|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
11
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,046
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,490,878
|
|
|
|
|
7 มกราคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผักกาดจ้อน
[9 กันยายน 2554 15:21 น.]จำนวนผู้เข้าชม 14712 คน |
|
ผักกาดจ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica chinensis L. var. parachinensis Tsen & Lee
ชื่อสามัญ : Flowering Cabbage, Flowering White Cabbage
ชื่อวงศ์ : Brassicaceae
ชื่ออื่น ๆ : ผักกาดจ้อน (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), ผักกาดจอ, ผักกาดน้อย (ภาคเหนือ), ผักกะจ้อน (ภาคใต้)
ผักกาดจ้อนมีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป ต้นสูงเพียง 15 - 18 ซม. ใบรูปไข่กลับ ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอกสีเหลืองมี 4 กลีบ ผักชนิดนี้มีมากในภาคเหนือและอีสานของไทย ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับผักกาดเขียวกวางตุ้งที่เป็นผักเศรษฐกิจของคนเมือง เพียงแต่ผักกวางตุ้งมีขนาดใหญ่กว่า
วิธีบริโภค
ชาวเหนือนิยมนำมาทำซ่าผัก ซึ่งปรุงร่วมกับผักนานาชนิด เช่น ขี้ติ้ว ผักโขม โสกน้ำ เป็นต้น ถ้ากินสดมีรสจืด และมีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย ส่วนชาวอีสานจะนำมาต้มจิ้มน้ำพริก กินกับลาบ ก้อย หรือใส่ในแกงส้ม แกงเลียง แกงจืด และผัดน้ำมัน มีขายตลอดปี แต่มีมากในช่วงฤดูฝน
นอกจากนี้ในภาคอีสานยังมีผักกาดอีกชนิดหนึ่งที่นำมากินได้เช่นเดียวกัน เรียกว่า ผักกาดฮีน [B. juncea (L.) Czern.] ลักษณะคล้ายกับผักกาดจ้อน แต่ขอบใบหยักเป็นครุยมาก
เคล็ดลับ
เมื่อนำมาปรุงด้วยความร้อนไม่ควรปิดฝา เนื่องจากผักชนิดนี้เมื่อโดนความร้อนจะเกิดสารไธโอไซยาเนต ถ้ากินเข้าไปจะทำให้ท้องเสีย กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย ความดันโลหิตลดต่ำ ซึ่งรวมไปถึงกะหล่ำปลีและผักกาดชนิดอื่น ๆ ด้วย
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 1" โดย อุไร จิรมงคลการ |
|
|
|