สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 5
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 684
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,501,626
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
15 มกราคม 2568
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
   
10  11 
12  13  14  15  16  17  18 
19  20  21  22  23  24  25 
26  27  28  29  30  31   
             
 
โรคอ้วนในน้องตูบ
[29 มีนาคม 2555 19:25 น.]จำนวนผู้เข้าชม 10495 คน
โรคอ้วนในน้องตูบ

 

   โรคอ้วนหมายถึงภาวะที่ร่างกายสะสมไขมันในร่างกายมากเกินไป ระหว่าง 25 ถึง 40 % ของสุนัขถือว่าอ้วนหรือมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นโรคอ้วน สาเหตุหลักของโรคอ้วนจะคือการที่สุนัขกินมากเกินไปและการขาดการออกกำลังกาย พลังที่ไม่ได้ใช้นั้น จะทำให้ไม่ได้เกิดการเผาไหม้และจะถูกเก็บเป็นไขมัน 1 % ของไขมัน ทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าน้ำหนักปกติ 15-20% นอกจากนี้ความอ้วนทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระดูกและข้อต่างๆ เป็นต้น

 ปัญหาพื้นฐานของความอ้วน มี 2 แบบ คือ :

  1.   การเพิ่มขนาดเซลไขมันในร่างกาย ( Hypertropic Obesity )

  2.   การเพิ่มทั้งขนาดเซลและจำนวนของเซลไขมันในร่างกาย ( Hyperplastic Obesity)

  ความอ้วนในสัตว์ที่เกิดจากสาเหตุ Hyperplastic Obesity จะเป็นการยากที่จะแก้ไขและมักเป็นปัญหาในระยะยาวต่อไป ดังนั้นในสัตว์ที่ได้รับอาหารมากเกินไป จะมีผลเพิ่มขนาดของเซลไขมันแต่จะไม่เพิ่มจำนวนเซล ดังนั้นการแก้ไขสูตรอาหารที่ให้กินจึงสามารถปรับลดน้ำหนักตัวได้

 

ปัจจัยสำคัที่ทำให้อ้วน

      ปัจจัยภายในร่างกาย ได้แก่อายุ เพศ ภาวะของระบบสืบพันธุ์ ความมีอยู่หรือความผิดปกติของระดับฮอร์โมนในร่างกาย หรือความผิดปกติของต่อมใต้สมอง หรือภาวะทางพันธุกรรม

  1.  ปัจจัยภายนอก ได้แก่ อิทธิพลในการกินอาหาร ส่วนประกอบของอาหารที่กินอยู่ อาหารที่กินอยู่มีความน่าจะกินสูง กิจวัตรประจำวันของสัตว์ตัวนั้น

 ส่วนมากแล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดความอ้วนคือ การที่เจ้าของให้สัตว์กินอาหารมากเกินไป การขาดการออกกำลังกาย หรือทั้งสองอย่าง

 ในส่วนของปัจจัยที่ทำให้อ้วนจากสาเหตุภายในร่างกาย เช่น

    -  การลดลงของการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ( Resting Metabolic Rate, RMR)

    -  ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อทำให้เกิดภาวะของ Hypothyroidism หรือ Hyperadrenocorticism  
    -  
ผลมาจากการทำหมัน โดยเฉพาะการทำหมันในช่วงอายุน้อย ระหว่างอายุ 6-12 เดือน  
    -
  ความแก่ สุนัขที่อายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะลดการใช้พลังงานอย่างน้อย 20% จากในวัยเด็ก ดังนั้นถ้าเรายังคงให้กินสูตรอาหารเช่นเดิม สุนัขจะมีไขมันสะสมมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาความอ้วนตามมา  
    -
 สาเหตุทางพันธุกรรม ในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คอกเกอร์ ลาบาดอร์ เทอร์เรีย มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่พันธุ์บอกเซอร์ ฟอก เทอร์เรีย ยอร์กเชีย เทอร์เรีย มีโอกาสน้อยที่จะอ้วน เป็นต้น

 

 ภาพจาก Internet

การวินิจฉัย

- มีความจำเป็นที่จะต้องนำไปให้สัตวแพทย์ตรวจว่าสัตว์ของท่านอ้วนจริงๆ ไม่ใช่การเกิดภาวะบวมน้ำ หรือภาวะความผิดปกติของต่อมไร้ท่อต่างๆ โดยอาศัยผลการตรวจเลือดหรือการเอกเรย์ประกอบในการวินิจฉัย

 

 - พิจารณาจาก Assessment of body condition เช่น Thin, underweight, Ideal, Overweight , Obese

   ภาวะ Obese คือ ภาวะที่ไม่สามารถคลำพบกระดูกซี่โครงที่ปกคลุมไปด้วยกล้ามเนื้อและไขมันในบริเวณนั้น ไขมันที่สะสมสามารถเห็นได้ในบริเวณส่วนบั้นเอวหรือบริเวณโคนหาง ไม่สามารถเห็นส่วนโค้งในบริเวณเอว บริเวณหน้าท้องมักจะกางออกหรือขยายใหญ่

  การแก้ไข ในระยะสั้นคือการลดปริมาณไขมันในร่างกาย โดยการจำกัดปริมาณอาหารที่กินเข้าไป และการทำให้เกิดพลังงานในร่างกายให้เกิดการเผาผลาญมากขึ้น ส่วนในระยะยาวคือการควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

  ส่วนประกอบสำคัในการควบคุมน้ำหนักตัว

  •   การควบคุมพฤติกรรมทั้งผู้เลี้ยงและตัวสัตว์ ( behavior modification ) เช่น การควบคุมพฤติกรรมการกินอาหารในสัตว์ และโดยเจ้าของสัตว์โดยการลดจำนวนมื้ออาหาร และการลดปริมาณอาหารจากที่กินอยู่เดิม เป็นต้น

  •   การควบคุมอาหาร ( Dietary modification ) เช่น การเลือกใช้อาหารในสูตรลดน้ำหนัก ( low- fat diets)

  •   การออกกำลังกาย ( Exercise ) เช่น การว่ายน้ำ การจูงเดิน การปล่อยวิ่ง

  รุปการจัดการเมื่อพบว่าสัตว์เลี้ยงอ้วนเกินไป


ภาพจาก Internet

  •   จัดโปรแกรมการควบคุมน้ำหนัก โดยกำหนดให้ในหนึ่งสัปดาห์ควรมีน้ำหนักที่ลดลงประมาณ 1-2% จากปกติ

  •  เลือกชนิดของอาหารเหมาะสมที่จะใช้ในสูตรลดน้ำหนัก

  •   ควบคุมการได้รับแคลอรี่ในร่างกาย ไม่เกิน 60-70% ของอัตราการเผาผลาญในร่างกายในระดับน้ำหนักตัวปัจจุบัน

  •  งดขนมขบเคี้ยว เปลี่ยนปริมาณการให้อาหารมากเกินไปที่ทำให้อ้วน

  •  เพิ่มโปรแกรมการออกกำลังกายในแต่ละวัน

  •  หลังจากน้ำหนักตัวในร่างกายลดลง ให้ควบคุมน้ำหนักตัวต่อไปเพื่อไม่ให้เพิ่มขึ้นใหม่

  •  ป้องกันการจะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นใหม่ โดยให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมปริมาณ แคลอรี่อย่างเข้ม

     
    ภาพจาก Internet

       วิธีลดน้ำหนักน้องหมาอ้วน

วันนี้เราเลยมีเคล็ดลับและวิธีการลดน้ำหนักน้องหมามาฝากกันค่ะ

การควบคุมอาหาร

   การควบคุมอาหารเป็นการรักษาโรคอ้วนในน้องหมาที่ดีที่สุดถ้าทำอย่างถูกวิธี การลดน้ำหนักนั้นน้องหมาควรทำภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์นะคะ คุณหมอจะทำการประเมินเกณฑ์น้ำหนักตัวปัจจุบันว่าอ้วนไปแค่ไหน น้ำหนักที่ควรจะเป็นอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วจึงวางแผนลดน้ำหนัก โดยสัตวแพทย์จะคำนวณปริมาณอาหารที่กินต่อวันให้เจ้าของ การลดน้ำหนักที่ดีควรลดได้ประมาณ 1-2 %ต่อสัปดาห์ ไม่ควรลดเร็วมากเกินไป เพราะอาจทำให้น้องหมาขาดสารอาหารและมีปัญหาสุขภาพอย่างอื่นได้ และไม่ควรควบคุมปริมาณอาหารให้น้อยเกินไปจนทำให้น้องหมารู้สึกหิวโหย เพราะอาจทำให้เค้าเครียด จนแสดงออกเป็นปัญหาทางพฤติกรรมได้

  อาหารที่ให้น้องหมาเพื่อลดน้ำหนักที่สะดวกที่สุดนั้น คือ อาหารสำเร็จรูปสำหรับลดน้ำหนักโดยเฉพาะซึ่งมีทั้งแบบเม็ดและแบบกระป๋อง ซึ่งอาหารเหล่านี้มักจะมีไขมันต่ำ ไฟเบอร์สูง ทำให้ปริมาณอาหารที่ทานไม่ลดลงแต่ไม่ได้พลังงานมากเกินไป ทำให้น้องหมารู้สึกอิ่มและไม่เครียด และมีการเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน นอกจากนี้อาหารเม็ดบางยี่ห้อจะมีการออกแบบรูปร่างเม็ดที่กลวงขึ้น ทำให้สุนัขรู้สึกว่าทานอาหารเท่าเดิม จึงไม่เกิดอาการหิว ส่วนอาหารปรุงเองนั้นก็สามารถให้ได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยากในการเตรียมอยู่สักหน่อยนะคะ



การออกกำลังกาย

     การออกกำลังกายร่วมกับการควบคุมอาหารจะช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลดียิ่งขึ้น (เหมือนในคนเลยล่ะค่ะ) การออกกำลังกายที่แนะนำได้แก่ การว่ายน้ำ (เหมาะมากๆสำหรับน้องหมาที่อ้วนและมีปัญหาโรคเกี่ยวกับข้อต่อข้อต่อ) การเดิน การวิ่งจ๊อกกิ้ง การเล่นจานร่อน

   ข้อควรรู้สำหรับเจ้าของน้องหมาอ้วน

  1.  ส่วนสำคัญที่สุดในการลดน้ำหนักให้กับน้องหมาก็คือ เจ้าของ จากประสบการณ์ส่วนตัว มากกว่า 50% ของน้องหมาที่อ้วนลดน้ำหนักไม่สำเร็จก็เพราะเจ้าของ เช่น บางคนเห็นสุนัขมาขออาหารหรือขนมกินก็อดให้ไม่ได้ จึงทำให้การลดน้ำหนักไม่สำเร็จ

  2.  การลดน้ำหนักไม่ใช่การลดปริมาณอาหารที่ให้น้องหมานะคะ แต่เป็นการลดพลังงานและไขมันที่ได้จากอาหาร ถ้าเราลดปริมาณอาหารลงทันที น้องหมาบางตัวจะเกิดอาการหิวโหยอย่างรุนแรง จนทำให้เค้าเครียดได้ค่ะ

  3.  ขนมสำหรับน้องหมาหลายอย่างก็ให้พลังงาน และอาจมีส่วนให้อ้วนได้นะคะ

  4.  ต้องบอกกับให้กับทุกคนในบ้านทราบด้วยว่าน้องหมาของเรากำลังเริ่มโปรแกรมลดน้ำหนัก

  5.  สังเกตว่าน้องหมามีอาการหิวหรือรู้สึกไม่อิ่มหรือไม่หลังจากเปลี่ยนมาเป็นอาหารลดน้ำหนักหรือไม่ ถ้ามีอาการหิวตลอดเวลา ควรกลับไปแจ้งให้คุณหมอที่ทำการรักษาทราบเพื่อปรับปริมาณหรือเปลี่ยนชนิดอาหารที่ให้กิน

  6.  ถ้าน้องหมาไม่ยอมกินอาหารลดน้ำหนัก อาจเริ่มจากให้อาหารเดิมผสมกับอาหารลดน้ำหนัก แล้วค่อยๆลดอาหารเดิมลงไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายเป็นอาหารลดน้ำหนักอย่างเดียว

 


   ปลาน้ำจืดไทย   ป่าเขา-ทะเลไทย   เที่ยวจัง!...ตังค์จะหมดแล้ว...

 




ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:

Internet

 

 vet4polyclinic.com

http://dogclub.in.th

 

www.dogthailand.net

www.pukpuiclub.com

www.dogilike.com

www.wuawijai.com



 


[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับน้องตูบ
- หมาจ๋า [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
- อีฮโยริ ควงแฟนหนุ่มสร้างบ้านให้หมาจรจัด [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
- “Pet Master”ฌาปนกิจสัตว์เลี้ยงครบวงจรเอาใจคนรักน้องหมา [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
- คนรักหมาบุกรัฐสภา ร้องออก พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
- จะดูยังไงว่าน้องตูบป่วยหรือเปล่า! [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
- สุนัขสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ? [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
- โรคมะเร็งในน้องตูบ [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
- โรคเบาหวานในน้องตูบ [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
- กระจกตาเสื่อมเนื่องจากไขมัน [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
- พยาธิหนอนหัวใจ [29 มีนาคม 2555 19:25 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY