สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 3
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 21
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,476,712
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
27 ธันวาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
10  11  12  13  14 
15  16  17  18  19  20  21 
22  23  24  25  26  27  28 
29  30  31         
             
 
หมากเม่า (มะเม่า)
[15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5985 คน
หมากเม่า



      หมากเม่า (มะเม่า เม่าเสี้ยน มัดเซ) เป็นผลไม้ชั้นน้ำในเขตภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ส่วนภาคอื่น ๆ เรียกว่า "เม่า" ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma velutinosum Blume ในวงศ์ Stilaginaceae. เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ความสูงประมาณ 12 - 15 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม และผลจะสุกในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน

     มะเม่า เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากในป่าโปร่งจัดเป็นไม้ผลขนาดกลาง ลัษณะของผลมะเม่า จะออกผลเป็นพวงเหมือนพริกไทยอ่อน เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว และเมื่อผลสุกก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดงถึงม่วง ฤดูกาลที่ออกผลได้ดีคือ ช่วงต้นเดือนกันยายน ถึงปลายเดือนตุลาคม

     มะเม่า เป็นผลไม้สมุนไพร สายพันธุ์เดียวกับเบอร์รี่ มีบ้านเกิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย เป็นพืชที่นิยมมาทำเป็นไวน์ผลไม้ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่ต่างชาตินิยมเป็นอย่างมาก เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารมาก เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินซี, บี1, บี2 และวิตามินอี ทั้งยังให้แคลเซียมและธาตุเหล็กด้วย มีฤทธิ์ในการช่วยขับปัสสาวะ บำรุงไต แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้มดลูกอักเสบบวมช้ำ ขับเลือดและน้ำคาวปลา

ประโยชน์
     1.  ผลดิบสีเขียวอ่อน ประกอบอาหารคล้ายส้มตำเม่า
     2.  ผลแก่สีแดงมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่จัดสีดำม่วง จะมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้สด
     3.  ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบายและบำรุงสายตา ใบสดนำมาอังไฟเพื่อใช้ประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว เปลือกต้นเม่าใช้เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ
     4.  ผลหมากเม่าสุก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด แคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามิน B1 B2 C และ E 
     5.  ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น น้ำผลไม้ ไวน์เม่า แยม กวน สีธรรมชาติผสมอาหาร ฯลฯ
     6.  น้ำเม่าสกัดเข้มข้น 100% มีสารอาหาร วิตามินหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายรวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระ
     7.  ไวน์หมากเม่า มีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
     8.  กัมมาลและคณะ (2546) ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียของสมุนไพรไทย 5 ชนิด คือ มะเม่า ฟ้าทลายโจร หญ้าแห้วหมู ผักเป็ดแดง และสายน้ำผึ้ง พบว่า มะเม่า สายน้ำผึ้ง และหญ้าแห้วหมู มีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ได้

     ลักษณะดีเด่นของมะเม่า คือ มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการหลายชนิด เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินอี วิตามินบี 1 และบี 2 มีกรดอะมิโน และสารแอนโธไซยานิน ซึ่งให้สีม่วงแดง มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นดี โดยเฉพาะเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสายตา และยังมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการแก่ชราของเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย

ที่มา : Forward mail

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
พืชผักสวนครัวและผลไม้ไทย
- ลำพู [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
- มะเดื่อฝรั่ง(Fig) [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
- หน่อกะลา ถือเป็น ผักพื้นบ้าน ของ เกาะเกร็ด [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
- ต้นอ้อดิบ(ต้นคูน) [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
- ทุเรียนน้ำ...ทุเรียนเทศ...ทุเรียนแขก [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
- ดอกดาวเรืองกินได้ทั้งดอกและยอด [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
- ตะลิงปลิง...ผลไม้สุดเปรี้ยว...นี่ก็อีกต้นที่ปลูกหน้าบ้าน [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
- สัปปะรด พันธุ์เพชรบุรีที่กินได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
- ผักหนาม [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
- ต้นสาคู [15 สิงหาคม 2554 10:39 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY