|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
12
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,048
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,490,880
|
|
|
|
|
7 มกราคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
มะยม
[3 ตุลาคม 2554 15:29 น.]จำนวนผู้เข้าชม 7025 คน |
|
มะยม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อสามัญ : Gooseberry Tree, Star Gooseberry
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่ออื่น ๆ : มะยม (ทั่วไป)
กระจายพันธุ์ทางตอนใต้ของทวีปเอเชียและเขตร้อนของทวีปอเมริกา เป็นไม้พุ่ม อายุหลายปี สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นขรุขระ ใบรูปไข่ ปลายแหลม เรียงสลับกัน ยอดอ่อนมีสีแดงเรื่อ ช่อดอกออกตามกิ่งก้านและลำต้น มีดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก มีกลีบรวม 6 กลีบ สีเหลืองอ่อน สำหรับต้นดอกเพศผู้ สังเกตง่าย ๆ คือ ออกดอกแล้วไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกเพศเมียจะติดผลกลมแป้น มีรอยหยักเว้าเป็นพู 5 - 6 พู เมื่อแก่มีสีเหลืองอ่อน
วิธีบริโภค
ยอดอ่อนที่มีสีแดงเรื่อรสฝาดมัน กินกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ อาหารรสจัดต่าง ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอด ให้ฟอสฟอรัสและวิตามินซีสูง ชาวญวนใช้ใบมะยมสดมาห่อแหนมก่อนห่อด้วยใบตอง เพราะทำให้มีรสเปรี้ยวช้า เก็บได้นานโดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น ส่วนผลมีในช่วงปลายฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน ใช้ปรุงอาหารเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว เช่น แกงคั่ว หรือใส่ในส้มตำแทนมะละกอ และกินเป็นผลไม้ ถ้ามีมากนำมาเชื่อม ดอง กวน ทำแยม กินเป็นขนม หรือทำเครื่องดื่ม ให้แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีพอควร
ประโยชน์อื่น ๆ
ด้านสมุนไพร นิยมใช้รากของมะยมต้นตัวผู้มาปรุงยาแก้โรคผิวหนัง ช่วยขับน้ำเหลือง ขับพิษ เพราะเชื่อว่ามีตัวยาแรงกว่า เปลือกต้นแก้ไข้ทับระดู ใบใช้เป็นส่วนผสมในยาเขียว ช่วยลดไข้ หรือนำมาต้มกับใบมะเฟือง หมากผู้หมากเมีย ใช้อาบแก้ลมพิษ แก้ไข้ หัด อีสุกอีไส และแก้คันได้ผลดี
ข้อควรระวัง
รากมะยมมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ได้ โดยตำผสมกับอาหาร ถ้าคนกินจะเกิดอาการเมา คลื่นเหียนอาเจียนได้
เกร็ด
มะยมเป็นไม้มงคลที่ควรปลูกในทิศตะวันตก จะทำให้มีคนนิยมชมชอบ มีเมตตามหานิยม ในงานพิธีต่าง ๆ มักนำใบมะยมมามัดรวมกันและใช้ประพรมน้ำมนต์ ถ้ารูดใบออกให้เหลือแต่ก้านก็ตีเจ็บนัก บ้างก็ใช้ในพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้คนรักใคร่ โดยนำเนื้อไม้มะยมมาแกะสลักเป็นตุ๊กตาเล็ก ๆ คู่กับตุ๊กตาที่ทำจากไม้รัก ใส่ในขวดเล็ก ๆ แช่น้ำมันจันทน์ แล้วนำมาปลุกเสก
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 2" โดย อุไร จิรมงคลการ |
|
|
|