สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 4
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 321
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,477,012
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
27 ธันวาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
10  11  12  13  14 
15  16  17  18  19  20  21 
22  23  24  25  26  27  28 
29  30  31         
             
 
โรคอ้วนในน้องตูบ (Obesity in Dog)
[14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]จำนวนผู้เข้าชม 7937 คน
โรคอ้วนในน้องตูบ (Obesity in Dog)        


  ในปัจจุบันผู้เลี้ยงสุนัขและแมวมักนิยมที่จะเลี้ยงสัตว์ของตัวเองด้วยอาหาร สำเร็จรูป เพราะมีความสะดวก น่ากินอีกทั้งยังมีสารอาหารจำเป็นครบถ้วน แต่การเลือกชนิดของอาหารสำเร็จรูปผิดสูตร ผิดเวลาและผิดขนาดอาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตในสัตว์เลี้ยง ถ้าท่านไม่มีความรู้และความเอาใจใส่ในเรื่องนี้อย่างถูกต้อง

โรคอ้วน  เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยในสุนัขและแมว โดยเฉพาะในขณะช่วงอายุกลางวัยจะพบมากกว่าในช่วงเด็กหรือช่วงแก่ ความอ้วนคืออะไรและเกิดจากอะไร ความอ้วนคือภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันที่เนื้อเยื่อไขมันมากเกินไป ทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าน้ำหนักปกติ 15-20% นอกจากนี้ความอ้วนทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระดูกและข้อต่างๆ เป็นต้น

ปัญหาพื้นฐานของความอ้วน มี 2 แบบ คือ
 • การเพิ่มขนาดเซลไขมันในร่างกาย ( Hypertropic Obesity )
 • การเพิ่มทั้งขนาดเซลและจำนวนของเซลไขมันในร่างกาย ( Hyperplastic Obesity)
ความอ้วนในสัตว์ที่เกิดจากสาเหตุ Hyperplastic Obesity จะเป็นการยากที่จะแก้ไขและมักเป็นปัญหาในระยะยาวต่อไป ดังนั้นในสัตว์ที่ได้รับอาหารมากเกินไป จะมีผลเพิ่มขนาดของเซลไขมันแต่จะไม่เพิ่มจำนวนเซล ดังนั้นการแก้ไขสูตรอาหารที่ให้กินจึงสามารถปรับลดน้ำหนักตัวได้

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อ้วน
 • ปัจจัยภายในร่างกาย ได้แก่อายุ เพศ ภาวะของระบบสืบพันธุ์ ความมีอยู่หรือความผิดปกติของระดับฮอร์โมนในร่างกาย หรือความผิดปกติของต่อมใต้สมอง หรือภาวะทางพันธุกรรม
 • ปัจจัยภายนอก ได้แก่ อิทธิพลในการกินอาหาร ส่วนประกอบของอาหารที่กินอยู่ อาหารที่กินอยู่มีความน่าจะกินสูง กิจวัตรประจำวันของสัตว์ตัวนั้น
ส่วนมากแล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดความอ้วนคือ การที่เจ้าของให้สัตว์กินอาหารมากเกินไป การขาดการออกกำลังกาย หรือทั้งสองอย่างในส่วนของปัจจัยที่ทำให้อ้วนจากสาเหตุภายใน ร่างกาย เช่น
 • การลดลงของการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ( Resting Metabolic Rate, RMR)
 • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อทำให้เกิดภาวะของ Hypothyroidism หรือ Hyperadrenocorticism
 • ผลมาจากการทำหมัน โดยเฉพาะการทำหมันในช่วงอายุน้อย ระหว่างอายุ 6-12 เดือน
 • ความแก่ สุนัขที่อายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะลดการใช้พลังงานอย่างน้อย 20% จากในวัยเด็ก ดังนั้นถ้าเรายังคงให้กินสูตรอาหารเช่นเดิม สุนัขจะมีไขมันสะสมมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาความอ้วนตามมา
 • สาเหตุทางพันธุกรรม ในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คอกเกอร์ ลาบาดอร์ เทอร์เรีย มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่พันธุ์บอกเซอร์ ฟอก เทอร์เรีย ยอร์กเชีย เทอร์เรีย มีโอกาสน้อยที่จะอ้วน เป็นต้น

การวินิจฉัย
          มีความจำเป็นที่จะต้องนำไปให้สัตวแพทย์ตรวจว่าสัตว์ของท่านอ้วนจริงๆ ไม่ใช่การเกิดภาวะบวมน้ำ หรือภาวะความผิดปกติของต่อมไร้ท่อต่างๆ โดยอาศัยผลการตรวจเลือดหรือการเอกเรย์ประกอบในการวินิจฉัย ,พิจารณาจาก Assessment of body condition เช่น Thin, underweight, Ideal, Overweight , Obese

          ภาวะ Obese คือ ภาวะที่ไม่สามารถคลำพบกระดูก ซี่โครงที่ปกคลุมไปด้วยกล้ามเนื้อและไขมันในบริเวณนั้น ไขมันที่สะสมสามารถเห็นได้ในบริเวณส่วนบั้นเอวหรือบริเวณโคนหาง ไม่สามารถเห็นส่วนโค้งในบริเวณเอว บริเวณหน้าท้องมักจะกางออกหรือขยายใหญ่
          การแก้ไข ในระยะสั้นคือการลดปริมาณไขมันในร่างกาย โดยการจำกัดปริมาณอาหารที่กินเข้าไป และการทำให้เกิดพลังงานในร่างกายให้เกิดการเผาผลาญมากขึ้น ส่วนในระยะยาวคือการควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

ส่วนประกอบสำคัญในการควบคุมน้ำหนักตัว
 • การควบคุมพฤติกรรมทั้งผู้เลี้ยงและตัวสัตว์ ( behavior modification ) เช่น การควบคุมพฤติกรรมการกินอาหารในสัตว์ และโดยเจ้าของสัตว์โดยการลดจำนวนมื้ออาหาร และการลดปริมาณอาหารจากที่กินอยู่เดิม เป็นต้น
 • การควบคุมอาหา ( Dietary modification ) เช่น การเลือกใช้อาหารในสูตรลดน้ำหนัก ( low- fat diets)
 • การออกกำลังกาย ( Exercise ) เช่น การว่ายน้ำ การจูงเดิน การปล่อยวิ่ง
สรุปการจัดการเมื่อพบว่าสัตว์เลี้ยงอ้วนเกินไป
 • จัดโปรแกรมการควบคุมน้ำหนัก โดยกำหนดให้ในหนึ่งสัปดาห์ควรมีน้ำหนักที่ลดลงประมาณ 1-2% จากปกติ
 • เลือกชนิดของอาหารเหมาะสมที่จะใช้ในสูตรลดน้ำหนัก
 • ควบคุมการได้รับแคลอรี่ในร่างกาย ไม่เกิน 60-70% ของอัตราการเผาผลาญในร่างกายในระดับน้ำหนักตัวปัจจุบัน
 • งดขนมขบเคี้ยว เปลี่ยนปริมาณการให้อาหารมากเกินไปที่ทำให้อ้วน
 • เพิ่มโปรแกรมการออกกำลังกายในแต่ละวัน
 • หลังจากน้ำหนักตัวในร่างกายลดลง ให้ควบคุมน้ำหนักตัวต่อไปเพื่อไม่ให้เพิ่มขึ้นใหม่
 • ป้องกันการจะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นใหม่ โดยให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมปริมาณ แคลอรี่อย่างเข้มงวด
___________________________________________________
บทความพิเศษจาก โรงพยาบาล สัตว์ สัตวแพทย์ 4 โพลีคลีนิค




   ปลาน้ำจืดไทย   ป่าเขา-ทะเลไทย   เที่ยวจัง!...ตังค์จะหมดแล้ว...

 




 

[ +zoom ]

[ +zoom ]
เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับน้องตูบ
- หมาจ๋า [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
- อีฮโยริ ควงแฟนหนุ่มสร้างบ้านให้หมาจรจัด [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
- “Pet Master”ฌาปนกิจสัตว์เลี้ยงครบวงจรเอาใจคนรักน้องหมา [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
- คนรักหมาบุกรัฐสภา ร้องออก พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
- จะดูยังไงว่าน้องตูบป่วยหรือเปล่า! [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
- สุนัขสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ? [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
- โรคมะเร็งในน้องตูบ [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
- โรคเบาหวานในน้องตูบ [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
- กระจกตาเสื่อมเนื่องจากไขมัน [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
- พยาธิหนอนหัวใจ [14 กรกฎาคม 2553 15:44 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY