สถิติผู้เข้าชม
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
7
ผู้เข้าชมในวันนี้
78
ผู้เข้าชมทั้งหมด
5,476,769
กรุณาฝาก Email ของท่าน
เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
27 ธันวาคม 2567
อา
จ.
อ.
พ.
พฤ
ศ.
ส.
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
----- ทั้งหมด -----
- ท่องเที่ยวทะเลไทย...
- เที่ยวจัง!...ตังค์จะหมดแล้ว...
- พืชผักสวนครัวและผลไม้ไทย
- คำสอนของพ่อ
- สถานที่สำหรับตูบ
- สาระความรู้ทั่วไปสำหรับเจ้าของน้องตูบ
- เรื่องสั้นประทับใจจากน้องตูบ
- เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับน้องตูบ
- บทความ /Tips
Search
โรคขี้เรื้อน(ชนิดแห้ง)ในน้องตูบ
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]จำนวนผู้เข้าชม 13490 คน
โรคขี้เรื้อน(ชนิดแห้ง)ในน้องตูบ
โรคขี้เรื้อนแห้ง...
เวลาที่ผมถามเจ้าของน้องตูบว่า โรคใดที่สร้างความกังวลใจและไม่อยากให้น้องตูบของตัวเองเป็นมากที่สุด ...เชื่อได้เลยครับว่า
"โรคเรื้อน"
มักจะเป็นคำตอบในอันดับต้นๆ ถือเป็นโรคที่เจ้าของน้องตูบให้ความสนใจและไม่สบายใจเลย หากมีผู้บอกว่าน้องตูบของท่านเรียบร้อยโรงเรียน
"เรื้อน"
ไปแล้ว คงต้องวิ่งหาสัตวแพทย์เป็นแน่ๆ ใน Petgang ฉบับที่ 5 นั้น เราได้คุยกันถึงเรื่องของ
"โรคเรื้อนชนิดเปียก"
ไปแล้ว เพื่อความต่อเนื่องต้องมาคุยถึง
"โรคเรื้อนชนิดแห้ง"
กันต่อ จะได้เข้าใจว่าลักษณะของโรคทั้งสองประเภทนั้นมันแตกต่างกันอย่างไรและแค่ไหน
สาเหตุของ
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
เกิดจากน้องตูบป่วยติด
"เชื้อปรสิต"
ภายนอก เป็น
"ตัวไรเล็กๆ"
อาศััยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ไม่ได้อาศัยลงลึกไปกว่านั้น เจ้าไรที่ว่านี้มีขนาดเล็กมากครับ ทั้งยังสามารถสืบพันธุ์ ออกไข่ให้ลูกหลานได้อีกมากมาย เรียกว่า อาศัยผิวหนังน้องตูบเป็นบ้านหลังใหญ่เลยทีเดียว ปัญหาที่มักถามกันมากก็คือ น้องตูบแสนรักจะไปติดโรคนี้ได้อย่างไร ทั้งๆที่เลี้ยงอยู่แต่ในบ้าน เหตุที่ว่าเกิดได้จากการเล่น สัมผัสและคลุกคลีกับตัวที่ป่วยเข้าจนเกิดการถ่ายทอดเจ้าไรตัวนี้ต่อๆกันไป ที่สำคัญอีกประการคือ เรื่องของสภาพแวดล้อมครับ ในบ้านเมืองของเรามีน้องตูบจรจัดด้อยโอกาสเยอะ เรียกว่าเดินไปตรอกไหน ซอกไหน ซอยไหน มีอันต้องได้เจอ
นี่เองแหล่ะครับที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้เร็วและต่อเนื่อง น้องตูบจรจัดด้อยโอกาสที่ป่วยเป็นโรคนี้ "จะมีอาการคันมาก" และเมื่อคันและเกาบริเวณที่เป็นรอยโรคจะมีชิ้นส่วนของสะเก็ดผิวหนังที่ปลิวกระจายล่วงออกมาจากตัวน้องตูบ หากน้องตูบอีกตัวไปนอนทับหรือเกลือกกลิ้ง ย่อมมีโอกาสจะติดเชื้อจนอาจป่วยเป็น
"โรคเรื้อนแห้งได้"
เนื่องจากเจ้า
"ไรขี้เรื้อน"
นี้มีชีวิตได้นานกว่า 2 วัน เมื่อหลุดร่วงจากผิวหนังของน้องตูบตัวที่ป่วยยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะไปติดต่อกับน้องตูบตัวอื่นได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นถึงแม้ท่านไม่ได้พาน้องตูบออกไปนอกบ้าน แต่ถ้าน้องตูบของเราชอบนอนใกล้รั้วบ้าน และหากรอบๆบ้านมีน้องตูบจรจัดด้อยโอกาสตัวที่ป่วยเป็น
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
อาศัยอยู่ย่อมมีโอกาสติดโรคได้เช่นกันครับ
อาการของน้องตูบตัวที่ป่วยเป็น
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
เริ่มต้นจะมีอาการคันตัว คันที่ขอบใบหูทั้งสองข้างและคันที่ศอกด้านข้าง ถ้าสังเกตให้ดีจะพบเม็ดตุ่มแดงๆขึ้นที่ผิวหนัง บริเวณที่เห็นชัดเจนมักเป็นที่ท้อง หรือบริเวณขาหนีบ และบั้นท้าย
จากนั้นจะเริ่มมีอาการคันรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งขนบนตัวน้องตูบเริ่มร่วง
ตำแหน่งที่พบชัดเจน คือ
ที่ขอบใบหูทั้งสองข้าง และศอกด้านข้าง ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเริ่มเป็นสะเก็ดแผล บนผิวหนังจะเริ่มเกิดขึ้นทั่วตัวเช่นกัน
เจ้าน้องตูบหลังกลับที่เราเห็นข้างถนนนั่นแหล่ะครับ
คือน้องตูบที่ป่วยเป็น
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
การตรวจวินิจฉัย
ในเบื้องต้นเราควรสังเกตอาการของน้องตูบของเราเองก่อนครับ ซึ่งการทดสอบที่ได้ผลค่อนข้างแม่นยำในการตรวจโรคนี้ เรียกว่า การทำ Pinna-pedal reflex test การทดสอบทำได้ง่ายมาก เวลาที่น้องตูบป่วยเป็น
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
จะมีตำแหน่งที่
"คันมากๆ"
อยู่ 2 จุดดังที่กล่าวมา คือ ที่ปลายหู 2 ข้างนั้น และที่ข้อศอกด้านข้าง ถ้าเราจับน้องตูบมาทดสอบโดยการ
"เอานิ้วมือขยี้ที่ปลายใบหูเบาๆ"
แล้วน้องตูบเอาเท้าหลังข้างนั้นเกาที่ศอกด้านนั้น ก็น่าสงสัยครับว่า
"ทำไมน้องตูบของเราถึงคันได้"
เพราะอาการดังกล่าวแสดงว่าคันมากที่ปลายใบหู และที่ศอกด้วย และโรคผิวหนังที่จะเกิดขึ้นได้มีไม่กี่โรคหรอกครับ...ที่สำคัญคือ
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
นี่แหล่ะครับ
แต่การที่เราจะสรุปปัญหาการป่วยว่าใช่
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
หรือไม่นั้น คงต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรอยโรคที่ปรากฏ การทดสอบทำ Pinna-pedal reflex test การขูดผิวหนังเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหา
"ตัวไรขี้เรื้อน"
ทุกอย่่างจะสอดคล้องกันแม้ว่าการขูดผิวหนังเพื่อหา
"ตัวไรขี้เรื้อน"
อาจจะไม่พบ เพราะถ้าอยู่ในระยะเริ่มต้นมักจะขูดผิวหนังไม่พบเสียด้วยสิครับ
การรักษา
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
สามารถทำได้หลายวิธีครับ ที่นิยมกระทำคือ การให้ยาโดยการฉีดเพื่อรักษา ซึ่งได้ผลดีแต่ก็ต้องทำซ้ำทุกๆ 10-14 วันครั้งจนกว่าน้องตูบจะหายสนิท ในกรณีที่เราเลี้ยงน้องตูบไว้หลายตัว เราต้องพาน้องตูบทุกตัวมารับการรักษาด้วย
เพราะโรคนี้ติดต่อได้ง่าย
และ
ติดต่อได้ไวมาก
ถ้าเราไม่สนใจนำน้องตูบมารับการรักษาพร้อมๆกันจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงน้องตูบ เพราะเมื่อตัวที่เป็นหาย ตัวที่ได้รับเชื้อจะเริ่มแสดงอาการอีก และถ้ายาเสื่อมฤทธิ์เมื่อไหร่ น้องตูบจะเริ่มมีอาการป่วยอีกเช่นกัน น้องตูบตัวที่ป่วยเป็น
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
นั้นมีความน่ารังเกียจอยู่แล้วครับ เพราะน้องตูบเองแทบจะไม่มีขนอยู่บนผิวหนังเลย บางตัวมีสะเก็ดคัน มีแผลแตกระแหงมากมายบนผิวหนัง มองยังไงก็ไม่น่ารัก ไม่น่าสัมผัส จริงๆแล้วถ้าท่านเจ้าของน้องตูบอุ้มน้องตูบตัวที่ป่วยนั้นมารักษา ถึงแม้ว่าจะไม่มีขนเลยสักเส้นเดียว และมีแผลมากมาย
แต่เมื่อได้รับการรักษาแล้วน้องตูบของเราก็จะกลับมามีผิวหนังและขนเช่นดังเดิม
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
นี้รักษาให้หายขาดได้
เพราะฉะนั้นอย่ารังเกียจน้อง
ตู
บเลยครับ
ตัดสินใจรักษาแต่เนิ่นๆก่อนที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนจนทำให้ผิวหนังอักเสบรุนแรงตามมา
"อาการแทรกซ้อนของน้องตูบที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้ง"
อาการที่พบได้มักมีมูลเหตุจากการคันนั่นแหล่ะครับ สุนัขบางตัวมีอาการคันเกาหูจนใบหูบวม มีเลือดคั่ง ทำให้เราต้องตามมารักษาอาการดังกล่าวอีก หรือบางตัวเอาตัวถูไถกับพื้น เลีย และงับตรงผิวหนังที่คันทำให้เกิดอาการแผลแดงซ้ำรุนแรง และเป็นไวมาก อย่างที่บอกไว้นั่นแหล่ะครับ
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
เป็นโรคที่คันสุดๆจริงๆนะครับ
"โรคขี้เรื้อนแห้ง"
ติดคนไหม คำตอบคือ
"
ติดต่อถึงคนได้นะครับ
"
โรคนี้ติดต่อจากการสัมผัสกับน้องตูบที่ป่วยอยู่นั่นแหล่ะ เพราะฉะนั้น...เมื่อท่านทราบว่าน้องตูบของเราป่วยเป็นโรคนี้
ควรหยุดกอดและคลุกคลีกับน้องตูบไว้ก่อน โดยเฉพาะคุณผู้หญิง
ที่ผิวค่อนข้างบอบบาง ควรหยุดกอดรัด หรืออุ้มน้องตูบเลยครับ
โรคที่ติดต่อมาสู่คนนั้นจะมีลักษณะเป็นเม็ดตุ่มแดงๆ
ขึ้นบนผิวหนัง มีอาการคัน และกระจายออกไปได้ วึ่งถ้ามีอาการเช่นนี้ให้รีบไปหาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงทีครับ...
ที่มาของบทความดีๆ : Petgang
ปลาน้ำจืดไทย
ป่าเขา
-
ทะเลไทย
เที่ยวจัง
!...
ตังค์จะหมดแล้ว
...
"ความโกรธเกิดจากความไม่อดทน"
Anger Comes as result of intolerance.
กัณหชาดก/Kanhajataka
[ +zoom ]
[ +zoom ]
[ +zoom ]
[ +zoom ]
[ +zoom ]
[ +zoom ]
[ +zoom ]
[ +zoom ]
[ +zoom ]
[ +zoom ]
[ +zoom ]
เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับน้องตูบ
-
หมาจ๋า
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
-
อีฮโยริ ควงแฟนหนุ่มสร้างบ้านให้หมาจรจัด
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
-
Pet Masterฌาปนกิจสัตว์เลี้ยงครบวงจรเอาใจคนรักน้องหมา
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
-
คนรักหมาบุกรัฐสภา ร้องออก พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
-
จะดูยังไงว่าน้องตูบป่วยหรือเปล่า!
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
-
สุนัขสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ?
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
-
โรคมะเร็งในน้องตูบ
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
-
โรคเบาหวานในน้องตูบ
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
-
กระจกตาเสื่อมเนื่องจากไขมัน
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
-
พยาธิหนอนหัวใจ
[5 สิงหาคม 2553 17:21 น.]
ดูทั้งหมด
Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by
MAKEWEBEASY