|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
8
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,483
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,450,300
|
|
|
|
|
4 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
มะรุม
[23 กันยายน 2554 15:59 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6038 คน |
|
มะรุม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.
ชื่อสามัญ : Drumstick Tree, Horse Radish Tree
ชื่อวงศ์ : Moringaceae
ชื่ออื่น ๆ : มะรุม (ภาคกลาง, ภาคใต้), มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
กระจายพันธุ์ในเอเชีย แถบอินเดีย ศรีลังกา เป็นไม้ต้น ทรงพุ่มโปร่ง สูงถึง 15 เมตร มีใบประกอบแบบขนนกสองถึงสามชั้น ปลายคี่ ออกเวียนรอบกิ่ง ใบย่อยรูปรี ปลายมน ออกตรงข้ามกัน ช่อดอกออกที่ซอกใบปลายยอด ดอกสีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ ผลิบานในช่วงปลายฝนต้นหนาว ผลเป็นฝักทรงกระบอกเล็ก ปลายแหลม ยาวกว่า 50 ซม. ผิวนอกหยักเป็นร่องตามแนวยาวคล้ายไม้ตีกลอง เมื่อแก่มีสีน้ำตาล แตกตามร่อง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก แต่ละเมล็ดมีปีกสามปีกที่ช่วยแพร่พันธุ์
วิธีบริโภค
ยอดอ่อนและช่อดอกกินเป็นผักสด หรือนำมาต้ม ลวก จิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงส้ม แกงเลียง มีรสขมเล็กน้อย ฝักอ่อนปอกเปลือก หั่นเป็นท่อนใส่ในแกงส้ม แกงลาวของชาวอีสาน หรือนำฝักอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมากินเป็นผักสดกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ ให้วิตามินซีสูง มีตลอดปี แต่มีมากช่วงฤดูหนาว ถ้าเป็นต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด หลังปลูก 2 - 3 เดือน รากจะขยายขนาดเป็นหัว ใช่ใส่ในแกงส้มได้ กล่าวกันว่ามะรุมมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ข้าวเจ้าที่มีฝักผอมสั้น เนื้อน้อย เมล็ดใหญ่ และพันธุ์ข้าวเหนียว ฝักยาว อวบอ้วน เนื้อหนา เมล็ดเล็ก ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากกว่า
ประโยชน์อื่น ๆ
ด้านสมุนไพร รากแก้ปวดบวม บำรุงกำลัง เปลือกช่วยขับลม ทำให้เรอ หรือนำเปลือกต้นมาบุบให้แตกอมไว้ข้างแก้มเวลาดื่มสุราจะไม่รู้สึกเมา ใบแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ดอกเป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ฝักแก้ไข้ เมล็ดสดเป็นยาแก้ปวดบวมตามข้อ น้ำมันจากเมล็ดสด (Behen Oil) ใช้ปรุงอาหาร ทำน้ำสลัด ทำเครื่องสำอาง น้ำหอม หรือใช้เป็นยาแก้ปวด และช่วยบำรุงหัวใจ
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 2" โดย อุไร จิรมงคลการ
|
|
|
|