|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
8
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
838
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,470,114
|
|
|
|
|
21 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ฟักทอง
[31 พฤษภาคม 2554 14:42 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6403 คน |
|
ฟักทอง
ชื่ออื่น ฟักทอง (กลาง) มะฟักแก้ว ฟักเขียว มะฟักข้าวเหนียว (เหนือ) น้ำเต้า (ใต้) มะน้ำแก้ว (เลย) หมักคี้ส่า (กระเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) หมักอื้อ (ปราจีนบุรี, เลย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นแข็งปานกลาง กลมหรือเหลี่ยมมน ๆ 5 เหลี่ยม มือเกาะมี 3 - 4 แขนง
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ขอบใบหยัก เว้าเป็นแฉกตื้น ๆ ปลายใบมน มีขนทั้งสองด้านแผ่นใบรูปกลม รูปไต โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ
ดอก ดอกเดี่ยวออกตามง่ามใบ ดอกตูมปลายแหลม ดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ
ผล รูปร่างกลมแป้นเป็นพูเล็ก ๆ รอบผลผิวไม่แข็ง สีเขียวอมน้ำเงินหรืออมเทาด่างเหลืองอมเขียวหรือสีส้มเข้ม ตรงกลางฟูพรุน เมล็ดมีจำนวนมาก แบน ขอบแข็งเป็นสันสีเข้ม
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อนใช้แกงกับเห็ดไข่เหลือง เห็ดไข่ขาวหรือเห็ดโคน แกงแคร่วมกับผักชนิดต่าง ๆ หรือผัดกับไข่ ลูกอ่อนแกงกับหน่อไม้ยอดอ่อน ผลอ่อนนึ่งรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ผลแก่แกงบวด ผัดกับไข่ ทำขนมบวชชี แต่งสีอาหาร
คุณค่าทางโภชนาการ
เนื้อฟักทองมีวิตามินเอสูงมาก ส่วนที่กินได้ 100 กรัม มีวิตามินเอ 2,458 I.U. มีฟอสฟอรัส แคลเซียม มีวิตามินซี แป้ง สารสีเหลือง โปรตีน และอื่น ๆ ใบอ่อน มีวิตามินสูงเท่ากับในเนื้อ มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ และมีสารอ่อน ๆ ดอกมีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มัวิตามินซีเล็กน้อย เมล็ด มีน้ำมัน แป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีน วิตามิน
ใช้เป็นยา
เมล็ด ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ และบำรุงร่างกาย
ราก บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่น
น้ำมันจากเมล็ด บำรุงประสาท เยื่อกลางผล แก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
ที่มา : หนังสือ "บทสวดมนต์ไหว้พระ...กินเป็นลืมป่วย" เรียบเรียงโดย นิพนธ์ วีระธรรมานนท์ |
|
|
|