|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
13
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,492
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,450,309
|
|
|
|
|
4 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
มะขามเทศ
[16 กันยายน 2554 14:07 น.]จำนวนผู้เข้าชม 9987 คน |
|
มะขามเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.
ชื่อสามัญ : Madras Thorn, Manila Tamarind
ชื่อวงศ์ : Fabaceae - Mimosoideae
ชื่ออื่น ๆ : มะขามเทศ (ภาคกลาง), มะขามข้อง (ภาคเหนือ)
มีถิ่นกำเนิดในแม็กซิโกและอเมริกากลาง ในไทยพบขึ้นทั่วทุกภาค เป็นไม้ต้นที่สูงได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนของต้นมีหนามแหลม ใบประกอบแบบขนนก ที่มีใบย่อยออกตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ที่ไม่มีก้านใบ ช่อดอกออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ผลิบานในช่วงฤดูหนาว แต่ละดอกมีเกสรเพศผู้สีขาวนวลจำนวนมาก ส่วนกลีบดอกมีขนาดเล็กมาก ผลเป็นฝักบิดเป็นเกลียว เมื่อแก่จะแตกออก ภายในมีเนื้อสีขาวกรอบห่อหุ้มเมล็ดแบนสีดำไว้
วิธีบริโภค
หลายคนอาจคิดว่ามะขามเทศไม่น่าจะกินเป็นผักได้ แต่ทั้งเนื้อฝักอ่อนและแก่นำมาทำแกงส้ม อร่อยได้ไม่แพ้ผัก โดยเฉพาะต้นที่มีรสฝาดไม่อร่อยเมื่อกินเป็นผลไม้ ปัจจุบันมีพันธุ์ไร้หนามซึ่งสะดวกต่อการเก็บมาบริโภคมากขึ้น ทั้งยังให้เนื้อหนาและอร่อยกว่าพันธุ์มีหนาม
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
ด้านสมุนไพร แก้ท้องร่วง โดยเฉพาะฝัก ช่วยขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือดหรือล้างแผล ช่วยดูดน้ำเหลือง ลดการติดเชื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ปวดฟัน รักษาแผลในปากและคอ
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 2" โดย อุไร จิรมงคลการ |
|
|
|