สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 8
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 1,057
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,490,889
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
7 มกราคม 2568
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
   
10  11 
12  13  14  15  16  17  18 
19  20  21  22  23  24  25 
26  27  28  29  30  31   
             
 
ผักบุ้ง
[12 กันยายน 2554 15:14 น.]จำนวนผู้เข้าชม 7337 คน
ผักบุ้ง



ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Ipomoea aquatica Forssk.
ชื่อสามัญ  :  Swamp Morning Glory, Water Spinach
ชื่อวงศ์  :  Convolvulaceae
ชื่ออื่น ๆ  :  ผักบุ้ง (ทั่วไป), ผักทอดยอด (ภาคกลาง)

     ผักบุ้งมีการกระจายพันธุ์ในเอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตร้อนของแอฟริกา และอเมริกา เป็นไม้น้ำที่มีลำต้นกลาง ทอดเลื้อยไปตามผิวน้ำ ชูใบเรียงเป็นระเบียบ เมื่อเด็ดใบหรือยอดจะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมา ที่นิยมกินกันมี 3 พันธุ์ คือ "ผักบุ้งก้านแดง" ที่กินกับส้มตำ "ผักบุ้งไทย" ลำต้นเขียว ขนาดใหญ่ มีใบรูปไข่ และ "ผักบุ้งจีน" ที่มีลำต้นเล็ก ใบเรียวยาว เป็นพันธุ์เศรษฐกิจที่นิยมปลูกขายกันมาก

วิธีบริโภค
     ผักบุ้งเป็นผักที่เด็ก ๆ หลายคนรู้จักเป็นชนิดแรก ด้วยความคุ้นเคยกับการนำผักบุ้งมาประดิษฐ์เป็นสายสร้อยเล็ก ๆ บ้างก็นำมาเล่นขายของกับเพื่อน ๆ หรือเก็บมาเลี้ยงกระต่าย อีกทั้งความอร่อยของผัดผักบุ้งไฟแดงร้อน ๆ ที่กินกับข้าวสวย ข้าวต้ม หรือแม้แต่ผักบุ้งชุบแป้งทอด แกงคั่วผักบุ้ง ผักบุ้งไทยที่กรอบอร่อยในก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ หรือผักบุ้ง ก้านแดงที่กินสดกับอาหารต่าง ๆ ก็ตาม ผักบุ้งจึงเป็นแหล่งวิตามินเอและวิตามินบี 2 ของชาวไทย และกลายเป็นผักเศรษฐกิจที่รู้จักกันทั่วทุกภาค มีให้กินกันตลอดปี นอกจากนี้ผลอ่อนก็ยังนำมาต้มกินกับน้ำพริก อร่อยไม่แพ้กัน
     สำหรับวิธีการกินผักบุ้งทั้งสามพันธุ์แตกต่างกัน ถ้าเป็นผักบุ้งก้านแดงนิยมกินเป็นผักสด ผักบุ้งไทยนิยมนำมาผัดน้ำมัน โดยซอยแบ่งลำต้นตามแนวยาวให้มีขนาดเล็กลง จากนั้นจึงหั่นเป็นชิ้นยาวประมาณ 5 - 8 ซม. แต่ถ้านำมาแกงหรือใส่ในก๋วยเตี๋ยวก็หั่นเป็นท่อนพอดีคำ ส่วนผักบุ้งจีนก็เด็ดเป็นท่อน ๆ มาประกอบอาหารได้ทันที นอกจากนี้ภาคเหนือยังมี "ผักบุ้งเตี้ย" ที่กินได้เช่นกัน

ประโยชน์อื่น ๆ
     ในด้านสมุนไพร พบว่ารากแก้ตกขาว แก้ปวดฟัน ขัดเบา ไอเรื้อรัง เหงื่อออกมาก น้ำต้มรากใช้ล้างริดสีดวงทวาร หรือผสมกับดอกมะพร้าว มะขาม และขิง ดื่มแก้หืด ทั้งต้นของผักบุ้งไทยใช้เป็นยาระบาย ถอนพิษไข้ แก้ปวดหัว โรคประสาท ช่วยให้หลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้กลากเกลื้อน บางคนใช้ต้มกับเกลืออมแก้เหงือกบวม พอกริดสีดวงทวาร แก้เลือดกำเดาไหล แก้ท้องผูก หนองใน ถ่ายเป็นเลือด แผลบวม ฟกช้ำ ยางเป็นยาถ่าย ใบนำมาขยี้เมื่อถูกแมลงกัดต่อย หรือใช้พอกฝี นอกจากนี้ชาวจีนในมาเลเซียยังนิยมผลูกเป็นอาหารหมู

ที่มา  :  หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 1" โดย อุไร จิรมงคลการ

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
พืชผักสวนครัวและผลไม้ไทย
- ลำพู [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
- มะเดื่อฝรั่ง(Fig) [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
- หน่อกะลา ถือเป็น ผักพื้นบ้าน ของ เกาะเกร็ด [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
- ต้นอ้อดิบ(ต้นคูน) [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
- ทุเรียนน้ำ...ทุเรียนเทศ...ทุเรียนแขก [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
- ดอกดาวเรืองกินได้ทั้งดอกและยอด [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
- ตะลิงปลิง...ผลไม้สุดเปรี้ยว...นี่ก็อีกต้นที่ปลูกหน้าบ้าน [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
- สัปปะรด พันธุ์เพชรบุรีที่กินได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
- ผักหนาม [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
- ต้นสาคู [12 กันยายน 2554 15:14 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY