ผักไผ่ (ผักแพว)
ผักไผ่เป็นไม้ล้มลุก สูง 20-35 ซม. ลำต้นตั้งตรง มีข้อเห็นชัดเจนเป็นระยะ ๆ บริเวณข้อมักมีรากออกมา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับรูปร่างใบเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ขอบใบเรียบ ปลายไปแหลม ก้านใบสั้น ใบกว้าง 2.6-3 ซม. ยาว 5.5-8 ซม. มีหูใบลักษณะเป็นปลอกหุ้มรอบลำต้นบริเวณเหนือข้อดอกสีขาวออกเป็นช่อแบบ raceme ที่ปลาย ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เกสรตัวผู้มี 5 อัน เรียงตัวอยู่รอบ ๆ เกสรตัวผู้มี 5 อัน เรียงตัวอยู่รอบ ๆ เกสรตัวเมีย รังไข่แบบ inferior ovaryตำนาน ความเจากการบอกเล่าของหมอเมืองกล่าวไว้ว่า สาเหตุที่เรียกผักชนิดนี้ว่า “ผักไผ่” เพราะว่าใบมีลักษณะคล้ายใบไผ่ จึงเรียกชื่อนี้จวบจนถึงปัจจุบันการปลูกและขยายพันธุ ผักไผ่เป็นไม้ที่พบขึ้นตามที่ราบชุ่มชื้นมีร่มเงา ตามบ้านหรือบริเวณริมน้ำลำธารที่มีความความชื้นสูง ตามสวนทั่วไปขยายพันธุ์โดยการนำต้นอ่อนแยกไปเพาะปลูก หรือใช้ลำต้นปักชำ เมื่อดินมีความอุดมสมบูรณ์และความชื้นเพียงพอดีแล้ว จะทำให้ออกยอดตลอดปีและออกดอกเดือนมิถุนายน-สิงหาคมโยชน์ทางยา
ใบ รสเผ็ด ใช้รักษาโรคตับแข็ง แก้ลม-ขับลมในกระเพาะ ช่วยเจริญอาหาร หรือนำใบมาตำให้ละเอียดทาแก้ตุ่ม ผื่นคัน โรคกลากเกลื้อน รักษาโรคหวัด รวมทั้งรักษาโรคตัวจี๊ด แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5-8 วันริกผักจิ้ม
ชาวเหนือนิยมรับประทานกับน้ำพริกหนุ่มน้ำพริกปลาาหารอื่นๆ
ยอดอ่อน และใบอ่อน นิยมรับประทานเป็นผักสด หรือเป็นเครื่องปรุงรสอาหารพื้นบ้าน หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น ลาบ ส้า หลู้เลือด ก้อย (กุ้งสด) อาหารจำพวกยำชนิดต่างๆ เช่น ยำผัก ยำเห็ดเฟือง ยำจิ๊นไก่ ยำไก่ใส่หัวปลี ยำกบ ยำปลา เป็นต้น
ผักไผ่มีกลิ่นหอมฉุน จึงมักใช้เป็นเครื่องปรุงรสหรือช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เช่นใส่กับลาบ แกง ส่วนชาวใต้มักซอยใส่ในข้าวยำ โดยซอยตามขวางเป็นชิ้นเล็ก ๆ อาจใส่เป็นผักสดหรือต้มให้สุกก่อนก็ได้ค่าทางโภชนาการต่อสุขภาพ
ผักไผ่ 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 54 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 4.7 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม แคลเซียม 79 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม เหล็ก 2.9 มิลลิกรัม วิตามิน A 8112 IU. วิตามิน B1 0.05 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.59 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.7 มิลลิกรัม วิตามิน C 77 มิลลิกรัม
ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=free4u&month=28-10-2009&group=82&gblog=12 |