สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 4
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 937
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,528,320
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
4 กุมภาพันธ์ 2568
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
      
10  11  12  13  14  15 
16  17  18  19  20  21  22 
23  24  25  26  27  28   
             
 
โรคมะเร็งในน้องตูบ
[4 เมษายน 2555 11:39 น.]จำนวนผู้เข้าชม 48139 คน
 โรคมะเร็งในน้องตูบ

 
 

   มะเร็ง เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับสุนัขทุกตัว หากเจ้าของหมั่นสังเกตดูลักษณะความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดกับสุนัขและทำมาพบสัตวแพทย์ทันท่วงทีก็มีโอกาสที่สัตว์ป่วยจะหายจากมะเร็งได้

การสังเกตลักษณะผิดปกติ

   เจ้าของสัตว์สามารถสังเกตลักษณะความผิดปกติได้ง่ายๆ โดยสังเกตลักษณะการกินอาหารว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร, 
สังเกตลักษณะการขับถ่ายของสุนัขว่ามีความถี่ ลักษณะสิ่งขับถ่าย และอาการเบ่งหรือไม่ นอกจากนี้เวลาที่ทำการอาบน้ำสุนัขเจ้าของลองคลำ 
หรือลูบไปบนผิวหนัง แล้วดูว่ามีก้อนหรือตุ่มเนื้อ ที่ทำให้สุนัขเจ็บปวดหรือไม่ เป็นต้น หรืออาจสังเกตจาก 10 สัญญาณ อันตรายของโรคมะเร็ง

10 สัญญาณอันตรายของโรคมะเร็ง

1. มีการบวมขึ้นอย่างผิดปกติที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือมีการบวมโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. เกิดแผลที่ไม่หาย เป็นอย่างเรื้อรัง
3. น้ำหนังลดอย่างรวดเร็ว
4. มีเลือด หรือสารคัดหลั่งออกมาจากช่องเปิดต่างๆในร่างกาย
5. กินอาหารลดลง
6. มีกลิ่นเหม็นออกมา หรือมีกลิ่นตัวที่ผิดปกติ
7. กินอาหารไม่ได้ (ดูกินยาก, กลืนอาหารไม่ได้)
8. ไม่อยากออกกำลังกาย หรือออกกำลังได้ไม่นานเท่าเดิม
9. เจ็บขาเรื้อรัง
10. มีอาการหายใจลำบาก ปัสสาวะ หรืออุจจาระลำบาก



มะเร็งที่พบได้ในสุนัข

- สุนัขเพศผู้ ที่เป็นทองแดง (ลูกอัณฑะไม่อยู่ในถุงอัณฑะครบทั้ง 2 ลูก แต่อยู่ในช่องท้อง) เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น ลูกอัณฑะนี้จะมีขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อลูบที่หน้าท้องสามารถคลำพบนั้นมีโอกาสที่จะกลายเป็นเนื้อร้ายสูง ดังนั้นควรทำการผ่าตัดออกโดยเร็วเมื่อแน่ใจว่าสุนัขของท่านเป็นทองแดง เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงที่จะกลายเป็นมะเร็งที่อัณฑะในช่องท้องได้

- สุนัขเพศเมีย มีโอกาสเป็นมะเร็งที่เต้านม หากคลำเต้านมของสุนัข แล้วพบว่ามีก้อนน่าสงสัยให้รีบนำไปพบสัตวแพทย์เพื่อรีบทำการผ่าตัดเอาออกโดย ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง หรือปล่อยนานจนขนาดก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากและแตกออก ซึ่งการแก้ไขและการดูแลแผลจะยุ่งยากมากขึ้น แต่การทำหมันสุนัขเพศเมีย มีโอกาสช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งที่เต้านมมากขึ้น หากเริ่มทำตั้งแต่ก่อนสุนัข จะเป็นสัดครั้งแรก นอกจากนี้อาจพบเนื้องอกที่กระเพาะปัสสาวะสุนัขเพศเมียซึ่งจะมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือกระปริปกระปรอย การวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ

- การเกิดเนื้องอกที่ปาก หากสังเกตพบว่าสุนัขมีก้อนเนื้อที่บริเวณเหงือกในปากหรือคลำพบก้อนที่น่า สงสัยในบริเวณขากรรไกรทั้งสองข้างให้รีบนำมาพบสัตวแพทย์ เพราะมีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นมะเร็ง ถ้ามะเร็งยังไม่ลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง หรือไม่ลุกลามไปที่กระดูก อัตราการรอดชีวิตของสุนัขจะนานกว่า การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการฉายรังสีร่วมกับการผ่าตัด

- มะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยพบว่ามีต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ ทั้งบริเวณใต้คางและที่ขาหลังเจ้าของจะสังเกตพบว่าสภาพของสัตว์ปกติ กินอาหารได้ แต่มีก้อนใต้คางหรือตามลำตัวเท่านั้น มะเร็งชนิดนี้มักลุกลามไปที่ปอดหรือต่อมน้ำเหลืองในช่องอกและช่องท้อง ตับ ม้าม รักษาโดยใช้เคมีบำบัด หรือรักษาแบบพยุงอาการ

- ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น รอตต์ไวเลอร์, โดเบอร์แมนน์ และ เยอรมัน เชพเพิร์ด เป็นต้น มีโอกาสสูงที่จะเกิดเป็นมะเร็งที่กระดูก ซึ่งอาจสับสนกับการเกิดข้ออักเสบ หรือเข้าใจว่าเป็นกระดูกหัก เพราะสุนัขอาจมีอาการเจ็บปวด ไม่ใช้ขา ควรถ่ายภาพรังสีเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโดยจะพบลักษณะการเสื่อมของกระดูก และเจาะเอาชิ้นส่วนกระดูกไปวินิจฉัย (ซึ่งถือว่าเป็นการวินิจฉัยที่ยืนยันที่ดี) มักพบวิการที่ส่วนกระดูกของขาหน้าและกระดูกขาหลัง หรืออาจพบที่กระดูกสันหลัง การรักษาทำได้โดยการตัดออกก่อนที่มะเร็งจะลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งจะทำให้สัตว์มีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานมากขึ้น แต่ถ้ามะเร็งอยู่ในขั้นลุกลามการแก้ไขด้วยการผ่าตัดจะช่วยเพียงเพื่อให้ คุณภาพชีวิตของสัตว์ดีขึ้นหรือบรรเทาความเจ็บปวดลง

- มะเร็งชนิดที่พบได้บ่อยมากที่ผิวหนังของสุนัข คือ Mast Cell Tumour ลักษณะภายนอกคล้ายเป็นแผลธรรมดา รักษาแผลนานจนเรื้อรังก็ไม่หาย และขนาดของแผลก็โตมากขึ้น การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยนำเซลล์ที่แผลมาตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ เนื้องอกชนิดนี้พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์บ๊อกเซอร์ ลักษณะก้อนเนื้อจะมีเลือดไหลและมีการอักเสบแดงอย่างผิดปกติที่ผิวหนัง ถ้าทิ้งไว้นานจนก้อนเนื้อมีขนาดโตขึ้นจะแตกออก และมีการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการอื่นๆ เช่น โลหิตจาง เสียเลือด เกิดกระเพาะอาหารเป็นแผล เป็นต้น รักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อที่ผิวหนังออกโดยเร็ว หากพบว่าเนื้อร้ายได้ลุกลามลึกมากแล้ว การแก้ไขด้วยวิธีการผ่าตัดอาจไม่ใช่วิธีการรักษาที่ดีที่สุดนัก เพียงแต่ช่วยพยุงอาการไว้



มะเร็งร้ายกับสุนัขของท่านที่ไม่ควรมองข้าม

     ช่วงไม่กี่ปีมานี้ โรงพยาบาลสัตว์ของเรามักพบเคสโรคมะเร็งบ่อยมากขึ้น และที่พบมากขึ้นได้แก่มะเร็งที่มักเกิดในสุนัขพันธุ์ใหญ่ ได้แก่  Golden Retriever ได้แก่ การเกิดมะเร็งที่ม้ามที่มีชื่อว่า Hemangiosarcoma

 มะเร็งชนิด Hemangiosarcoma นี้เป็นอย่างไร

    โรคมะเร็งชนิดนี้ถือว่าเป็นมะเร็งที่ไม่สามารถรักษาหายได้ โดยจะเกิดในหลอดเลือดและสามารถแพร่กระจายได้ง่าย พบได้บ่อยในสุนัขในอัตรา 5-7% ของประชากรสุนัขที่เป็นโรคมะเร็ง มักพบในสุนัขที่มีอายุเกิน 6 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะในสุนัขพันธ์โกลเด้นส์เป็นส่วนใหญ่
     อวัยวะในร่างกายที่พบบ่อย ได้แก่ ม้าม หัวใจห้องบนด้านขวา หรือในชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง สามารถแพร่กระจาย Metastasis ต่อไปยังอวัยวะที่สำคัญภายในร่างกายและน้ำเหลืองในกระแสเลือด
    เป็นที่น่าสังเกตุว่า มะเร็งชนิดนี้กว่าจะตรวจพบอาการ มักจะลุกลามหรือเกิดภาวะหลอดเลือดแตกไปแล้ว ทำให้การรักษาไม่ว่าทางใดจะไม่ได้ผล เพราะเกิดการแพร่กระจายไปในกระแสเลือดและน้ำเหลือง ปอด ตับ ลำไส้ ทำให้เกิดภาวะเลือดออก มีผลทำให้ค่าความเข้มข้นในเม็ดเลือดแดงต่ำลงเรื่อยๆ  (Hct มักน้อยกว่า 30) หากค่าดังกล่าวลดต่ำกว่า 25 จะต้องรีบให้เลือด Blood Transfusion เพื่อยืดเวลาการเสียชีวิต  แต่ในที่สุดสัตว์มักจะช๊อค และเสียชีวิตในที่สุด
   
สาเหตุการเกิดมะเร็งชนิดนี้
 
    พบว่าโอกาสการรอดชีวิตหลังการผ่าตัดโดยตัดเอาม้ามออกอยู่ที่  90 วัน   หรือในบางรายที่มีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดสามารถอยู่ได้นาน 180 วัน แต่ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพของตัวสุนัขเป็นหลัก
   ยังไม่มีใครบอกได้ เพียงแต่มีรายงานว่าพบบ่อยในสุนัขมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น โดยเฉพาะในกลุ่มพันธุ์สุนัขที่เสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้  Cancer is genetic disease, although it is not heritable หมายความว่า แม้มะเร็งจะเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะถ่ายทอดกับลูกทุกตัวได้เสมอไป  ในปัจจุบันมีการรักษาทางเลือกสำหรับโรคมะเร็งชนิดนี้ เช่น ชนิดของอาหาร สมุนไพรต่างๆ แต่ยังไม่มีการยืนยันในความสำเร็จการรักษานี้

   
อาการทั่วไปที่มักตรวจพบ
 
   เมื่อสัตวแพทย์ทำการซักประวัติอย่างละเอียด โดยทั่วไปมักพบอาการเบื้องต้นไม่รุนแรง เช่น แสดงอาการอ่อนเพลีย บางตัวขาไม่มีแรง ซึม บางตัวไม่ทานอาหาร มีอาเจียน เป็นต้น  ถ้าหากสัตวแพทย์ไม่ได้นึกถึงหรือทำการตรวจละเอียดอาจทำให้การวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคของระบบกระดูกหรือระบบประสาทก็ได้ 
     ดังนั้นการที่เจ้าของสัตว์ยินยอมให้สัตวแพทย์ทำการตรวจละเอียด ได้แก่ การทำเอกเรย์ การตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง การวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะสามารถช่วยลดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยได้เป็นอย่างมาก และหากเรารู้ผลแต่เนิ่นๆก็ยังเป็นโอกาสดีจะป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายต่อไป และสิ่งสำคัญที่สัตวแพทย์ควรคำนึงถึงในสุนัขที่พบว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้ คือ มะเร็งชนิดนี้มีผลต่อหัวใจ ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เรียกว่า  Ventricular arrhythmia คือ จะทำให้หัวใจเต้นเร็วมาก ( เกินกว่า 150 ครั้ง/นาที ) ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง รวมทั้งตัวหัวใจเองก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกไปได้ เกิดภาวะสมองและอวัยวะสำคัญต่างๆ ขาดเลือด  เกิดภาวะช๊อคอย่างเฉียบพลัน และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นอย่างมาก
     โรงพยาบาลสัตว์สัตวแพทย์ 4  ทุกครั้งที่มีการวินิจฉัยและพบว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ สัตวแพทย์ด้านโรคหัวใจของเราจะเข้ามาตรวจดูความผิดปกติของหัวใจและทำการแก้ไขสภาพความผิดปกติของหัวใจก่อนการผ่าตัด โดยการติด Telemetry  (ตามรูป) เพื่อบ่งบอกให้เห็นความผิดปกติของการเต้นของหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงและสามารถรีบแก้ไขได้ทันเวลา  เพราะถ้าไม่มีเครื่องมือ Telemetry ดังกล่าวจะไม่สามารถบอกได้ว่าในขณะนั้นตัวสัตว์มีภาวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติอยู่ 
 
 การแก้ไข
 
   อาการหัวใจเต้นผิดปกติ โดยการใช้ยาฉีดและยากิน พบว่าจะสามารถช่วยยืดเวลาจากภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด โอกาสที่รอดชีวิตหลังการผ่าตัดจะมีมากขึ้น พบว่าหลังการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกไป อาการผิดปกติในเรื่องการเต้นของหัวใจจะหายไป สัตว์ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานยาโรคหัวใจต่อ
  
คำแนะนำเพิ่มเติม 
 
   เจ้าของสุนัขพันธุ์ใหญ่ โดยเฉพาะโกลเด้น ลาบาดอร์ อัลเซเชียน บ๊อกเซอร์ ที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ควรที่เจ้าของสุนัขจะพามาตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติ อย่างน้อย ทุก 6 -12   เดือน และเมื่อเห็นความผิดปกติ ควรรีบทำการผ่าตัดด้วยการผ่าตัดเอาม้ามออก จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคที่แพร่กระจาย หรือว่าสายเกินแก้ไข
   อาการผิดปกติของสุนัขที่เราห้ามมองข้าม หรือนิ่งนินใจเป็ยอันขาด เพราะหากมองข้ามอาการป่วยเหล่านี้ไปก็อาจทำให้สัตว์เลี้ยงแสนรักของเรา แสดงอาการเข้าขั้น  อาจบาดเจ็บถึงตาย ได้นะค่ะ ซึ่งรวบรวมได้ 8 อาการป่วยที่ห้ามพลาดดังนี้เลยค่ะ



อาการที่ 1 : หายใจผิดปกติ

หากสุนัขแสดงอาการหายใจผิดปกติไป เช่น หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ หอบ หายใจด้วยช่องท้อง หรือหายใจขัด นั่นบ่งบอกถึงปัญหาโรคหัวใจ โรคปอดอักเสบ ปอดบวม ปอดชั้น น้ำท่วมปอด หรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จนถึงมะเร็งปอดได้

อาการที่ 2 : ท้องเสียเกิน 2 วัน

ในกรณีท้องเสียธรรมดานั้นอาจเกิดจากปัญหาจากอาหารจากอาหารที่เสาะท้อง ซึ่งมักจะเป็นเพียงประเดี๋ยวประด๋าวก็หาย แต่หากยังมีอาการท้องเสียเกิน 2 วัน เราจำเป็นต้องพาน้องหมาไปหาหมอโดยด่วนแล้ว เพราะโรคท้องร่วงนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาภาวะร่างกายขาดน้ำขั้นรุนแรงได้ โดยเฉพาะการเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือบิดมีตัว ซึ่งจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของต้นตอของเชื้อโรคให้ได้ หมอจะได้รักษาถูกโรค

อาการที่ 3 : อาเจียน

การอาเจียนเป็นครั้งคราวของสุนัขอาจจะมาจากสาเหตุของอาหารไม่ย่อย หรือกินของสกปรก เช่น ขยะเข้าไป ซึ่งสุนัขก็จะพยายามช่วยตัวเองโดยไปหาหญ้าขนมากิน ซึ่งหญ้าจะช่วยให้อาเจียนเจ้าเศษอาหารไม่ย่อยเหล่านั้นออกมาและเมื่อได้อาเจียนเอาของเสียออกมาแล้ว สุนัขก็หายป่วยได้ แต่ถ้าสุนัขของเราอาเจียนหลายครั้งหลายวัน ก็ควรจะรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล เพราะสาเหตุของการอาเจียนนั้นอาจมาจากการอุดตันในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ หรือสัตว์มีปัญหาตับไตผิดปกติ รวมถึงตับอ่อน อักเสบหรือโรคไทรอยด์
ถ้าหากอาเจียนชั่วโมงละหลายครั้ง ท่านให้ระวังสารพิษหรือยาเบื่อสุนัขที่สุนัขโดนวางยาเข้าไป ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลสัตว์ทันที 

อาการที่ 4 : กระหายน้ำบ่อยขึ้น

การกินน้ำบ่อยขึ้น กินน้ำเยอะขึ้นนั้นเราสามารถสังเกตได้จากการที่เราต้องเติมน้ำกินให้สุนัขของเราบ่อยขึ้นในแต่ละวัน อาการกินน้ำบ่อยหรือกินน้ำเยอะขึ้นนั้น บ่งบอกถึงโรคเบาหวานสารพิษ โรคไตหรือโรคตับ

อาการที่ 5 : ฉี่บ่อยขึ้น

อาการฉี่บ่อยขึ้นนั้นอาจเกิดร่วมกับอาการกระหายน้ำบ่อยได้ เช่น โรคเบาหวาน ฯลฯ แต่อาการปัสสาวะบ่อยขึ้นก็อาจมาจากโรคไต หรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้
ในกรณีที่สุนัขไปปัสสาวะในสนามหญ้าหลังบ้านเป็นประจำก็อาจสังเกตอาการฉี่บ่อยได้ค่อนข้างลำบากหน่อย



อาการที่ 6 : ไม่ยอมกินอาหารเกิน 48 ชั่วโมง

บางทีสุนัขก็อาจเบื่ออาหารได้ ซึ่งส่วนใหญ่สุนัขมักจะเริ่มกินอาหารเองหลังจากที่ไม่ได้กินอาหารมา 1 วัน แต่อย่างไรก็ตามหากเกิน 48 ชั่วโมงแล้ว สุนัขยังไม่ยอมกินอาหารเลยนั้น บ่งบอกถึงเรื่องไม่ธรรมดาแล้ว สุนัขมักจะเริ่มป่วยหนักแล้ว ให้รีบพาหาหมอโดยด่วน

อาการที่ 7 : ปวดเบ่งปัสสาวาหรือเบ่งอุจจาระ

หากสุนัขแสดงอาการปวดเบ่งปัสสาวะ หรือเบ่งอุจจาระ เช่น มีการส่งเสียงร้องครวญครางตอนเบ่งอึหรือเบ่งฉี่แล้วล่ะก็ แปลว่าสุนัขกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยถึงปัญหาทางเดินปัสสาวะอุดตัน (เช่นมีก้อนนิ่ว) โรคไต, ท้องผูกรุนแรง หรือต่อมลูกหมากโต ฯลฯ

อาการที่ 8 : ถ่ายดำหรือมีเลือดปนในอุจจาระ

อาการถ่ายดำนั้นมักจะมาจากอาการลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืต่อมก้นอักเสบ แต่หากเจ้าของให้สุนัขกินตับมากๆหรือกินยาบำรุงเลือดก็อาจทำให้อุจจาระสีดำได้ ส่วนอุจจาระมีเลือดปนนั้นแสดงว่ามีเลือดออกในลำไส้ มะเร็งลำไส้ พยาธิลำไส้ หรือมีสิ่งแปลกปลอมในลำไส้ เช่น กินเศษกระดูกเข้าไป

 


   
ปลาน้ำจืดไทย   ป่าเขา-ทะเลไทย   เที่ยวจัง!...ตังค์จะหมดแล้ว...

 



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 /สพ.ญ.มนัสนันท์ ธาราทรัพย์ /http://www.vet4polyclinic.com /
http://www.thaiaga.org / http://www.dogthailand.net / http://www.petgang.com

 

http://www.thaithesims3.com /http://www.dogdigg.com / http://farmthaionline.com                     

   
 


[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับน้องตูบ
- หมาจ๋า [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- อีฮโยริ ควงแฟนหนุ่มสร้างบ้านให้หมาจรจัด [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- “Pet Master”ฌาปนกิจสัตว์เลี้ยงครบวงจรเอาใจคนรักน้องหมา [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- คนรักหมาบุกรัฐสภา ร้องออก พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- จะดูยังไงว่าน้องตูบป่วยหรือเปล่า! [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- สุนัขสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ? [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- โรคมะเร็งในน้องตูบ [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- โรคเบาหวานในน้องตูบ [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- กระจกตาเสื่อมเนื่องจากไขมัน [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- พยาธิหนอนหัวใจ [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY