|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
10
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,497
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,450,314
|
|
|
|
|
4 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บอน
[7 กันยายน 2554 15:28 น.]จำนวนผู้เข้าชม 8137 คน |
|
บอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colocasia esculenta (L.) Schott.
ชื่อสามัญ : Cocoyam, Dasheen, Taro
ชื่อวงศ์ : Araceae
ชื่ออื่น ๆ : บอน, เผือก (ทั่วไป), บอนเขียว (ภาคกลาง), บอนหอม (ภาคเหนือ), บอนจืด (ภาคอีสาน), บอนน้ำ (ภาคใต้)
บอน หรือที่รู้จักในชื่อ "เผือก" เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีหัวอยู่ใต้ดิน สามารถแตกไหลได้ ต้นสูงกว่า 1.50 เมตร ก้านใบยาว แผ่นใบรูปหัวใจเรียว ขนาดใหญ่ 30 - 40 ซม. แผ่นใบและก้านใบสีเขียวหรือเขียวปนน้ำตาลแดงเรื่อ ช่อดอกออกจากซอกกาบใบกึ่งกลางต้น มีกาบรองช่อดอกสีน้ำตาลแดงเรื่อห่อหุ้ม ปลีดอกสีครีมอยู่ภายใน และมีกลิ่นหอมตอนเย็นถึงเช้า
วิธีบริโภค
นิยมนำยอดใบอ่อน ก้านใบ และไหลอ่อนมากินเป็นผัก โดยปอกเปลือกสีเขียวที่ผิวนอกของก้านออกก่อน นำมาต้มจิ้มน้ำพริก หรือใส่ในแกงส้ม แกงกะทิ บอนชนิดนี้ในน้ำยางมีแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) ที่ทำให้คัน
เคล็ดลับในการปรุงบอนไม่ให้คันและอร่อย
คือ ก่อนปอกเปลือกก้านบอนควรทามือด้วยปูนแดงที่กินกับหมากให้ทั่วทั้งมือก่อน และหลังจากปอกเปลือกผิวนอกแล้วห้ามล้างน้ำเย็น ให้นำมาต้มใส่ในน้ำเดือดและคั้นน้ำทิ้ง 2 - 3 ครั้งก่อนนำมาประกอบอาหาร จะช่วยให้บอนอร่อยขึ้น บางท่านอาจนำมาเผาก่อนก็ได้ หรือจะนำมาปรุงกับเครื่องปรุงที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะขาม ยอดมะขาม ส้มป่อย หรือน้ำมะกรูด เป็นต้น เพื่อช่วยดับพิษคันของบอน
ในธรรมชาติมีทั้งต้นบอนที่คันและไม่คัน วิธีสังเกตให้ดูลำต้นที่มีสีน้ำตาลแดงเรื่อหรือสีเขียว ไม่มีนวลเกาะจับ เมื่อตัดก้านใบทิ้งไว้สักครู่จะไม่มีคราบสีเขียวคล้ำเกิดขึ้น แสดงว่าเป็นบอนไม่คัน หรือที่เรียกว่าบอนหวาน ซึ่งถ้าลองทาน้ำยางไว้บนหลังมือก็จะไม่คัน
สำหรับเผือก แท้จริงแล้วเป็นพืชชนิดเดียวกับบอน ถ้าขึ้นในน้ำจะเรียก "บอน" และกินก้านใบ ส่วน "เผือก" จะปลูกบนบก มีหัวสะสมอาหารขนาดใหญ่ที่นำมากินได้ เผือกที่ปลูกทั่วไปมี 4 พันธุ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ และเผือกตาแดง สำหรับเผือกที่เรานิยมกินเป็นเผือกหอม ซึ่งมีหัวใหญ่ร่วนซุย และมีกลิ่นหอม ซึ่งบางท้องถิ่นก็นิยมกินก้านเผือกเช่นเดียวกับก้านบอน
วิธีปอกเผือกไม่ให้คัน
ควรล้างเผือกทั้งหัวให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ปอกเปลือกให้หนา เพื่อให้แคลเซียมออกซาเลตหลุดออกไป ให้ธาตุฟลูออไรด์สูงมาก อีกทั้งมีโปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัสที่เดียงพอกับปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ทั้งยังช่วยขับเสมหะ ปรับการทำงานของกระเพาะให้ปกติ ช่วยบำรุงไต และขับพิษในช่องท้อง
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 1" โดย อุไร จิรมงคลการ |
|
|
|