|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
114
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,178
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,491,010
|
|
|
|
|
7 มกราคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เทา
[2 กันยายน 2554 14:57 น.]จำนวนผู้เข้าชม 8542 คน |
|
เทา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spirogyra ap.
ชื่อวงศ์ : Zygnemataceae
ชื่ออื่น ๆ : เทา, เตา (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน)
เทา บางคนฟังชื่อแล้วอาจไม่คุ้นหูหรือไม่เข้าใจว่าเป็นผักพื้นบ้านได้อย่างไร เทาหรือเตาเป็นสาหร่ายที่พบในธรรมชาติตามแหล่งน้ำสะอาด ลักษณะเป็นเส้นยาว ไม่แตกกิ่งก้าน สีเขียว เมื่อสัมผัสจะเป็นเมือกลื่น
วิธีบริโภค
ชางบ้านในภาคอีสานและภาคเหนือนิยมเก็บเทามากินสด ๆ โดยทำเป็นลาบเทาหรือยำเทา ชาวเหนือจะตำเตาใส่น้ำปู๋ ซึ่งเป็นเมนูที่นิยมกันมาก เรียกว่า "ยำเขียว" ซึ่งให้แคลเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินเอสูง
วิธีการเก็บเทา
หลายคนอาจไม่กล้ากิน เพราะกลัวจะสกปรก แท้จริงแล้วเทาเป็นสาหร่ายที่ขึ้นในน้ำสะอาด มีมากในฤดูฝน ชาวบ้านมักช้อนเทามาจากแหล่งต้นน้ำในธรรมชาติ โดยจะเก็บเฉพาะที่มีสีเขียวสด ถ้าเป็นสีเขียวอมเหลืองจะเป็นเทาที่แก่แล้ว จากนั้นจะนำมาล้างหลาย ๆ ครั้ง จนสะอาดจึงนำมาประกอบอาหารได้
นอกจากเทาแล้วยังมีสาหร่ายอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกันมาก เรียกว่า ไค หรือ ไก (Cladophora sp.) แต่เส้นจะใหญ่และหยาบ พบมากในแม่น้ำโขง แม่น้ำรวก และแม่น้ำกก ปัจจุบันมีการผลิตเป็นไกแผ่นปรุงรสที่กินได้ทันที
ที่มา : หนังสือ "ผักพื้นบ้าน 1" โดย อุไร จิรมงคลการ |
|
|
|