สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 9
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 234
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,510,478
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
22 มกราคม 2568
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
   
10  11 
12  13  14  15  16  17  18 
19  20  21  22  23  24  25 
26  27  28  29  30  31   
             
 
พยาธิหนอนหัวใจ
[2 เมษายน 2555 15:56 น.]จำนวนผู้เข้าชม 11329 คน
 พยาธิหนอนหัวใจ



 
 โรคพยาธิหนอนหัวใจเกิดจากเชื้อ Dirofilaria immitis เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข พบได้บ้างในแมว แต่พบได้ยากในคน มียุงเป็นพาหะ การติดเชื้อเกิดขึ้นได้เนื่องจากยุงกินเลือดสุนัขที่มีตัวอ่อนของเชื้อนี้อยู่ แล้วตัวอ่อนจะพัฒนาในตัวยุง จากนั้นจะปล่อยตัวอ่อนระยะติดเชื้อให้สุนัขตัวอื่นที่ยุงกินเลือด พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในหัวใจห้องล่างขวา หลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปสู่ปอด และหลอดเลือดดำใหญ่ การที่มักจะพบพยาธินี้อยู่ในหัวใจ จึงเรียกว่า พยาธิหนอนหัวใจ (heart worm) พยาธิหนอนหัวใจพบได้ทั่วไปในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและแถบเมืองร้อนทั่วโลก รวมทั้งรวมทั้งในประเทศไทยด้วย ถ้าเลี้ยงสุนัขในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้สูง สุนัขก็มีโอกาสป่วยด้วยโรคนี้ได้มาก

  ลักษณะและขนาด

 ตัวแก่ : สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า รูปร่าง ยาวเรียว มีขนาดยาว 20-30 เซนติเมตร หางของตัวแก่พยาธินหนอนหัวใจตัวผู้มีลักษณะเป็นขด

  ตัวอ่อน : อาศัยอยู่ในเลือด ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ มีขนาดยาว 307-332 ไมโครเมตร และกว้าง 6.8 ไมโครเมตร ทางด้านหน้าจะยาวเรียว แต่ทางด้านหลังจะทู่

   วงจรชีวิต

     ตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจอาศัยอยู่ในหัวใจและหลอด เลือดใกล้เคียง ตัวเมียจะปล่อยตัวอ่อนเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งจะถูกกินโดยยุงตัวเมียในขณะที่กินเลือดสุนัขที่ติดเชื้อนี้ แล้วตัวอ่อนจะพัฒนาในตัวยุงกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดเชื้อโดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และไปอยู่ที่ปากของยุง

    เมื่อยุงที่มีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจกิน เลือดสุนัขที่ปกติก็จะปล่อยตัวอ่อนให้กับสุนัขนั้น ตัวอ่อนจะเคลื่อนที่จากเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนังของสุนัข และมีการพัฒนา 2 ครั้งจนกลายเป็นตัวแก่ระยะแรกในหัวใจและหลอดเลือดสู่ปอดภายในเวลา 3-4 เดือน และในระยะ 6 เดือน จะพบตัวอ่อนในกระแสเลือด เมื่อยุงกัดสุนัขที่มีเชื้อพยาธิหนอนหัวใจจะได้รับตัวอ่อนและมีการพัฒนาใน ยุง เมื่อยุงตัวนั้นไปกัดสุนัขปกติตัวอื่นก็ทำให้ติดเขื้อพยาธิหนอนหัวใจได้  ตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถปล่อยตัวอ่อนได้นาน ถึง 5 ปี

  

 พยาธิสภาพ

    ขึ้นอยู่กับจำนวนของตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจ ถ้ามีตัวแก่จำนวนน้อยก็จะไม่พบอาการป่วย แต่ถ้ามีตัวแก่จำนวนมากทำให้เกิดปัญหาของระบบหมุนเวียนโลหิตได้ ตั้งแต่ขัดขวางการไหลเวียนชองเลือดจนถึงขั้นเกิดภาวะหัวใจวายได้ ถ้ามีพยาธิหนอนตัวแก่จำนวนมากยังทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ อาจจะเนื่องจากสิ่งขับถ่ายจากตัวพยาธิ นอกจากนี้พยาธิตัวแก่ที่ตายจะอุดตันหลอดเลือดที่นำเลือดไปสู่ปอด จึงเกดิความดันโลหิตสูง ทำให้ร่างกายชดเชยโดยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดหัวใจวายได้ ซึ่งจะพบอาการบวมน้ำและท้องมาน ในระยะนี้สุนัขจะซึม ไอแห้งๆ และอ่อนเพลียมาก

  อาการป่วย

    ถึงแม้สุนัขจะติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจเมื่ออายุน้อย อยู่ แต่ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการป่วยเมื่อสุนัขมีอายุมาก คือมากกว่า 4 ปี โดยพบว่าสุนัขที่ติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจจำนวนมากจะซึม เหนื่อยง่าย หายใจหอบ ร่างกายอ่อนเพลีย ไอแห้งๆ และบางตัวจะมีเลือดออกมาด้วยเมื่อไอ และในระยะต่อมาจะบวมน้ำและท้องมาน และตายในที่สุด

     ถ้าติดเชื้อพยาธิหนอน หัวใจจำนวนไม่มากจำไม่พบอาการเด่นชัด แต่จะสังเกตได้ในสุนัขใช้งาน (เช่น พันธุ์อัลเซเชียน) โดยสุนัขจะเหนื่อยง่าย หอบเมื่อให้ออกกำลังกาย และสุนัขบางตัวถึงกับหัวใจวายตายได้

   พยาธิหัวใจเป็นพยาธิที่อาศัยอยู่ภายในหัวใจและปอดของสุนัขที่ติดโรคนี้ สามารถเข้าสู่หัวใจสุนัขได้ตั้งแต่สุนัขอายุน้อยๆ และเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกับสุนัขที่ไม่ได้ป้องกัน ก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด การติดต่อของโรคพยาธิหัวใจติดได้จากยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคซึ่งสุนัขจะมีภาวะเสี่ยงถ้าโดนยุงที่มีเชื้อกัด

วงจรชีวิตพยาธิหัวใจ

  สุนัขได้รับตัวอ่อนของพยาธิหหัวใจจากน้ำลายยุงที่กัดสุนัข  
-
   ตัวเต็มวัยพยาธิหัวใจในสุนัขแพร่ตัวอ่อนเข้าสู่กระแสเลือด

 ตัวอ่อนของพยาธิหัวใจพัฒนาไปเป็นตัวเต็มวัยในหัวใจสุนัข 
-  ยุงซึ่งเป็นพาหะได้รับตัวอ่อนจากเลือดและสะสมตัวอ่อนอยู่ในน้ำลาย

  
  •  อาการของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคพยาธิหัวใจ

  •   ไอเรื้อรังหายใจลำบาก

  •   เหนื่อยง่าย แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย

  •   เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

  •   โลหิตจาง ท้องมาน (มีของเหลวในช่องท้อง)

 การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิหัวใจ สุนัขควรตรวจเลือเพื่อหาพยาธิหัวใจเป็นประจำโดยการตรวจเลือดโดยใช้เลือดเพียงเล็กน้อย

 - ใช้ชุดตรวจหาแอนติเจนของพยาธิตัวเต็มวัย (AFEN HW@ test kit)

 - เจาะเลือดตรวจหาพยาธิตัวอ่อนในกระแสเลือด

 การวินิจฉัย

 

     อาศัยอาการทางคลีนิคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ของระบบหมุนเวียนโลหิต เช่น ไอแห้งๆ บวมน้ำ และท้องมาน เป็นต้น ร่วมกับการตรวจพบตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจในเลือด

    ในรายที่ตรวจไม่พบตัว อ่อนในเลือด แต่มีอาการอยู่ในข่ายที่สงสัยว่าเป็นพยาธิหนอนหัวใจ ต้องทำการวินิจฉัยทางวิทยาภูมิคุ้มกัน เพื่อตรวจหาแอนติเจนของพยาธิตัวแก่ในเลือดก่อน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในรายที่ให้สุนัขที่มีอายุเกิน 6 เดือนซึ่งติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจกินหรือฉีดยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจโดย ไม่ทำการตรวจเลือดก่อนว่ามีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจหรือไม่ ยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจจะไปทำลายตัวอ่อนในรายที่ติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ ทำให้ไม่สามารถตรวจพบตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจได้ทั้งๆที่มีตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจอยู่ การตรวจวินิจฉัยโดยวิธีการนี้ให้ผลแม่นยำดีมาก แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

  

 การรักษา

    เนื่องจากยาที่ใช้ฉีดทำลายตัวแก่พยาธิหนอนหัวใจมี ความเป็นพิษสูง ดังนั้นก่อนที่จะใช้ยานี้ในการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจต้องตรวจสุขภาพสุนัข ให้ละเอียด รวมทั้งการตรวจค่าโลหิตวิทยาเพื่อดูการทำงานของตับและไต ในบางรายอาจจำเป็นต้องถ่ายเอ็กซเรย์ช่องอกเพื่อดูสภาพของหัวใจและปอดด้วย ถ้าสุขภาพไม่ดีก็จำเป็นที่จะต้องให้การบำรุงไปก่อน ถ้าสุขภาพอยู่ในขั้นที่จะฉีดยารักษาได้ก็ให้การรักษาทันที

     ในปัจจุบันยา ที่ใช้ในการรักษาโรคนี้มีราคาแพงมาก จึงควรที่จะป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดโรคนี้จะดีกว่า นอกจากนี้สุนัขที่ฉีดยารักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจอาจจะตายได้ เนื่องจากตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจที่ตายอุดหลอดเลือด ดังนั้นจึงควรขังสุนัขที่ฉีดยารักษาไว้อย่างน้อย 2-6 สัปดาห์

    หลังจากฉีด ยาทำลายตัวแก่แล้วประมาณ 4 สัปดาห์ จึงควรให้กินหรือฉีดยาทำลายตัวอ่อน และให้กินหรือฉีดยาป้องกันตามโปรแกรมที่แนะนำให้โดยสัตวแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมาได้อีก

    

   การควบคุมและป้องกัน

    การควบคุมโรคพยาธิหนอนหัวใจโดยการป้องกัน ไม่ให้ยุงที่มีเชื้อพยาธิหนอนหัวใจมากัดนั้นกระทำได้ยาก เพราะประเทศไทย อยู่ในเขตร้อนและมียุงตลอดปี จึงต้องใช้วิธีการป้องกันโดยการกินหรือฉีดยาทำลายตัวอ่อนในเลือดสุนัขเพื่อ ไม่ให้พัฒนาไปเป็นตัวแก่ในหัวใจสุนัข แต่การฉีดยาป้องกันจะสะดวกและประหยัดกว่าการให้กิน เพราะถ้าให้กินยาต้องให้กินทุกเดือน แต่ถ้าฉีดให้ฉีดให้ทุก 2 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่สุนัขอายุ 3 เดือน

     ถ้าจะใช้โปรแกรมการป้องกันพยาธิหนอน หัวใจในสุนัขที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน ในขั้นแรกต้องทำการตรวจเลือดก่อนว่ามีตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจอยู่หรือไม่ ถ้าตรวจไม่พบตัวอ่อนก็เข้าโปรแกรมป้องกันได้เลย แต่ถ้าตรวจพบตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจ แสดงว่ามีตัวแก่อยู่ในหัวใจ ต้องฉีดยาทำลายตัวแก่ก่อน จากนั้นจึงเข้าโปรแกรมป้องกันโรคนี้

    ส่วนสุนัข ที่ต้องการจะเข้าโปรแกรมการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ แต่ (1) เคยได้รับยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจมาแล้ว แต่ไม่ได้รับต่อเนื่องตามโปรแกรมที่แนะนำโดยสัตวแพทย์ หรือ (2) เคยประยุกต์ใช้ยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจมาใช้ในการกำจัดเห็บและขี้เรื้อน ในทั้งสองกรณีนี้จำเป็นต้องทำการตรวจทางวิทยาภูมิคุ้มกัน เพื่อหาแอนติเจนของพยาธิตัวแก่ในเลือดเสียก่อน เพราะถึงแม้จะตรวจเลือดไม่พบตัวอ่อน แต่ก็อาจจะมีตัวแก่ในหัวใจได้ ถ้าผลการตรวจเป็นลบ แสดงว่าไม่มีพยาธิหนอนหัวใจตัวแก่ สามารถเข้าโปรแกรมการป้องกันได้เลย แต่ถ้าผลเป็นบวกแสดงว่ามีตัวแก่อยู่ในหัวใจ ต้องฉีดยาทำลายตัวแก่ก่อน จากนั้นจึงเข้าโปรแกรมการป้องกัน

 


   
ปลาน้ำจืดไทย   ป่าเขา-ทะเลไทย   เที่ยวจัง!...ตังค์จะหมดแล้ว...

 

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ

 

 รศ..สพ.กมลชัย ตรงวานิชนาม

โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตร บางเขน

 Internet

http://kah.kasetanimalhospital.com

http://www.starpett.com


 

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับน้องตูบ
- หมาจ๋า [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
- อีฮโยริ ควงแฟนหนุ่มสร้างบ้านให้หมาจรจัด [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
- “Pet Master”ฌาปนกิจสัตว์เลี้ยงครบวงจรเอาใจคนรักน้องหมา [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
- คนรักหมาบุกรัฐสภา ร้องออก พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
- จะดูยังไงว่าน้องตูบป่วยหรือเปล่า! [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
- สุนัขสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ? [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
- โรคมะเร็งในน้องตูบ [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
- โรคเบาหวานในน้องตูบ [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
- กระจกตาเสื่อมเนื่องจากไขมัน [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
- พยาธิหนอนหัวใจ [2 เมษายน 2555 15:56 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY