|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
965
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,476,528
|
|
|
|
|
26 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ส้มป่อย
[18 กรกฎาคม 2554 15:20 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6281 คน |
|
ส้มป่อย
ชื่อทั่วไป : ส้มป่อย หรือส้มขอน (ภาคกลาง) ส้มป่อย (ภาคเหนือ) ส้มใบ ส้มป่อย (ภาคใต้)
ประเภท : ไม้เถา
ลักษณะวิสัย : ส้มป่อยเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ ตามลำต้นแผ่กิ่งก้าน มีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อกลมเป็นพู่เหมือนดอกกระถิน ออกตามปลายกิ่ง ฝักแบนยาว คล้ายถั่วลันเตาสีน้ำตาลดำ ขอบเป็นคลื่น ผิวย่น มีสารกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20% ตีกับน้ำจะเกิดฟองคงทนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ประโยชน์ : ส้มป่อยมีความสัมพันธ์กับวิถีคนอีสานอย่างมาก ยอดอ่อนใช้กินเป็นอาหาร และประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น เผาใส่ในน้ำมนต์ เป็นการรักษาและป้องกันโรคต่าง ๆ หรือใช้เป็นอุปกรณ์พรมน้ำมนต์ ในส่วนของฝักมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่ม (saponin) ได้แก่ acacinin A, B, C, D และ E
สรรพคุณทางสมุนไพร : ใช้ใบต้มอาบแก้โรคผิวหนัง และเป็นยาขับเสมหะ
ลักษณะทั่วไป : ส้มป่อยเป็นไม้เลื้อย มีเถาเป็นเนื้อไม้และมีหนามที่เปลือกของลำต้น ลำต้นเลื้อนพาดพันต้นไม้อื่นได้ บริเวณยอดอ่อน เถาจะเป็นสีแดงคล้ำมีหนามอ่อน ใบเป็นใบประกอบก้านใบประกอบยาว 6 - 16 ซม. ก้านใบยาว 1.5 - 5.2 ซม. ประกอบด้วยใบ 5 - 10 คู่ มีใบย่อย 10 - 35 คู่ในแต่ละก้าน ใบย่อยสีเขียวขนาดเล็ก ดอกจะแตกออกจากง่ามใบลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายดอกกระถิน และมีเกสรเป็นขนอ่อน ๆ รอบดอก เมื่อดอกแก่จะกลายเป็นฝักยาว ผลเป็นฝัก ผิวของฝักมีคลื่นขรุขระ ฝักยาว 10 - 15 ซม. เปลือกของฝักอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง พอแก่เป็นสีน้ำตาลเข้มเมล็ดเรียงอยู่ภายใน
สรรพคุณทางยา : ใบรสเปรี้ยว ฝาดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ขับระดูขาว แก้บิด ฟอกโลหิต แก้โรคตา ดอกรสเปรี้ยว ฝาด มัน แก้เส้นเอ็นพิการให้สมบูรณ์ ฝักรสเปรี้ยวเป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ทำให้อาเจียน แก้น้ำลายเหนียว แก้โรคผิวหนัง ช่วยขจัดรังแคและบำรุงเส้นผม เปลือกรสขมเปรี้ยว เผ็ดปร่า เจริญอาหารกัดเสมหะ แก้ไอ ซางเด็ก ต้นรสเปรี้ยวฝาดแก้ตาพิการ รากรสขม แก้ไข้ แก้ท้องร่วง
ประโยชน์ทางอาหาร : ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก และเครื่องปรุงรสช่วยให้อาหารมีรสเปรี้ยว และช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ ยอดส้มป่อยมักนำมาแกงกับปลา แกงส้ม หรือจอ (อาหารเหนือ) ก็ได้ เวลาแกงอาจจะใส่ยอดส้มป่อยอย่างเดียว หรือแกงรวมกับยอดมะขามอ่อนก็ได้
ประโยชน์อื่น ๆ : น้ำของฝักส้มป่อยใช้ขัดล้างเครื่องเงิน เครื่องทอง นอกจากนี้เปลือกต้นให้สีน้ำตาลและสีเขียวซึ่งใช้ประโยชน์ในการย้อมผ้า ย้อมแห และอวนได้
สารที่มีประโยชน์ในส้มป่อย : ในฝักมีสารชาโปนิน ซึ่งทำเป็นฟองคล้ายสบู่ / มีสารจำพวกกรดอินทรีย์ ที่ทำให้รสเปรี้ยว นำไปประกอบอาหารได้
ที่มา : http://www.thaigoodview.com
|
|
|
|