|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
8
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,500
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,450,317
|
|
|
|
|
4 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปีบ
[8 กันยายน 2554 14:51 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6733 คน |
|
ปีบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis L. f.
ชื่อสามัญ : Cork Tree
ชื่อวงศ์ : Bignoniaceae
ชื่ออื่น ๆ : ปีบ (ภาคกลาง), กาซะลอง (ภาคเหนือ)
ปีบพบตามป่าเบญจพรรณของภาคเหนือ ตะวันอกเฉียงเหนือ และตะวันตกของไทย เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 25 เมตร เรือนยอดเป็นรูปไข่โปร่งดูสวยงาม เปลือกต้นขรุขระ แตกเป็นร่อง มีใบประกอบแบบขนนกสองถึงสามชั้น ใบย่อยเป็นรูปรี ปลายแหลม ช่อดอกผลิที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผลิบานในช่วงเดือนกันยายนถึงกุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักแบนยาว ภายในมีเมล็ดแบน มีปีกจำนวนมาก
วิธีบริโภค
ปีบนอกจากเป็นไม้ประดับยอดนิยมของคนไทยแล้ว ยอดอ่อนยังกินเป็นผักได้ แต่ต้องย่างไฟให้หอม หรือนำมาต้มกินเป็นผักกับน้ำพริก ลาบวัว ความ หรือปลา หรืออาหารรสจัดต่าง ๆ มีรสขม
ประโยชน์อื่น ๆ
ตามตำรายาพื้นบ้าน รากช่วยบำรุงปอดและรักษาวัณโรค ใบตากแห้งใช้มวนบุหรี่ ดอกใช้เป็นสมุนไพรรักษาริดสีดวงจมูกและโรคหืด โดยนำมาตากแห้ง สุมไฟและสูดดมไอ ใช้เป็นส่วนผสมในยาหอม หรือนำมาต้มน้ำอื่มแก้ไอ
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 1" โดย อุไร จิรมงคลการ |
|
|
|