สาเหตุ เกิดจากความเสื่อมของร่างกายเอง หรือ อาจเกิดการติดเชื้อในร่างกายแล้วทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ หรืออาจเกิดการขยายใหญ่ของหัวใจจนลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท โดยมากมักพบกับลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและล่างซ้าย (แต่อาจเกิดที่ลิ้นหัวใจอื่นก็ได้) |
ภาพ ลิ้นหัวใจรั่ว (Mitral valve insufficiency)
|
สายพันธุ์ที่พบบ่อยและปัจจัยโน้มนำ พบได้กับสุนัขและแมวทุกสายพันธุ์ อายุประมาณ 6 ปีขึ้นไป
การติดต่อ ไม่ ใช่โรคติดต่อ
อาการและความรุนแรงของโรค ไอ หอบ เหนื่อยง่าย เป็นลม ท้องมาน
การตรวจวินิจฉัยโรค
• ตรวจพบโดยการฟังหัวใจ ซึ่งจะพบเสียงแทรกที่เกิดจากการรั่วของหัวใจ (Cardiac murmur)
• การเอ็กซเรย์ (การถ่ายภาพรังสี) มักจะพบหัวใจมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะห้องบนซ้ายจนกดหลอดลม หรือหัวใจโตจนหลอดลมยกขึ้นมาข้างบน ทำให้สุนัขเกิดการไอ |
ภาพ แสดงหัวใจห้องบนซ้ายโต |
การอัลตราซาวนด์หัวใจ จะพบลักษณะของลิ้นที่ปิดไม่สนิท และการรั่วของลิ้นหัวใจ จนมีเลือดไหลย้อนกลับ เห็นได้จากสีที่เกิดขึ้นในเครื่องอัลตราซาวนด์ ซึ่งเป็นสีผสมหลายสี แสดงถึงการไหลที่มีทิศทางไม่เป็นทางเดียวกัน
|
ภาพ อัลตราซาวนด์หัวใจ แสดงภาวะเลือดไหลย้อน
จากหัวใจห้องล่างย้อนเข้าห้องบน
|
การรักษาโรค เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงทำเพื่อบรรเทาอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตเท่านั้น ทำได้โดยการให้ยาขยายหลอดเลือด ยาขับน้ำ หรือ/และ ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ
ในปัจจุบันอาจมีเทคนิดในการเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยใช้ลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งยังเป็นในการทดลองมากกว่า การปฏิบัติจริงในปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ |
_________________________________________________
บทความพิเศษจาก โรงพยาบาล สัตว์ สัตวแพทย์ 4 โพลีคลีนิค |