|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
7
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
29
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,476,720
|
|
|
|
|
27 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไข่เน่า
[11 สิงหาคม 2554 13:32 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6153 คน |
|
ไข่เน่า
ชื่ออื่น ๆ : คมขวาน, ฝรั่งโคก (กลาง), ขี้เห็น (อุบลราชธานี - เลย), ปลู (เขมร - สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป
ไข่เน่าเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 - 25 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 3 - 5 ใบ รูปไข่กลับแกมวงรีหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 13 ซม. ดอกช่อออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วงอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง มีขนละเอียด ผลรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ผลสุกสีม่วงดำ
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ผลอ่อนที่ยังไม่สุกจะมีสีเขียวและแข็ง ผลที่สุกแก่เต็มที่นั้นสีจะเปลี่ยนเป็นสีดำเทาอ่อนนุ่มนิ่ม ผิวจะมัน ผลโตประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร และมีรสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นจะเหม็น ผลนั้นจะแก่ในหน้าฝน ส่วนเมล็ดโตขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย
ไข่เน่ามีการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบแล้ง ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 50 - 200 ม. ในต่างประเทศพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ ถึงภาคเหนือของออสเตรเลีย
ประโยชน์
เนื้อไม้มีความเหนียวและแข็งปานกลาง ใช้ทำฝาและเครื่องเรือน ผลสุกมีรสหวานกินได้ เปลือกต้นและรากใช้ปรุงเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วงท้องเสีย แก้บิด แก้ไข้ ตาลขโมย และเป็นยาเจริญอาหาร
ที่มา : http://www.oknation.net |
|
|
|