก้กระษัย แก้ริดสีดวง
เปลือกกุ่มบก : ขับลม แก้นิ่ว แก้บวม บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร
ใบกุ่มน้ำ : ขับเหงื่อ แก้สะอึก ขับผายลม แก้ลมขึ้นเบื้องสูง
ใบกุ่มบก : ขับลม ฆ่าพยาธิ แก้กลาก-เกลื้อน แก้ตะมอย
แก่นกุ่มน้ำ : แก้นิ่ว
แก่นกุ่มบก : แก้ริดสีดวง
กุ่มเป็นต้นไม้ประเภทไม้เนื้ออ่อน โตเร็ว ทรงพุ่ม ใบและดอกงดงามพอที่จะปลูกเป็นไม้ประดับได้ โดยเฉพาะกุ่มน้ำบางชนิดที่บางท้องถิ่นเรียกว่า ต้นอำเภอ (ชื่อพฤกษศาสตร์ Crateva macrocarpa) มีดอกโตกว่ากุ่มน้ำธรรมดาเท่าตัว และช่อโตแน่น นำปลูกเป็นไม้ประดับดีมาก และมีคุณสมบัติต่าง ๆ เช่นเดียวกับกุ่มน้ำชนิดอื่น
ในตำราปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านของชาวไทยถือว่ากุ่มเป็นต้นไม้มงคล กำหนดให้ปลูกทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) ของตัวบ้าน จะเป็นสิริมงคลต่อผู้อาศัยในบ้านเรือน
ที่มา : ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน |
|
|
|