|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
7
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,027
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,490,859
|
|
|
|
|
7 มกราคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
น้ำเต้า
[6 กันยายน 2554 14:49 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6797 คน |
|
น้ำเต้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria (Molina) Stand 1.
ชื่อสามัญ : Bottle Gourd, Calabash Cucumber, Flowered Gourd
ชื่อวงศ์ : Cucurbitacecea
ชื่ออื่น ๆ : น้ำเต้า (ภาคกลาง), มะน้ำเต้า (ภาคเหนือ), หมากน้ำ (ภาคอีสาน)
น้ำเต้าเป็นไม้เถาเลื้อยที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปแอฟริกา มีปลูกในไทยมานาน น้ำเต้ามีอายุเพียง 1 ปี ทุกส่วนมีขนปกคลุม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นคล้ายชะมด ลำต้นเป็นร่องตามแนวยาว มีมือเกาะแตกแขนง ใบรูปไข่ป้อมหรือค่อนข้างกลม มีต่อมเล็ก ๆ สองต่อมอยู่ระหว่างก้านใบกับแผ่นใบ ของใบหยักซี่ฟัน มีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน กลีบดอกสีขาว มี 5 กลีบ ดอกเพศเมียจะมีก้านดอกสั้น ส่วนดอกเพศผู้จะมีก้านดอกยาว ผลแบบแตง มีรูปร่างหลายแบบ ตั้งแต่กลมถึงทรงกระบอกยาว เปลือกผลจะแข็งมาก น้ำเต้ามีหลายสายพันธุ์ มีทั้งที่ให้รสขมและรสหวาน
วิธีบริโภค
ยอดอ่อนและผลอ่อนนำมาลวก ต้ม หรือนึ่งให้สุกทั้งเปลือก กินกับน้ำพริก ลาบ แจ่ว หรือนำมาประกอบอาหาร เช่น แกงเลียง แกงจืด แกงเผ็ดหรือผัดพริก แกงหน่อไม้ ต้มเปรอะ แต่ไม่ควรต้มหรือผัดนานเพราะจะทำให้เละ นอกจากนี้เนื้อผลยังนำมาเชื่อมกินเป็นของหวานได้ ส่วนเมล็ดนำมาตากแห้ง คั่วกินเป็นของว่าง สามารถปลูกและเก็บกินได้ตลอดปี ทั้งยังเป็นพืชที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบสูง และให้แร่ธาตุหลายชนิด
ประโยชน์อื่น ๆ
ด้านสมุนไพร น้ำเต้าเป็นยาเย็น รากต้มดื่มแก้อาการบวมน้ำ ทั้งต้นนำมาต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วงหรือใช้ล้างแผล ใบใช้ตำพอกแก้ปวดศีรษะ แก้ร้อนใน แก้เริม งูสวัด แก้อักเสบฟกช้ำ บวมพองตามผิวหนัง หรือนำมาต้มใส่น้ำตาลดื่มแก้โรคดีซ่าน ผลดิบกินเป็นยาระบายอ่อน ๆ แต่ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้ท้องร่วงและอาเจียนได้ โคนขั้วผลกินเป็นยาแก้ปวดท้องที่มีไข้ร่วมด้วย ส่วนเนื้อในผล ช่วยขับปัสสาวะ แก้บิด เป็นยาระบาย แก้ไข้ เมล็ดแก้เจ็บหน้าอก น้ำต้มผลใช้สระผม เปลือกผลใช้สุมหัวทารกแก้ไข้ เมล็ดกินเป็นยาขับพยาธิและแก้อาการบวมน้ำ น้ำมันจากเมล็ดใช้ทาศีรษะแก้อาการผิดปกติทางประสาท มีข้อควรระวังคือ เนื้อหุ้มเมล็ดทำให้อาเจียนและระบาย
นอกจากนี้ เปลือกนอกของผลแห้งที่แก่จัดนิยมนำมาทำเป็นกระบอกใส่น้ำ หมวก หรือนำมาประดิษฐ์เป็นของต่าง ๆ หรือแม้แต่เครื่องดนตรี ในประเทศนิวกินีนิยมนำเปลือกผลที่มีรูปทรงกระบอกยาวมาทำเป็นวัสดุป้องกันอวัยวะเพศชายขณะต่อสู้
เกร็ด
มีบันทึกไว้ว่า ราว 6,000 ปีก่อนคริสตกาล มีการพบผลน้ำเต้าในเม็กซิโก ซึ่งคาดกันว่า ด้วยเปลือกผลที่แข็งและลอยอยู่ในน้ำได้ น้ำเต้าจึงสามารถแพร่หลายมาสู่อเมริกาและทวีปอื่น ๆ ได้ ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์น้ำเต้าให้มีรูปร่างหลายแบบ ทั้งกลม ยาวเป็นทรงกระบอก และเป็นสี่เหลี่ยม ทั้งยังมีการน้ำพันธุ์ต่างประเทศมาปลูกเพื่อนำผลมาประดับ เช่น น้ำเต้าไต้หวัน เป็นต้น
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 1" โดย อุไร จิรมงคลการ
|
|
|
|