|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
962
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,476,525
|
|
|
|
|
26 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
มะดัน
[24 มิถุนายน 2554 15:26 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5953 คน |
|
มะดัน
มะดันเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๔-๕ เมตร ใบหนาทึบเขียวเข้ม ด้านบนใบเข้มเป็นมัน ไม่มีขน เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ปลายแหลม กว้างราว ๖ เซนติเมตร ยาวราว ๑๒ เซนติเมตร ดอกขนาดเล็กออกตามกิ่ง กลีบรองดอกสีเหลืองอมขาว กลีบดอกสีชมพู เกสรสีเหลือง ผลทรงกระบอกยาว ปลายแหลม ยาวราว ๖ เซนติเมตร ผิวบางเรียบสีเขียวฉ่ำน้ำ เป็นมันภายในมีเมล็ด ๓-๖ เมล็ด ยาวตามผล หากเมล็ดใดลีบผลด้านนั้นจะเบี้ยวงอ
บางต้นมีกิ่งเล็กๆไม่มีใบอยู่รวมกันเป็นกระจุก เรียกว่า รกมะดัน
มะดันในฐานะผัก
มะดันเป็นพืชที่ให้รสเปรี้ยว ใช้ในการปรุงรสอาหารไทยมากกว่าใช้เป็นผักโดยตรง ส่วนที่นำมาใช้ปรุงคือใบอ่อนและผล ส่วนผลมีรสเปรี้ยวจัดใช้แทนมะนาวได้ดี เช่น ตำน้ำพริกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำพริกพริกไทยอ่อน น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกทรงเครื่อง น้ำพริกหมูสับกากหมู เป็นต้น นอกจากนั้นก็ใส่ในแกงที่ต้องการความเปรี้ยว เช่น แกงส้ม ต่างๆ และต้มยำ
สำหรับใบอ่อนมะดันซึ่งมีรสเปรี้ยวเหมือนกันแต่น้อยกว่าผล ใช้ใส่แกงส้มได้เช่นเดียวกับผล และใช้ในการดองเปรี้ยวผัก เช่น ผักบุ้ง ผักเสี้ยน เป็นต้น
น่าสังเกตว่า อาหารไทยหลายชนิดต้องการรสเปรี้ยว ซึ่งคนไทยใช้พืชหลายชนิด เช่น มะนาว มะม่วง มะอึก มะดัน มะขาม ฯลฯ ซึ่งใช้แทนกันได้ แต่หากต้องการรสชาติเฉพาะแล้ว แต่ละชนิดจะให้ความเปรี้ยวที่แตกต่างกัน เป็นความหลากหลายที่ทำให้อาหารไทยมีความพิเศษไม่ซ้ำซากจำเจ แม้แต่ในพืชชนิดเดียวกัน เช่น มะนาว คนไทยก็ยังเลือกมะนาวพื้นบ้านที่น้ำหอมกลิ่นมะนาว และไม่ชอบมะนาวบางชนิด(เช่น มะนาวตาฮิติหรือมะนาวควาย) เพราะรสและกลิ่นไม่ดีเท่ามะนาวพื้นบ้านนั่นเอง
ประโยชน์ด้านอื่นๆของมะดัน
แพทย์แผนไทยใช้มะดันประกอบเป็นยาสมุนไพรได้หลายขนาน ในตำราสรรพคุณสมุนไพร บรรยายสรรพคุณไว้ดังนี้
รก ใบ : รสเปรี้ยว แก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกเลือด ระบายอ่อนๆ แก้เสมหะในลำคอ ขับปัสสาวะ
ลูก : รสเปรี้ยว แก้ไอ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว ขับปัสสาวะ ฟอกเลือด ใช้ปรุงอาหาร
ใบ รก ลูก : ปรุงเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม ฟอกเสมหะ แก้ประจำเดือนพิการ แก้ไอ
ผลมะดันนำมาดองน้ำเกลือ กินแก้น้ำลายเหนียว เป็นเมือกในลำคอ
นอกจากใช้เป็นยาแล้ว ผลมะดันยังนิยมใช้เป็นของหวาน โดยนำมาดอง แช่อิ่ม หรือเชื่อม เป็นผลไม้ดองยอดนิยมชนิดหนึ่งของคนไทยในปัจจุบัน
เนื่องจากมะดันเป็นไม้ทนน้ำท่วมขังดีที่สุดชนิดหนึ่ง จึงเหมาะสำหรับปลูกในบริเวณที่อาจเกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะภาคกลางหรือเขตกรุงเทพมหานคร เพราะตัดปัญหาถูกน้ำท่วมตายได้แน่นอน นอกจากนั้นทรงพุ่มมะดันยังงดงามใช้เป็นไม้ประดับสถานที่ได้ดี ปัจจุบันมะดันส่วนใหญ่เกิดจากการเพาะเมล็ด จึงมีความแตกต่างหลากหลายสูง บางต้นผลโตและดกกว่าปกติ บางต้นก็ออกผลปีละหลายครั้งต่างจากปกติที่มักออกผลปีละครั้งเดียว หากมีการคัดเลือกอย่างจริงจังก็จะได้พันธุ์มะดันที่มีคุณสมบัติพิเศษดียิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน(เช่นเดียวกับมะกอกน้ำที่พัฒนาไปก่อนแล้ว) ซึ่งจะทำให้มะดันเป็นที่นิยมปลูกกันมากขึ้น ประโยชน์แท้จริงที่คนไทยได้รับจะมีมากกว่าการนิยมปลูกไม้ผลที่มาจากต่างประเทศ ดังเช่น กระบองเพชรบางชนิดที่เรียกว่าแก้วมังกร เป็นต้น
ที่มา : http://www.doctor.or.th/node/2668 |
|
|
|