|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
94
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,476,785
|
|
|
|
|
27 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เคล็ดวิชาให้ตูบรัก
[3 กันยายน 2553 09:36 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5655 คน |
|
เคล็ดวิชาให้ตูบรัก
หมาตัวแรกของครอบครัวเราชื่อ "มิคกี้"
ผมแต่งงานกับคุณรายละเอียด เมื่อปี 2515 ที่นครศรีธรรมราช แล้วพากันมาเริ่มชีวิตครอบครัวที่กาญจนบุรี ซึ่งผมได้รับคำสั่งให้มาประจำการอยู่ที่นี่หลังกลับจากไปราชการสงครามเวียดนาม
ครอบครัวของคุณนายละเอียดเป็นคนภาคกลาง คุณพ่อเธอเป็นทหารที่ย้ายมาจากราชบุรีมาอยู่ที่ค่ายวชิราวุธ นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ก่อนญี่ปุ่นบุกเมื่อ 8 ธันวาคม 2484 ก่อนเกษียณอายุราชการท่านก็ซื้อที่ดินไว้แปลงหนึ่งหลายสิบไร่ติด ๆ กับรั้วค่าย แล้วก็ทำสวนเป็นอาชีพเสริมส่งลูก ๆ เรียนหนังสือ ทำให้คุณนายละเอียดของผมกลายเป็นสาวชาวสวนไปด้วย
สวนกับหมานั้นเป็นของคู่กัน นอกจากนั้น การที่มีลูกสาวสวยหลายคน ทำให้บ้านสวนของเธออุดมไปด้วยหมาใหญ่น้อย คุณนายละเอียดของผมจึงคุ้นเคยกับหมามาแต่อ้อนแต่ออก ส่วนตัวผมเองนั้นพ่อเป็นตำรวจตระเวนชายแดนที่ย้ายไปโน่นมานี่ ตั้งแต่พวกเราจำความได้จึงอยู่บ้านหลวงกันมาโดยตลอด
ผมเองกับน้อง ๆ ล้วนชอบหมาด้วยกันทั้งนั้นแต่ไม่มีโอกาสเลี้ยงเป็นของตัวเองเลย เพราะต้องโยกย้ายตามพ่ออยู่เรื่อย ๆ นอกจากนั้นการอยู่บ้านหลวงของข้าราชการชั้นผู้น้อยซึ่งมีลักษณะเป็นห้องแถว ยิ่งทำให้เราไม่สามารถเลี้ยงหมาให้เป็นเรื่องเป็นราวได้ ผมจึงได้แต่แอบฝันมาตั้งแต่เด็กว่า ถ้ามีโอกาสเมื่อไหร่จะต้องมีหมาของตัวเองให้ได้
เรียนจบจากโรงเรียนนายร้อยเมื่อ พ.ศ. 2512 ในช่วงแรกของชีวิตราชการที่ยังเป็นโสด ประกอบทั้งช่วงเวลานั้นบ้านเมืองกำลังอยู่ในยุคสงครามเย็น ผมจึงยังหาโอกาสที่จะมีหมาเป็นของตัวเองไม่ได้อยู่ดี
กระทั่งมาพบกับคุณนายละเอียดว่าที่ภรรยาเข้านั่นแหละ ความคิดเรื่องการเลี้ยงหมาจึงทำท่าจะเป็นจริงขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเธอก็เป็นคนรักหมามาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว เราจึงตกลงกันอย่างง่ายดายว่าหลังแต่งงานแล้วบ้านเราต้องมีหมา ส่วนลูกนั้นเอาไว้ก่อนจนกว่าจะพร้อม
หลังแต่งงาน เราจัดบ้านช่องห้องหอเสร็จสรรพ อล้วก็นั่งรถเมล์เข้ากรุงเทพฯ มุ่งสู่ตลาดนัดสนามหลวงครั้งยังไม่มีสวนจตุจักร แล้วไปที่กรงหมา คุณนายละเอียดเธอไปติดใจลูกหมาพันธุ์ผสมระหว่างเทอเรียกับสปิตซ์เข้าตัวหนึ่ง สีขาวสะอาดตา อายุประมาณ 3 เดือน เป็นหมาตัวผู้ที่ทำท่าประจบฝากเนื้อฝากตัวเลียหน้าเลียตาคุณนายละเอียดจนผมอิจฉา จึงจ่ายเงินไป 350 บาท ในขณะที่เงินเดือนร้อยโทตอนนั้นประมาณ 1,500 บาทเท่านั้นเอง แล้วเราก็ได้หมาตัวแรกเข้าบ้าน
ผมเป็นคนตั้งชื่อให้เขาเองว่า "มิคกี้" ย่อมาจาก "มิคกี้ เมาส์" สอดคล้องกับชื่อเล่นจริง ๆ ของคุณนายละเอียด
ก่อนเข้าบ้าน ผมเห็นคุณนายละเอียดจับเจ้ามิคกี้หงาย แล้วพอมันอ้าปาก เธอก็หยดน้ำลายปริ๊ดหนึ่งเข้าไปในปากเจ้ามิคกี้ เมื่อเห็นคำถามในตาผม เธอก็อธิบายว่าเป็นเคล็ดที่เธอใช้มาตั้งแต่เด็ก ที่จะทำให้หมารู้ว่าใครเป็นเจ้าของ...รับรองว่าได้ผล ไม่เชื่อคอยดู
มิคกี้อยู่กับเราอย่างใกล้ชิด เลี้ยงเขาเหมือนลูกของเรา จนาดว่านอนเตียงเดียวกันด้วย
มิคกี้โตวันโตคืน แล้วเราก็เริ่มได้เห็นอิทธิฤทธิ์ของเคล็ดวิชาว่าด้วยการเป็นเจ้าของหมาของคุณนายละเอียด เริ่มจากการติดสอยห้อยตามคุณนายเธอแจ ไม่ว่าจะไปไหนมาไหน เข้าครัวก็ไปหมอบอยู่ใกล้ ๆ ครัว เข้าห้องน้ำก็ไปหมอบรออยู่หน้าห้อง ฯลฯ
ต่อมาก็เริ่มหวงของ เด็กคนใช้ที่มาอยู่ด้วยเจอะด้วยตัวเอง พอเอื้อมมือจะหยิบไม้กวาด เจ้ามิคกี้ก็โดดตัวลอยงับเข้าให้ที่มือ เราจึงทดลองกับข้าวของอย่างอื่นในบ้านจนได้ข้อสรุปว่า ของในบ้านนั้นนอกจากคุณแม่ของเขาและผมแล้ว...คนอื่นห้ามแตะ
เพื่อนคุณนายละเอียดคนหนึ่งมานั่งคุยอยู่ด้วย โดยไม่ได้ใส่ใจกับเจ้ามิคกี้ที่นอนหมอบตาไม่กระพริบอยู่ข้าง ๆ จังหวะหนึ่งที่คุยกันถูกเส้นพอเอื้อมมือจะไปตบไหล่คุณแม่ของมิคกี้เท่านั้นแหละ เจ้ามิคกี้ก็โดดงับมือเข้าให้ เล่นเอาตกอกตกใจกันไปพักหนึ่ง
ตอนหลัง ๆ นี่ลามปามมาถึงผม คืนไหนถ้าผมเข้านอนช้ากว่าคุณนายและมิคกี้ ผมต้องปลุกให้คุณนายเธอตื่นขึ้นแล้วอุ้มมิคกี้ลงจากเตียงเสียก่อน เพราะเคยโดนเขาไล่งับไม่ยอมให้ขึ้นเตียงมาแล้วถ้าเขานอนอยู่กับแม่
ผมจึงยอมเชื่อเรื่องเคล็ดวิชาว่าด้วยน้ำลายของคุณนายเธอตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
เนื้อหาบทความมาจากหนังสือ คนรักหมา ของ เนชั่นบุ๊ค(Nation Books) แต่งโดย อ.บัญชร ชวาลศิลป์
(เนื้อหามีการดัดแปลงคำและประโยค)
" ผู้คนมากมาย..
อาจจะเดินเข้าออก ในชีวิต ของคุณ
แต่..มีเพียงเพื่อนแท้ เท่านั้น
ที่ยังเหลือ ร่องรอย ไว้ในหัวใจ
.....ของคุณให้ได้..ระลึกถึง "...
๐๐๐..ติช นัท ฮันท์..๐๐๐
|
|
|
|