|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
15
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,521
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,450,338
|
|
|
|
|
4 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ลูกอัมพวา หรือมะเปรียง
[15 พฤศจิกายน 2554 10:03 น.]จำนวนผู้เข้าชม 9434 คน |
|
ลูกอัมพวาหรือมะเปรียง ผลไม้พื้นบ้านที่หลายคนมองข้าม
ลูกอัมพวา หรือมะเปรียง เป็นผลไม้พื้นบ้าน คนที่เคยกินบอกว่ารสชาดเหมือนชมพู่มะเหมี่ยว
ต้นอัมพวา หรือต้นมะเปรียงนี้เป็นพืชที่หายาก บางต้นมีอายุกว่าร้อยปี เป็นพืชดอกที่ออกตามต้น ดอกจะอยู่รวมกันเป็นกระจุก ก้านดอกมีเกล็ดน้ำตาลหุ้มอยู่ ดอกมีสีเหลือง ขาวแซมม่วงเล็กน้อย ผลมีรูปร่างแบนคล้ายมะม่วง แต่มีรอยหยักไม่น่าดู ผลอ่อนมีสีน้ำตาลแกมเขียวเมื่อเจริญขึ้นมีสีเหลือง ผลดิบมีรสคล้ายมะม่วงดิบ เมื่อผ่ากลางจะมีลักษณะเมล็ดคล้ายมะม่วง ผลสุกขนาดใหญ่ประมาณ 200 กรัม มีสีเหลือง และเมล็ดสีน้ำตาล เมื่อออกผลแล้วนาน 2 - 3 เดือนจึงสุก
เดิมเรียกว่าต้นมะเปรียง เป็นไม้ถิ่นของประเทศมาเลเซียและภาคใต้ของไทย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เจริญเติบโตได้ดีบริเวณชายน้ำ ใบมีสีเขียวอ่อนลักษณะยาวโค้ง ปลายใบมน ออกดอกเป็นช่อสีขาวตามลำต้น และจะพัฒนากลายเป็นผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปี ผลมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ชาวภาคใต้เรียกผล "ลูกคางคก" ตามลักษณะของผลที่มีผิวสีเทาปนเขียวและขรุขระ เมื่อร้อยกว่าปีก่อน มีผู้นำเมล็ดพันธุ์มาปลูกที่อำเภออัมพวา ชาวบ้านที่นี่เห็นเป็นไม้แปลกและที่อื่นในละแวกใกล้เคียงไม่มี จึงเรียกว่าต้นอัมพวา ตั้งแต่นั้นมา
ต้นไม้ต้นนี้โดยเฉพาะชาวอัมพวาที่จังหวัดสมุทรสงคราม เรียกกันว่า "ต้นอัมพวา" และเชื่อว่าเป็นไม้ประจำถิ่นของอำเภออัมพวามานับร้อย ๆ ปีแล้ว ปัจจุบันในพื้นที่ดังกล่าวพบเห็นต้นชนิดนี้อยู่ไม่ถึง 10 ต้น ทำให้ไม่ค่อยมีผู้ใดรู้จัก
ลักษณะผลข้างใน เวลารับประทานต้องปอกเปลือกรับประทานเฉพาะเนื้อ และชั้นในจะเป็นเมล็ด
ที่มา : Forward Mail
|
|
|
|