สาเหตุ เกิดจากพยาธิที่ชื่อ ว่า Dirofilaria immitis ติดจากการยุงที่ไปกัดและดูดเลือดที่มีตัวอ่อนของพยาธิมา พยาธิจะเติบโตในยุง และเมื่อยุงไปกัดสุนัขหรือแมวอีกตัว ก็จะทำให้ตัวอ่อนเข้าสู่ร่างกาย และอยู่ในกระแสเลือด จากนั้น จึงใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือนจึงจะไปโตเต็มวัยเป็นพยาธิเข้าไปอยู่ในหัวใจสุนัขหรือแมว |
ภาพ พยาธิหนอนหัวใจ |
สายพันธุ์ที่พบบ่อยและปัจจัยโน้มนำ พบได้กับแมวและสุนัขทุกสายพันธุ์
การติดต่อ ผ่าน ทางยุง โดยยุงที่กัดตัวสัตว์ที่มีตัวอ่อนของพยาธิอยู่แล้วไปกัดสัตว์อีกตัว ตัวอ่อนผ่านทางน้ำลายของยุงเข้าไปในร่างกายสัตว์อีกตัว
อาการและความรุนแรงของโรค ไอแห้ง ๆ ท้องกาง มีน้ำในช่องท้อง เหนื่อยง่าย หอบ
การตรวจวินิจฉัยโรค
ใช้ชุดตรวจแอนติเจนของพยาธิหนอนหัวใจในกระแสเลือด ตรวจหาหนอนพยาธิตัวอ่อนในกระแสเลือด |
ภาพ(ซ้าย) ตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจที่พบจากการส่องตัวอย่างเลือด (ขวา) ภาพชุดตรวจเอนติเจนของพยาธิหนอนหัวใจ
|
เอ็กซเรย์ (การถ่ายภาพรังสี) ช่องอก จะพบลักษณะของหัวใจโดยเฉพาะห้องขวาที่โต และมีเส้นเลือดของหัวใจห้องขวาที่ไปยังหัวใจขยายใหญ่
ภาพ ถ่ายรังสีช่องอกของสุนัขที่เป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจ
|
การรักษาโรค ทำได้โดย การคีบหนอนพยาธิหัวใจออกจากหัวใจ(Heartworm extraction) ต้องใช้การผ่าตัดและเครื่องมือจำเพาะ
|
การฉีดยาฆ่าหนอนพยาธิหัวใจ (Adulticide therapy) ซึ่งมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เนื่องจากพยาธิที่ตายอาจก่อให้เกิดการแพ้ที่รุนแรงได้ ต้องคอยเฝ้าระวังอาการหลังฉีด เป็นอย่างน้อย 1 สัปดาห์
รักษาอาการหัวใจล้มเหลวตามอาการ เช่นการให้ยาลดความดัน ยาขับน้ำ
การพยากรณ์โรค หากเริ่มมีอาการหัวใจล้มเหลวและสุนัขมีหนอนพยาธิเยอะมาก หากไม่คีบออกอาการจะแย่และอาจเสียชีวิตเฉียบพลันได้เสมอ แต่หากคีบมักจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนาน ขึ้นกับความเสียหายของหัวใจที่พยาธิได้ทำไว้
เราจะสามารถป้องกันโรคได้ อย่างไร การป้องกัน ทำได้โดย ใช้ยา Ivermectin ทาน หรือ ยา Selamectin หยอดหลังทุกเดือน |
ภาพ จากเครื่อง fluroscope ขณะที่กำลังใช้อุปกรณ์
ไปคีบพยาธิหนอนหัวใจ |
_____________________________________________
บทความพิเศษจาก โรงพยาบาล สัตว์ สัตวแพทย์ 4 โพลีคลีนิค |
|